ไม่ไว้หน้า!?อีลอน มัสค์เฉ่งรัฐบาลสหรัฐฯใช้จ่ายงบฯบ้าคลั่ง หนี้ท่วมเงินเฟ้อพุ่งฉุดศ.หัวทิ่ม

1345

นานๆจึงจะเห็น อีลอน มัสค์เฉ่งรัฐบาลตัวเอง (Elon Musk) ซีอีโอของเทสล่า (Tesla) กล่าวว่าเขาต่อต้านร่างกฎหมายการใช้จ่ายด้านสังคมและสภาพอากาศที่เรียกว่า Buil Back Better ของประธานาธิบดี Joe Biden ที่กำลังพิจารณาในวุฒิสภา  โดยชี้ให้เห็นถึงความกังวลของเขาเกี่ยวกับการขาดดุลต่อเนื่องของรัฐบาลกลางที่วางแผนใช้งบประมาณแบบ ”บ้าคลั่ง” ซึ่งจะส่งผลกระทบกับเงินเฟ้อที่สูงอยู่แล้วให้อาการหนักยิ่งกว่าเดิม

เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2564 สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า อีลอน มัสค์ให้สัมภาษณ์อย่างหัวเสียว่า “บอกตามตรง ฉันอยากให้ถอนมาตรการการเงินทั้งหมดนี้ออกไป” มัสค์กล่าวระหว่างการประชุมสุดยอดสภา CEO ของเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล “วุฒิสภาจงโหวดไม่ผ่าน นั่นคือคำแนะนำของฉัน”

มัสค์กล่าวว่า “การใช้จ่ายของเรามากเกินกว่ารายได้ มันบ้า คุณสามารถกลายเป็นศูนย์จากที่เคยร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี เพราะคุณยังไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดดุลได้เลย” เขาย้ำว่า“ถ้าคุณไม่ลดการใช้จ่ายของรัฐบาล สิ่งเลวร้ายจะเกิดขึ้น นี่มันบ้าไปแล้ว”

แม้เนื้อหาส่วนหนึ่งในร่างกฎหมายดังกล่าว จะมอบเงินอุดหนุนสำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่สร้างขึ้นโดยคนงานสหภาพแรงงาน พร้อมกับเงินทุนสำหรับสถานีชาร์จรถยนต์ทั่วประเทศ แต่เขาวิพากษ์ว่ามันไม่ถูกต้องและเขาไม่ต้องการ ในการอภิปราย มัสค์กล่าวว่าเขาไม่ใช่ “นักเสรีนิยมสุดโต่ง” แต่การใช้จ่ายของรัฐบาลทั้งหมด เขามองว่าโครงการอวกาศและวิทยาศาสตร์ เช่น การส่งยานสำรวจไปยังดาวอังคาร เป็นความพยายามของรัฐบาลกลางที่สมเหตุสมผลมากกว่า

การวิพากษ์วิจารณ์ของมัสค์ เขาอธิบายว่าการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางนั้น “บ้า” และไม่ยั่งยืน – ตามความตึงเครียดของสาธารณชนเป็นเวลาหลายเดือนกับภาวะเงินเฟ้อพุ่งไม่หยุด ดูจากราคาสินค้าผู้บริโภคสูงต่อเนื่องในรอบ 30 ปี 

ที่มาของการคัดค้านของอิลอน มัสค์อยู่ที่ การใช้เงินมหาศาลไปอุดหนุนการสร้างรถไฟฟ้าของรัฐบาลอย่างมหาศาล มีวาระซ่อนเร้นทางการเมือง ก่อนหน้านี้ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ไบเดนได้ต้อนรับ บริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ส, บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ และเจ้าของไครสเลอร์ สเตลแลนติส เอ็นวี ที่ทำเนียบขาว เพื่อประกาศคำสั่งผู้บริหารในการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายในสหรัฐอเมริกาในช่วงที่เหลือของทศวรรษ แต่เทสลาไม่ได้รับเชิญ

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ปธน.ไบเดน ได้เยี่ยมชมโรงงานที่ GM ซึ่งได้ทำการปรับแต่งเพื่อผลิตรถยนต์ EV และกล่าวว่าบริษัทจีเอ็มและ Detroit มีบทบาทสำคัญในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า แม้ว่าเทสลาเป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่าย EV รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯก็ตาม

มัสค์กล่าวว่า “บทบาทของรัฐบาลควรเป็นเหมือนกรรมการผู้ควบคุมกติกา แต่ไม่ใช่ผู้เล่นในสนาม””ควรหลีกเลี่ยงและไม่ขัดขวางความก้าวหน้า”

เทสลาได้รับประโยชน์จากเงินกู้ของรัฐบาลกลางจำนวน 465 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2553 ซึ่งบริษัทได้ชำระคืนในอีกสามปีต่อมา

อิลอน มัสค์ไม่ใช่คนเดียวในการต่อต้านบทบัญญัติภาษี EV ในกฎหมายBuild Back Better ของไบเดน โตโยต้า และฮอนด้า (Toyota Motor Corp. และ Honda Motor Co. Ltd.) ซึ่งไม่มีสหภาพแรงงาน ก็ได้ประณามแรงจูงใจพิเศษดังกล่าวว่า เป็นการเลือกปฏิบัติและไม่เป็นธรรม เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา

ด้านวุฒิสมาชิกโจ แมนชิน Joe Manchin (DW.Va.) แห่งพรรครีพับลิกัน-เวอร์จิเนีย  เป็นประธานกรรมาธิการวุฒิสภาด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะมีบทบาทในการตัดสินใจว่าแพ็คเกจการใช้จ่ายจะไปถึงเส้นชัยหรือไม่ ก็มีความสำคัญต่อบทบัญญัติเช่นกัน ทั้งนี้เวสต์เวอร์จิเนียเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตที่โตโยต้าเป็นเจ้าของ

อีกด้านหนึ่ง ฟอร์ดมอเตอร์ จีเอ็ม และสเตลแลนติส (Ford Motor Co., GM และ Stellantis) ซึ่งก่อนหน้านี้คือเฟียต ไครสเลอร์ (Fiat Chrysler) ต่างออกมาสนับสนุนการลดภาษี EV ซึ่งคนงานของบริษัทเหล่านั้นจัดตัั้งเป็นสหภาพและจะได้รับประโยชน์จากทั้งข้อกำหนดของสหภาพแรงงานและการตัดสินใจซื้อของคนอเมริกัน

กฎหมาย Buid Back Better มีมูลค่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เอื้อให้คณะบริหารปธน.โจ ไบเดน ใช้ในการส่งเสริมผลิตรถยนต์ไฟฟ้าโดยมุ่งส่งเสริมกลุ่มนายทุนดั้งเดิมที่ให้การสนับสนุน พรรคเดโมแครตในการต่อสู้ช่วงชิงการนำทางการเมืองมาตลอดหลายทศวรรษ แต่ไม่ค่อยโปรดปราน กลุ่มนายทุนรุ่นใหม่อย่างเทสลา ที่ท้าทายวอชิงตันไปลงทุนในจีน หรือกลุ่มทุนญี่ปุ่นโตโยต้า-ฮอนด้าอย่างไม่อาจซ่อนเร้น