Truthforyou

“แอมเนสตี้” เคลื่อนไหวก่อนถูกสั่งยุบ! ยังไม่เลิก ระดมทุนหนุนสามนิ้ว? เชิญ “แกนนำกลุ่มแคร์” เข้าร่วม!

“แอมเนสตี้” เคลื่อนไหวก่อนถูกสั่งยุบ! ยังไม่เลิก ระดมทุนหนุนสามนิ้ว? เชิญ “แกนนำกลุ่มแคร์” เข้าร่วม!

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (7 ธันวาคม 2564) เพจ Amnesty International Thailand ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ โดยระบุข้อความว่า 10 ธันวาคมนี้ เสียงของสิทธิจะดังขึ้นอีกครั้ง!

นอกจากคุณจะได้เอนจอยชอปปิ้งกับร้านค้า อาหาร และเครื่องดื่ม พร้อมฟังเพลงสุดปังในงานคอนเสิร์ตระดมทุน “Rhymes of Rights: เสียงของสิทธิ” ที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ร่วมกับประชาไท ในม็อบมีเด็ก และม็อบดาต้าไทยแลนด์ ได้จับมือร่วมระดมทุนเพื่อสมทบทุนการทำงานของโครงการในม็อบมีเด็ก ม็อบดาต้าไทยแลนด์ และขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกันตั้งแต่ 13.00-21.00 น. แล้ว
ในงานนี้ เรายังมีเวทีเสวนา “เสียงของสิทธิ: เมื่อเราได้เปล่งเสียงผ่านงานศิลป์” ในเวลา 17.00 – 18.30 ที่งานนี้เราจะจับมือผู้สร้างศิลป์ในหลากหลายแขนงมาร่วมพูดคุยกัน อย่าง:
– วีรพร นิติประภา นักเขียนรางวัลซีไรต์สองสมัย
– Baphoboy เจ้าของผลงานภาพวาดแนว Pop Art
– Summer December นักเขียนรุ่นใหม่ เจ้าของนวนิยาย “ค่อย ๆ รัก”
– เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวประชาไท
ชวนคุยโดย ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ประธานแอมเนสตี้ ประเทศไทย
ราคาบัตร 300 บาท (ราคาเดียวทั้งเก้าอี้และยืน รับจำนวนจำกัด)
กรอกฟอร์มซื้อบัตรได้ที่ : https://forms.gle/4q4gDJpqBAJeiEWt6
เตรียมพบกับร้านค้าและวงดนตรีที่จะมาส่งเสียงเพื่อสิทธิไปกับเราได้เร็ว ๆ นี้ !
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ตรวจสอบ แอมเนสตี้ พบว่า “สมาคมแอมเนสตี้ในไทย” ไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมใหญ่ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของกรมการปกครองที่จะเพิกถอนทะเบียนของสมาคม

โดยนายณฐพร ได้การตรวจสอบไม่มีการส่งเอกสารให้กับกรมการปกครองซึ่งก็เท่ากับเป็นการไปแอบอ้าง และไม่ได้ทำตามข้อบังคับของแอมเนสตี้ต่างประเทศที่จะต้องมีความร่วมมือกับรัฐบาล มีความเป็นกลาง

ด้านนายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง ได้เปิดเผยว่า ทางนายทะเบียน ที่จดตั้งสมาคม ได้ทำหนังสือไปยัง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ให้มาพบ เพื่อมาชี้แจงถึงการเคลื่อนไหวและการกระทำว่าผิดวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสมาคมหรือไม่ ซึ่งก็ต้องดูข้อเท็จจริงและหลักฐานที่ทางแอมเนสตี้จะมาชี้แจงว่าทำผิดระเบียบอะไรบ้าง

ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา มีรายงานถึงผลการตรวจสอบความเคลื่อนไหวของแอมเนสตี้ ประเทศไทย โดยกรมการปกครอง ที่เปิดเผยเป็นเอกสารลับบางส่วนที่น่าสนใจในความคืบหน้าในการตรวจสอบกรณีดังกล่าวซึ่งมีบางช่วงที่สำคัญระบุว่า ผลการตรวจสอบรายงานกิจกรรมในปี 62 และแผนงานการดำเนินการขององค์กรในปี 63 – 64 จากการตรวจสอบความเคลื่อนไหวการจัดการชุมนุมในห้วงที่ผ่านมาพบว่า แอมเนสตี้ ประเทศไทย จัดตั้งกลุ่มองค์กรย่อยในการสนับสนุนการชุมนุม อาทิ กลุ่ม Mob data Thailand เป็นการจัดตั้งอาสาสมัคร เพื่อสังเกตการณ์ชุมนุมในการรวบรวมข้อมูลการกระทำรุนแรงของฝ่ายรัฐ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลรายงานต่อองค์กรระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน , กลุ่ม Child in Mob เป็นอาสาสมัครในการดูแลเยาวชนที่เข้าร่วมการชุมนุม โดยจัดตั้งขึ้นหลังจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อ 16 ต.ค.63

กิจกรรม Write for Right เป็นการรณรงค์ให้สมาชิกเขียนจดหมายเพื่อให้กำลังใจและกดดันไปยังประเทศ ที่มีบุคคลสำคัญกรณีถูกเลือกให้เข้าร่วมกับกิจกรรมให้มีการยุติการดำเนินคดี หรือเงื่อนไขอื่นๆ ตามการเรียกร้อง โดยในปี 63 ประเทศไทย เสนอชื่อ นายจาตุภัทร บุญภัทรรักษา เป็นบุคคลที่ถูกเลือก และในปี 64 คือ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ที่เชื่อมโยงกับประเด็นดังกล่าว เพื่อนำรายชื่อไปยื่นเสนอยกเลิก ม.112 ต่อรัฐบาล และรัฐสภาอันเป็นเหตุให้เกิดการขับไล่องค์กรดังกล่าวในปัจจุบัน

แหล่งที่มาของเงินทุนในการทำกิจกรรม เมื่อพิจารณาจากรายงานการประชุมเมื่อ 20 มี.ค. 64 มีการสรุปยอดของรายได้ขององค์กรฯ ในส่วนของรายได้จากการสนับสนุนโดยไม่มีการระบุที่มา มีจำนวนทั้งสิ้น 17,673,668 บาท ขณะเดียวกันเมื่อนำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมในประเทศไทยในปี 2563 ขององค์กร National Endownment for Democracy (NED) ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนในการดำเนินการจากสภาคองเกรส มีการระบุในรายงานถึงโครงการที่มีการมอบให้องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 8 โครงการ โดยมียอดรวมการสนับสนุนคือ 539,200 เหรียญสหรัฐ หรือเมื่อคำนวณเป็นเงินไทยเมื่อใช้อัตราแลกเปลี่ยนในห้วงเดือน ก.ค. 63 คือ 17,266,800 บาท

ซึ่งจากยอดเงินดังกล่าวใกล้เคียงกับยอดรายได้จากการสนับสนุนขององค์กรฯ อย่างมีนัยยะสำคัญ ตลอดจนชื่อและวัตถุประสงค์ของโครงการชี้ให้เห็นว่าอาจเป็นเงินสนับสนุนจาก NED ในการขับเคลื่อนองค์กรตลอดจนทำกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

Exit mobile version