เบื้องลึกแอมเนสตี้ฯ สุดอึ้งอาจารย์สาวนิติฯมธ.นั่งประธาน! เปิดตัวกก.- เคยปั่น8ล้านคนทั่วโลก ส่งจม.ถึงรบ.ไทยสุดเหลว!

2270

เบื้องลึกแอมเนสตี้ฯ สุดอึ้งอาจารย์สาวนิติฯมธ.นั่งประธาน! เปิดตัวกก.- เคยปั่น8ล้านคนทั่วโลก ส่งจม.ถึงรบ.ไทยสุดเหลว!

จากกรณีที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลทั่วโลกเปิดตัวแคมเปญ “Write for Rights” หรือ “เขียน เปลี่ยน โลก” ซึ่งกลับมาอีกครั้งในปีที่ 20 ที่จะเชิญชวนผู้สนับสนุนจากทั่วโลกเขียนจดหมายหลายล้านฉบับให้กับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือครอบครัวโดยตรง เพื่อให้พวกเขารับรู้ว่าไม่ได้ต่อสู้เพียงลำพัง นอกจากการส่งข้อความเพื่อให้กำลังใจผู้ถูกละเมิดสิทธิแล้ว ผู้คนยังเขียนจดหมายถึงผู้มีอำนาจ เรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ให้ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนและนำความยุติธรรมมาสู่ผู้ได้รับผลกระทบ การรณรงค์ของแอมเนสตี้เป็นการสื่อข้อความไปทั่วโลกว่า ประชาชนพร้อมจะยืนหยัดต่อสู้กับการใช้อำนาจอย่างมิชอบไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดก็ตาม

พร้อมทั้งเปิดเผยว่า ปีนี้เคสของ “รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล” จากประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญนี้เป็นครั้งแรกด้วย และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยได้เน้นรณรงค์ช่วยเหลือ

โดยเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 ทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้เปิดตัว คณะกรรมการชุดล่าสุดของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ประกอบไปด้วย ศศวัชร์ คมนียวนิช เหรัญญิก , วศิน พงษ์เก่า กรรมการ ,ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ประธานกรรมการ , นาซานีน ยากะจิ กรรมการเยาวชน ,ณพัทธ์ นรังศิยา กรรมการ

ซึ่งที่น่าสนใจก็คือ ประธานกรรมการของแอมเนสตี้ ประเทศไทย ซึ่งก็คือ ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2561 นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ อดีตประธานสภานิสิตจุฬาฯ โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊ก เปิดเผยว่า ในที่ประชุม​ใหญ่​ประจำปี ของ แอมเนสตี้ อินเตอร์​เนชั่น​แนล ประเทศไทย โดยได้รับเลือกให้เป็น กรรมการเยาวชน ในบอร์ด​บริหารขององค์กร

ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2561 แอมเนสตี้ เคลื่อนไหวให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต จากกรณีนักโทษเด็ดขาดชายธีรศักดิ์ อายุ 26 ปี ผู้ต้องขังคดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณโหดร้ายเพื่อชิงทรัพย์ โดยก่อเหตุวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 ที่จังหวัดตรัง โดยมีการไปทำกิจกรรมที่เรือนจำบางขวาง แสดงความไม่เห็นด้วยกับการประหารชีวิต

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563 สำนักเลขาธิการใหญ่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ออกปฏิบัติการด่วน เชิญชวนสมาชิก นักกิจกรรม และผู้สนับสนุนกว่า 8 ล้านคนทั่วโลกร่วมกันส่งจดหมายถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เรียกร้องทางการไทยยกเลิกข้อหาต่อผู้ชุมนุมทั้ง 31 คน ยุติการขัดขวางการเข้าร่วมชุมนุมของประชาชนหรือปิดปากเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและการแสดงความเห็นในประเด็นทางสังคม รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายที่มีเนื้อหากำกวมหรือคลุมเครือ เพื่อให้กฎหมายเหล่านี้มีเนื้อหาสอดคล้องกับพันธกิจของประเทศที่จะเคารพ คุ้มครอง และเติมเต็มสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งการรณรงค์นี้จะมีไปถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2563

โดยระบุว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า ผู้ชุมนุมอย่างสงบ 31 คน อาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดเจ็ดปี เนื่องทางการไทยออกหมายจับแกนนำและนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยจำนวน 15 คน จากบทบาทในการจัดการชุมนุมที่กรุงเทพ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ส่วนผู้ชุมนุมอีก 16 คนได้รับหมายเรียกและถูกแจ้งข้อหาจากเหตุการณ์เดียวกัน ทั้ง 31 คนถูกดำเนินคดีในข้อหาร้ายแรงรวมทั้งยุยงปลุกปั่น ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหากำกวมและจำกัดเสรีภาพ ที่รัฐบาลมักใช้เพื่อปิดปากผู้วิพากษ์วิจารณ์ หากศาลตัดสินว่ามีความผิด นักกิจกรรมแต่ละคนอาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดเจ็ดปี การจับกุมผู้ชุมนุมอย่างสงบที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ แสดงให้เห็นถึงการปราบปรามเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ที่เข้มข้นขึ้น

จนกระทั่งต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา แอมเนสตี้ ประเทศไทย ได้ร่วมกับ รุ้ง ปนัสยา นำ 28,426 รายชื่อ ที่ร่วมเรียกร้องผ่าน Change.org มอบให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ คำมั่นสัญญาต่อประชาชนในการปฏิบัติเพื่อยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทางการไทย

พร้อมทั้งกล่าวว่า เรายังมีความกังวลต่อกรณีการฟ้องคดีต่อผู้ชุมนุมโดยสงบคนอื่นๆ รวมทั้งกรณีของรุ้ง ปนัสยา ซึ่งได้ถูกแจ้งข้อหาในคดีอาญาเพิ่มเติมจากการชุมนุมโดยสงบเมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีบุคคลอย่างน้อย 1,634 คน รวมถึงเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 257 คน ใน 166 คดี ถูกดำเนินคดีอาญาเพียงเพราะใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งหลายคนเสี่ยงที่จะได้รับโทษจำคุกเป็นเวลานาน อาจถึงขั้นถูกจำคุกตลอดชีวิต

โดยทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลไทย คือ

1. ยุติการดำเนินคดีอาญาทั้งปวงโดยทันทีต่อบุคคลที่ตกเป็นเป้าหมาย เพียงเพราะใช้สิทธิมนุษยชนของตนเอง และปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวโดยพลการในขณะนี้

2. อนุญาตให้บุคคลสามารถแสดงความเห็นของตนและสามารถชุมนุมโดยสงบได้ และไม่กำหนดเงื่อนไขการประกันตัวจนเกินขอบเขตที่อาจเป็นการจำกัดการใช้สิทธิของพวกเขาโดยพลการ

3. ให้ดำเนินการสอบสวนโดยทันที อย่างรอบด้าน ไม่ลำเอียง และโปร่งใสต่อการรายงานที่ว่ามีการใช้กำลังโดยไม่จำเป็นและเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจระหว่างการควบคุมตัวบุคคลและควบคุมการชุมนุมในทุกกรณี ให้นำตัวผู้ต้องสงสัยเข้าสู่กระบวนการไต่สวน และให้ประกาศใช้แนวปฏิบัติของตำรวจที่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ รวมทั้งหลักการพื้นฐานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย