Truthforyou

ตอกหน้า 3 นิ้ว เลิกล้มแผนร้าย! นักวิชาการต่างชาติ ตอบชัด เหตุและผลทำไมถึงยังต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์?

หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการกระทำของ นายอานนท์ นำภา นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือ “ไมค์” และนางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ “รุ้ง” ที่ชุมนุมปราศรัยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งมีการเสนอข้อเรียกร้อง 10 ข้อในการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งเครือข่าย เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง จึงมีคำสั่งให้เลิกการกระทำ

ต่อมาทางด้านนายปิยบุตร ได้ยกเรื่องสงครามกลางเมืองมาโพสต์บนเฟซบุ๊ก และมีการทวีตข้อความว่า คดีนี้มีความสำคัญ เป็นหมุดหมายในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ส่งผลทางการเมืองอย่างมหาศาล หากประตู #ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ถูกปิดลง ก็เท่ากับว่าการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เพื่อให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยหรือ constitutional monarchy ก็ถูกปิดลงไปด้วย

ทำให้มีการย้อนเปรียบเทียบข้อเรียกร้องทั้ง 10 ข้อ ของรุ้ง ปนัสยา และนายปิยบุตร ว่าไม่ได้เป็นเพียงการขอปฏิรูปตามที่กล่าวอ้าง แต่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง โดยข้อเรียกร้องมีการพาดพิงสถาบัน และจาบจ้วงอย่างชัดเจน

ล่าสุดในเว็บไซต์ waymagazine ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์ของนักวิชาการต่างประเทศ คือ ศาสตราจารย์ทอม กินส์เบิร์ก (Tom Ginsburg) ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบแห่ง University of Chicago เจ้าของผลงานหนังสือเล่มล่าสุด How to Save a Constitutional Democracy นำกล่าวปาฐกถาที่อาจสร้างเสริมความเข้าใจและหาตำแหน่งแห่งที่อันเหมาะสมให้แก่ทั้งสถาบันกษัตริย์และรัฐธรรมนูญได้ ในหัวข้อปาฐกถาที่มีชื่อล้อไปกับหนังสือของเขาว่า “How to Save Thailand’s Constitutional Democracy”

โดยมีใจความตอนหนึ่ง ที่เจ้าตัวตอบคำถาม ที่ระบุว่า ทำไมถึงยังต้องมีสถาบันกษัตริย์ ศาสตราจารย์ทอม กินส์เบิร์ก เห็นว่า ถึงอย่างไรพระมหากษัตริย์ก็จะมีบทบาทสำคัญในประชาธิปไตยสมัยใหม่ ด้วยเหตุผล 2 ประการ

ประการแรก กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญจะปกป้องประชาชนจากกระแสประชานิยม (populism) ซึ่งเป็นการเกิดขึ้นของกลุ่มที่อ้างว่าเป็นตัวแทนประชาชน เพื่อเปิดทางให้อำนาจการบริหารประเทศตกอยู่ในมือของคนคนเดียว เช่นกรณีของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ประเทศไทย โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกา และ อูโก ชาเบซ (Hugo Chavez) แห่งเวเนซุเอลา ทั้งนี้ ลึก ๆ แล้วคนกลุ่มนี้ต่างไม่มีความไว้วางใจในสถาบันประชาชน ตลอดถึงสถาบันอื่นๆ ในสังคม ไม่ว่าจะสถาบันสื่อมวลชน หรือระบบราชการ และต้องการที่จะมีอำนาจสั่งการโดยตรงผ่านตัวผู้นำเอง โดยในท้ายที่สุดกระแสประชานิยมแบบนี้จะกลายพันธุ์เป็นสถาบันกษัตริย์แบบใหม่

กินส์เบิร์กเสนอว่า เหตุการณ์ลักษณะนี้สามารถป้องกันได้ผ่านกลไกของสถาบันกษัตริย์ โดยให้เหตุผลว่า หากลองเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างประเทศยุโรปที่มีสถาบันกษัตริย์กับประเทศที่ไม่มีสถาบันกษัตริย์ จะเห็นว่าประเทศที่ยังมีสถาบันกษัตริย์สามารถทัดทานกับกระแสประชานิยมได้

ประการต่อมา กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญจะเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน อันจะกลายมาเป็นหลักประกันในภาวะวิกฤติ กินส์เบิร์กยกตัวอย่างของไทยในปี 1992 (พ.ศ. 2535) กษัตริย์สามารถเรียกพบคู่ขัดแย้งอย่างหัวหน้าคณะรัฐประหารและผู้นำกลุ่มผู้ประท้วงเข้าเจรจาเพื่อให้ยุติความรุนแรง และช่วยปกป้องประชาธิปไตยของประเทศ

นี่เป็นกลไกหนึ่งของสถาบันกษัตริย์ที่กินส์เบิร์กเห็นว่าจะมีประโยชน์อย่างมากในภาวะวิกฤติ แต่นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีการใช้กลไกนี้อยู่ตลอดเวลา กินส์เบิร์กเปรียบเทียบสถาบันกษัตริย์ในลักษณะนี้ว่า “เป็นเหมือนถังดับเพลิงที่แม้พวกเราทุกคนจะมีอยู่ในบ้าน แต่ก็หวังว่าจะไม่ได้ใช้มัน แต่คุณก็จะอุ่นใจที่มีมัน”

และหากสถาบันกษัตริย์มีความพยายามที่จะกลับไปเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตัวรัฐธรรมนูญเองก็สามารถช่วยยับยั้งความพยายามนั้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งกับอำนาจของกองทัพ

ช่วงท้ายของปาฐกถา กินส์เบิร์กเสนอว่า แนวทางที่จะรักษาระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญไว้ได้ คือแนวทางเดียวกับการรักษารัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ มีการเลือกตั้งที่ทุกคนสามารถแข่งขันกันได้ มีการยอมรับรัฐธรรมนูญผ่านเจตจำนงของประชาชนภายใต้การถกเถียงอย่างเสรี และมีการปกครองตามหลักนิติรัฐและรัฐธรรมนูญ เพราะในท้ายที่สุดทุกสถาบันต้องทำตามกฎหมาย ดังนั้นเอง ผู้พิพากษาจึงต้องค้ำจุนสิทธิเสรีภาพ และสิทธิเสรีภาพนี้จะเป็นสิ่งที่ค้ำจุนรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยอีกทอดหนึ่ง “รัฐบาลไม่ควรมองว่าการวิพากษ์วิจารณ์เป็นสิ่งไม่ดี พวกเขาล้วนหวังดีต่อบ้านเมือง และนี่จะเป็นหนทางที่ทำให้ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญอยู่ต่อไปได้”


ขณะที่ทางด้านศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงประเด็นนี้ด้วยว่า “ขอขอบคุณ way magazine ครับ ” ทำให้มีคอมเม้นต์เห็นด้วยกับบทความดังกล่าวเป็นจำนวนมาก เช่น สถาบันของไทยปรับตัวไปไกลมากแล้ว เมื่อวันจันทร์เรายังเห็นพวกประกาศตนเป็นปฎิปักษ์กษัตริย์ได้เข้าไปพูดในสภาได้ซึ่งมันตรงกันข้ามกับการที่พวกเขาพยายามล้างสมองสาวกด้วยคีย์คอนเท้นท์ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ , เคยได้ยินประโยคนี้มาก่อน พอมาอ่านเจอประโยคนี้เข้าใจเลยว่าทำไมที่ผ่านมากษัตริย์ถึงมีแค่ประชาชนที่ออกมาปกป้องท่านอย่างต่อเนื่องและจงรักภักดี นอกจากนี้บางคอมเม้นต์ยังบอกด้วยว่า แต่ทุกวันนี้มันไม่ได้วิจารณ์ไง มันด่า ทำให้ประชาชนถึงลุกฮือ ขึ้นมาปกป้องสถาบัน

และอาจารย์ไชยันต์ ก็ได้ตอบด้วยว่า วิจารณ์ ตั้งคำถามได้ แต่ไม่ใช่ด่าและอาฆาตมาดร้ายครับ ต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงข้อกล่าวหาด้วยครับ

 

 

Exit mobile version