กลัวที่ไหน!?’ฮุน เซน’งัดข้อสหรัฐฯ เล็งเยือนเมียนมาเจรจาทวิภาคี ลั่นรัฐบาลทหารมีสิทธิประชุมอาเซียน

1264

ในปีหน้า ประธานอาเซียนคือกัมพูชาและแน่นอนบทบาทของสมเด็จฮุนเซน ย่อมไม่ธรรมดา เมื่อเปิดหน้ายืนเคียงข้างจีนอย่างไม่หวั่นสหรัฐและพันธมิตรคว่ำบาตรกดดัน ยังไม่ทันเปิดฉากข้ามปีก็ดุเดือด เมื่อฮุนเซนประกาศจะเชิญผู้นำเมียนมาเข้าร่วมประชุมอาเซียน สวนทางการประชุมล่าสุดที่ไม่เชิญผู้นำทหารเข้าร่วม เมื่อมาเลเซียและอินโดนีเซียค้านอ้างเมียนมาไม่ทำตามฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับท่าทีของสหรัฐและสหประชาชาติที่ต้องการกดดันให้เกิดการเจรจาระหว่าง รัฐบาลเมียนมาปัจจุบันกับกลุ่มต่อต้าน สร้างความไม่พอใจแก่รัฐบาลเมียนมา

วันที่ 6 ธ.ค.2564 สำนักข่าวพนมเปญโพสต์ และสื่อต่างประเทศหลายฉบับต่างรายงานว่านายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชากล่าวว่าเขาวางแผนที่จะเดินทางเยือนพม่าเพื่อหารือพบปะพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย เพื่อทำงานร่วมกัน ระบุเมียนมาเป็นสมาชิกครอบครัวอาเซียน จึงมีสิทธิเข้าร่วมการประชุมสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

พม่าที่เป็นหนึ่งในสมาชิก 10 ประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ได้กลายเป็นจุดสนใจจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหาร ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำประจำปีของกลุ่มในเดือนต.ค. ที่บรูไนเป็นเจ้าภาพ เนื่องจากชาติสมาชิกหลายชาติคัดค้าน เหตุเพราะเมียนมาไม่ยอมให้ทูตอาเซียนเข้าพบนางอองซาน ซูจี แต่ในปีหน้า จะถึงวาระที่กัมพูชาเป็นประธานอาเซียน และนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ประกาศว่าจะเชิญผู้แทนจากสมาชิกอาเซียนให้ครบทั้ง 10 ประเทศเข้าร่วมการประชุม

ฮุนเซนแสดงความเห็นระหว่างพิธีเปิดโครงการก่อสร้างถนนแห่งชาติหมายเลข 11 ในเมืองเปรย์ แวงว่า “ในฐานะที่เป็นสมาชิกครอบครัวของอาเซียน พวกเขาต้องมีสิทธิที่จะเข้าร่วมการประชุม” “ถ้าเราไม่ทำงานกับผู้รับผิดชอบและผู้ที่อยู่ในอำนาจและควบคุมเมียนมาร์ แล้วเราจะทำงานร่วมกับใคร? ไม่มีใครจำเป็นต้องวิพากษ์วิจารณ์กัมพูชาในตอนนี้ เพราะกัมพูชารู้วิธีแก้ไขปัญหา” 

รัฐมนตรีต่างประเทศที่กองทัพแต่งตั้งของพม่าจะเดินทางเยือนกัมพูชาในวันอังคารที่ 7 ธ.ค.2564 และฮุนเซนกล่าวว่าเขาต้องการที่จะเยือนพม่าในเร็วๆ นี้เช่นกัน

ผู้นำเขมรกล่าวว่า “มีความเป็นไปได้สูงที่ผมจะไปเยือนกรุงเนปีดอเพื่อพบหารือกับพล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย เพื่อทำงานร่วมกับเขา ” 

ฮุนเซนอ้างถึงธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมายาวนานของอาเซียนเกี่ยวกับการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของกันและกัน และเสริมว่า “ภายใต้กฎบัตรอาเซียน ไม่มีใครมีสิทธิที่จะขับไล่สมาชิกคนอื่นออกไป”

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เขาได้ชี้แจงอย่างชัดเจนแล้วในการเจรจากับอินโดนีเซียและญี่ปุ่นว่าอาเซียนไม่ควรเผาบ้านของตนเองเพื่อรับใช้ความคิดของผู้อื่น เขากล่าวว่าอาเซียนจะต้องมีความเข้มแข็งและนำสมาชิกภาพกลับคืนสู่ 10 ประเทศ ไม่ใช่9ประเทศเหมือนในการประชุมครั้งล่าสุด

Kin Phea, director of the Royal Academy of Cambodia’s International Relations Institute. KT/Tep Sony

คิน เพีย ผู้อำนวยการสถาบันวิเทศสัมพันธ์แห่งกัมพูชา(Kin Phea, director of the Royal Academy of Cambodia’s International Relations Institute)เชื่อว่าฮุนเซนสามารถแก้ไขวิกฤตในเมียนมาได้ เขาตั้งข้อสังเกตว่าฮุน เซนเริ่มต้นอาชีพทางการเมืองในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศตลอดช่วงทศวรรษ 1980 และมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางกับผู้นำระดับโลกในช่วงเวลานั้น รวมถึงหลายประเทศในเอเชีย รวมถึงการเยือนวอชิงตัน ดี.ซี. และปารีสอย่างเป็นทางการที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง

เพียกล่าวว่า “เขาเป็นนักการฑูตรุ่นเก๋าที่มีประสบการณ์และกลยุทธ์ และยังสามารถแก้ไขปัญหาได้ดี เขามีประสบการณ์ในการยุติสงครามกลางเมืองในกัมพูชาซึ่งนำมาซึ่งความสงบสุขอย่างทั่วถึงแก่ประเทศ” “ผมคิดว่าเขาควรไปเมียนมาและมีส่วนร่วมในการทูตแบบเปิดเป็นการส่วนตัว และพยายามทำให้สถานการณ์ที่นั่นสงบลง และกลับไปเป็นเหมือนเดิมก่อนเดือนก.พ.ปีที่แล้ว”

Myanmar’s military-appointed Foreign Minister Wunna Maung Lwin meets Cambodia’s Prime Minister Hun Sen at the Peace Palace in Phnom Penh, Cambodia Decembeer 7, 2021. Cambodian Government handout via REUTERS ATTENTION EDITORS – THIS IMAGE HAS BEEN SUPPLIED BY A THIRD PARTY. NO RESALES NO ARCHIVES.

นอกจากการพบปะกับพลเอก มิน อ่อง หล่ายแล้ว เขากล่าวว่าฮุนเซนควรพบปะกับผู้นำคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตในเมียนมา รวมถึงผู้ที่เป็นตัวแทนของรัฐบาลพลเรือนที่ถูกปลด และหากเป็นไปได้ กลุ่มฝ่ายค้านที่ประท้วงด้วย

“วิธีแก้ปัญหาควรเป็นสำหรับทุกคน ไม่ใช่แค่กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มันควรจะเป็นวิธีแก้ปัญหาแบบ win-win หากพบว่ามีการประนีประนอมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็จะเป็นที่ยอมรับของทุกคน”

เพียย้ำว่า “กัมพูชาต้องปฏิบัติตามหลักการของอาเซียนทั้งหมด โดยเฉพาะฉันทามติ 5 ประเด็นที่ทำขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นได้”