UN ปฏิเสธ อ่านแถลงการณ์ “กลุ่ม BRG” โจมตีรัฐบาลไทย บนเวทีโลก

1478

UN ปฏิเสธ อ่านแถลงการณ์ “กลุ่ม BRG” โจมตีรัฐบาลไทย บนเวทีโลก กลัวเอี่ยวหนุนกลุ่มกระบวนการแบ่งแยก?

กลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงกันอย่างมาก เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ของสมัชชาประสังคมเพื่อสันติภาพ ได้เผยแผ่เกี่ยวกับตัวแทนภาคประชาสังคมปาตานีต่อเวทีนำเสนอการแทรกแซงความขัดแย้งและการปกป้องสิทธิมนุษยชนสำหรับชนชาติกลุ่มน้อย ในการประชุมประเด็นชนกลุ่มน้อย สหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที 2-3 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมานั่น แต่ได้มีรายงานว่า กลุ่ม NGO ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ได้ยื่นแถลงการณ์ถึง UN เพื่อโจมตีรัฐบาลไทย แต่กลับถูกปฏิเสธ รับไว้เพียงแค่แถลงการณ์แบบเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

ซึ่งในแถลงการณ์ดังกล่าวมีเนื้อหาดังต่อไปนี้…

ขอขอบคุณท่านประธาน ผมชื่อฮาซัน ยามาดีบุ เป็นตัวแทนของ Bunga Raya Group ภายใต้สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนนอกภาครัฐ จากปาตานี ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย

มาตรา 1.1 ของปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของผู้คนที่เป็นชนกลุ่มน้อยทางสัญชาติหรือชาติพันธุ์ ศาสนา และภาษา (the Rights of Persons Belonging to National or Ethnic, Religious and Linguistic Minorities) กำหนดว่า “รัฐแต่ละรัฐจะต้องคุ้มครองการดำรงอยู่ซึ่งเอกลักษณ์ประจำชาติหรือชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในเขตแดนของรัฐ และควรส่งเสริมเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ของคนเหล่านี้”

อย่างไรก็ตามพวกเรามีความกังวลอย่างยิ่งว่า การปฏิบัติของประเทศไทยที่มีต่อชนกลุ่มน้อยมลายูมุสลิมในปาตานี ณ ภาคใต้ตอนล่างนั้นขัดแย้งกับข้อกำหนดดังกล่าว

จากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 ทำให้ชาวมลายูมุสลิมจำนวนมาก คนถูกจับกุมโดยใช้ข้อหา “ความมั่นคง” ถึงแม้ว่าหลังการสอบส่วนพบว่า 73 เปอร์เซ็นต์ของผู้ถูกจับกุมเหล่านี้เป็นผู้บริสุทธิ์ ฝ่ายรัฐยังเก็บตัวอย่างพันธุกรรม (DNA) ของชาวมลายูมุสลิมโดยการบีบบังคับ

ซึ่งรวมถึงผู้ที่ไม่เคยถูกฟ้องทางคดีอาญาด้วย โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องที่ปาตานีต้องลงทะเบียนในระบบติดตามโดยนำลักษณะทางกายภาพ (biometric identity tracking system) และสิทธิของพวกเราที่ดำเนินชีวิตโดยปราศจากความหวาดระแวงและความรู้สึกไม่ปลอดภัย นโยบายเหล่านี้ใช้เฉพาะสำหรับชาวมลายูมุสลิมที่ปาตานีเท่านั้น เพราะเราเป็นชนกลุ่มน้อย ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการมีนายพลผู้ก่อการรัฐประหารเป็นนายกรัฐมนตรี

จากอดีตถึงปัจจุบัน พวกเราต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายยากลำบากในการปกป้องและรักษาคงไว้ซึ่งภาษาและวัฒนธรรมของเราภายใต้นโยบายผสมกลมกลืนและปฏิบัติการที่รุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมของพวกเรา

ด้วยเหตุนี้ พวกเราเห็นด้วยกับข้อแนะนำจากเวทีระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่า “รัฐจะต้องส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม ศาสนาและภาษาของชนกลุ่มน้อยและชนพื้นเมือง และคุ้มครองพวกเขาจากการเลือกปฏิบัติตามอัตลักษณ์ เจตนาร้าย ความรุนแรงและความพยายามเพื่อผสมกลมกลืน”

ขอขอบคุณท่านประธาน

ซึ่งก่อนหน้านี้ ในวันที่ 4 ธ.ค.62 ก็ได้เคยเคลื่อนไหวในเวทีสหประชาชาติ มาแล้วในรูปแบบเดียวกัน อีกทั้งองค์กรดังกล่าวนี้ก็พยายามเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐผ่านเฟซบุ๊ก และสื่อออนไลน์ต่างๆ ด้วยการกล่าวหาว่านายฮาซัน ได้ถูกเจ้าหน้าที่รัฐข่มขู่คุกคามเอาชีวิต จนได้มีการรณรงค์ให้ช่วยกัน “ปกป้องนักเคลื่อนไหวในปัตตานี” กันอย่างแพร่หลาย

นอกจากนี้ นายฮาซัน ยังเคยถูกโจมตีว่าเป็นหนึ่งในสมาชิก BRN หรือ ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี