อดีตรองอธิการฯ มธ. ชำแหละประวัติศาสตร์ 6 ตุลา เทียบชัดปัจจุบัน ก่อนถูก “ลัทธิปลดแอก” ชักจูง!?!

2488

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการฯ มธ. ชำแหละประวัติศาสตร์ 6 ตุลา เทียบชัดปัจจุบัน ก่อนถูก “ลัทธิปลดแอก” ชักจูง

จากกรณีที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์  เปิดการแสดงนิทรรศการรำลึกเหตุการณ์สังหารหมู่นักเรียนนักศึกษา ที่เกิดขึ้นในมธ.และสนามหลวง เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 ภายใต้ชื่อนิทรรศการแขวน หลักฐาน+ข้อเท็จจริง+พื้นที่+เทคโนโลยี ท่ามกลางความสนใจจากนักศึกษามธ.และประชาชนจำนวนมาก และจากจะมีการชุมนุมใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ ของกลุ่มประชาชนปลดแอกและกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ที่บรืเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ล่าสุดทางด้าน รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความบนเฟสบุ๊ค ถึงกรณีเหตุการณ์ก่อนและหลังวันที่ 6 ตุลาคมปีนี้ มีการพยายามใช้เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 มาใช้ประโยชน์ทางการเมืองผ่าน social media กันอย่างเนื่องแน่น โดยระบุข้อความว่า

ระยะก่อนและหลังวันที่ 6 ตุลาคมปีนี้ มีการพยายามใช้เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 มาใช้ประโยชน์ทางการเมืองผ่าน social media กันอย่างเนื่องแน่น ทั้งยังมีคนพยายามโยงเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เหตุการณ์ประท้วงของคนเสื้อแดง ปี 2553 และการชุมนุมเพื่อปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยความหวังดีในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ให้เป็นเรื่องเดียวกัน
เหตุผลก็เพื่อพยายามดึงคนออกมาร่วมชุมนุมในวันที่ 14 ตุลาคมให้มากที่สุด โดยบอกว่าอย่าให้แกนนำการชุมนุมที่เป็นผู้กล้าต้องถูกโดดเดี่ยว และอย่าให้ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 และในการชุมนุมของคนเสื้อแดงในปี 2553 ต้องเสียชีวิตอย่างสูญเปล่า
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ถูกชักจูงตาม “ลัทธิปลดแอก” ไป จึงอยากจะขอแยกแยะแบบรวบรัดให้เห็นว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เหตุการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดง ปี 2553 และสถานการณ์ปัจจุบัน มีความเหมือนและความต่างกันอย่างไร แต่เนื่องจากขณะนี้ใกล้วันที่ 14 ตุลาคมด้วย จึงจะกล่าวถึง เหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ไปด้วยพร้อมกัน
เหตุการณ์ 14 ตุลา 16 เป็นแหตุการณ์ที่นิสิต นักศึกษา นำการประท้วง เรียกร้องประชาธิปไตย จากรัฐบาลทหารที่ทำการรัฐประหารตัวเอง มีการสลายการชุมนุม เหตุการณ์บานปลาย ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก
ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จอมพล ถนอม กิตติขจร และ จอมพล ประภาส จารุสถียร ผู้นำรัฐบาล ต้องยอมออกนอกประเทศ ความวุ่นวายจึงสงบลง
เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เกิดขึ้นจากความแตกแยกของคนไทย ที่แบ่งเป็นฝ่ายซ้ายจัด ฝ่ายขวาจัด และฝ่ายกลางๆ ซึ่งเริ่มแบ่งเด่นชัด หลังจากมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ในปี 2518 เป็นต้นมา
ฝ่ายขวาจัด ด้วยกลัวว่าประเทศจะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ จึงมีการตั้งกลุ่มต่างๆขึ้นมาต่อต้าน เช่น กลุ่มกระทิงแดง กลุ่มนวพล และกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน เป็นต้น โดยมี สโลแกนหลักคือ“ เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” นั่นเอง
ฝ่ายขวาจัดยังมีการปฏิบัติการจิตวิทยา ซึ่งสมัยนี้เรียกว่า IO โดยมีสถานีวิทยุยานเกราะ จัดรายการปลุกระดมทุกวันให้คนกลัวคอมมิวนิสต์ และให้เกลียดชังฝ่ายซ้ายจัด มีการอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเกราะกำบัง เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นคอมมิวนิสต์จริง สถาบันพระมหากษัตริย์ย่อมต้องถูกกระทบ อย่างแน่นอน
ฝ่ายซ้ายจัด ไม่มีเงิน ไม่มีเครื่องมือ เท่ากับฝ่ายขวาจัด แต่ต้องยอมรับว่า ต่างจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งเป็นพลังบริสุทธิ์ เพราะหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา มีเหตุที่เชื่อได้ว่า แกนนำ และมวลชน บางส่วนมีการจัดตั้ง แทรกแซง และมีการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ไม่ใช่พลังบริสุทธิ์ทั้งหมด
การชุมนุมประท้วงเกิดขึ้นที่สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการประท้วงขับไล่ จอมพล ถนอม กิตติขจรที่แอบกลับเข้ามาในประเทศไทยในรูปของสามเณร
เมื่อมีการแสดงละครแขวนคอ มีการจับกุมแกนนำการชุมนุม ต่อมามีการสลายการชุมนุม ประชาชนฝ่ายขวาจัด ถูกป้อนข้อมูลว่า ผู้ที่ชุมนุมไม่ใช่คนไทย เป็นคนญวน และมีอาวุธ ทำให้ประชาชนฝ่ายขวาจัดที่ถูกปลุกจนโกรธแค้น จึงร่วมเข้าไปด้วย การสังหารอย่างโหดเหี้ยมจึงเกิดขึ้น นำไปสู่การทำรัฐประหารของทหารในที่สุด
เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง คือรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 จึงไม่ใช่การประท้วงรัฐบาลเผด็จการเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย แต่อย่างใด
เหตุการณ์ประท้วงของคนเสื้อแดง ปี 2513 เป็นการประท้วงรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งได้เป็นรัฐบาลเนื่องจาก
คุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี
พรรคประชาธิปัตย์สามารถรวบรวมเสียงสนับสนุนจากพรรคต่างๆได้มากกว่า คุณอภิสิทธิ์ จึงได้รับเลือกจากสภาฯให้เป็นนายกรัฐมนตรี
ด้วยเหตุนี้ ที่คนเสื้อแดงประกาศว่า ออกมาชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย ด้วยการให้นายกรัฐมนตรียุบสภา ภายใน 7 วัน จึงเป็นเพียงข้ออ้างที่แกนนำป้อนข้อมูลให้ผู้ร่วมชุมนุมเชื่อตามนั้นเท่านั้น
จะเห็นว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา ในแง่สาเหตุการประท้วง ไม่มีอะไรเหมือนกับการประท้วงของคนเสื้อแดง ปี 53 เลย
เหตุการณ์ชุมนุมคนเสื้อแดง ปี 53 กลับมีความเหมือนกับเหตุการณ์ปัจจุบันอยู่บ้าง ตรงที่ ฝ่ายหนึ่งแพ้เกมการเมืองแล้วไม่ยอมแพ้ กลับไปใช้มวลชนเพื่อกดดันให้ยุบสภา เพื่อเลือกตั้งใหม่ โดยเชื่อว่าคนและพรรคที่ตัวเองสนับสนุนจะได้เป็นรัฐบาล
แม้การชุมนุมของคนเสื้อแดง จะมีกล่าวกระทบสถาบันพระมาหกษัตริย์อยู่บ้าง
และแน่นอนว่า ในกลุ่มคนเสื้อแดงมีกลุ่มคนที่ต้องการล้มเจ้าอยู่ด้วย ซึ่งอาจเกี่ยวเนื่องมาจากความเชื่อบางอย่าง จากผลของเหตุการณ์ 6 ตุลา แต่ก็ไม่มีการใช้วาจาที่ไม่กลัวฟ้ากลัวดินเช่นในปัจจุบัน
สำหรับเหตุการณ์ 6 ตุลา มีความเหมือนกับสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ไม่น้อย เพียงไม่ใช่การแบ่งกลุ่มซ้ายจัด ขวาจัด แต่เป็นกลุ่มคนรุ่นเก่า คนรุ่นใหม่ คนเห็นความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ และคนที่ไม่เห็นความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ดูเหมือนคนรุ่นใหม่ และพรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองของคนรุ่นใหม่ ดูจะมีความได้เปรียบด้านปฏิบัติการจิตวิทยาผ่าน social media มากกว่า อีกฝ่าย สลับกับสมัย 6 ตุลา 19
หากจะบอกว่า คนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 และในเหตุการณ์ชุมนุมของคนเสื้อแดง ปี 2553 เสียชีวิตเพื่อเหตุเดียวกัน คนที่ชี้นำเช่นนั้น กำลังจะสื่ออะไร หรือตั้งข้อกล่าวหาอะไร ทำไมไม่พูดออกตรงๆ แบบมีวุฒิภาวะ ให้ชัดเจนไปเลย
หรือจะให้ เพนกวิ้น รุ้ง ทนาย อานนท์ และ ไมค์ ระยอง เป็นหน่วยกล้าตาย เหมือนเดิม

ระยะก่อนและหลังวันที่ 6 ตุลาคมปีนี้ มีการพยายามใช้เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 มาใช้ประโยชน์ทางการเมืองผ่าน social media…

Posted by Harirak Sutabutr on Tuesday, October 6, 2020