อดีตรองอธิการมธ. เปิดเบื้องหลัง เจอตัวแล้วคนแรกที่บิดเบือน คำวินิจฉัยศาลฯ ยัดเยียดความโง่ให้ก๊วนสามนิ้ว

2018

มั่วกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว! อดีตรองอธิการมธ. เปิดเบื้องหลัง เจอตัวแล้วคนแรกที่บิดเบือน คำวินิจฉัยศาลฯ ยัดเยียดความโง่ให้ก๊วนสามนิ้ว!?

สืบเนื่องจากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยออกมาว่า การปราศรัยเมื่อวันที่ 10 ส.ค.63 ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง จนทำให้กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่สังคมจับตามอง แต่ทางด้านของกลุ่มหนุนม็อบก็ได้นำคำวินิจฉัยดังกล่าวไปขยายในมุมมองที่บิดเบือนต่างออกไปจากความเป็นจริง

ล่าสุดในวันที่ 17 พ.ย.64 ทางด้านของ รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “Harirak Sutabutr” มีเนื้อหาดังต่อไปนี้

อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลโพสต์ใน fb ว่า ในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคดีล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ศาลรัฐธมมนูญมั่ว บอกว่าข้อความที่ว่า “อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นั้นมีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับ 2475 แต่ความจริงแล้วข้อความนี้ เพิ่งมีขึ้นในรัฐธรรมนูญหลังการรัฐประหาร 2490

ความจริงเห็นโพสต์นี้ของอ.สมศักดิ์หลายวันแล้ว ใจคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่น่าจะผิดพลาดเช่นนี้ได้ แต่ไม่ได้อยากจะโต้แย้งอะไร แต่พอเห็นแถลงการณ์ของ 23 องค์กรนักศึกษาค้านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เหตุผลข้อหนึ่ง ได้นำเอาสิ่งที่ อ.สมศักดิ์โพสต์มาอ้างคือ

“ประการที่สาม ถ้อยวลีของคำว่า ‘ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข’ ในประเทศไทยนั้น ถูกปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 อันเป็นผลพวงมาจากการรัฐประหารปี พ.ศ. 2490 ดังนั้นเหตุผลการวินิจฉัยของศาลที่อ้างว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ได้บัญญัติให้เรียกระบอบการปกครองว่า ‘เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจึงไม่อาจเชื่อถือได้”

วันต่อมายังได้เห็น นาย รังสิมันต์ โรม นำเหตุผลเดียวกันนี้ไปอ้างในการสนทนากับ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ในรายการของจอมขวัญ เพื่อจะบอกว่า ศาลรัฐธรรมนูญแค่นี้ยังอ้างผิด แล้วคำวินิจฉัยจะน่าเชื่อถือได้อย่างไร

เมื่อเห็นการทำงานกันเป็นขบวนการเชื่อมโยงกันเช่นนี้จึงอดไม่ได้ที่จะต้องไปอ่านคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญฉบับเต็มดู ซึ่งก็มีข้อความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรัฐธรรมนูญ 2475 อยู่ 2 จุด

จุดที่ 1 มีดังนี้
“ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เป็นการใช้สิทธิ์หรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่ พิจารณาเห็นว่าหลักการตามรัฐธรรมนูญรากฐานระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คุณค่าทางรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นแก่นของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกอบด้วยคุณค่าสำคัญได้แก่

การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญหมวด 3 ทั้งนี้ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามพุทธศักราช 2475 มีการบัญญัติเรื่อยมาในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ”

จุดที่ 2 มีดังนี้
“โดยหลักการตามมาตรา 49 วรรคหนึ่งบัญญัติเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามพุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495มาตรา 35 และบัญญัติในทำนองเดียวกันในรัฐธรรมนูญทุกฉบับเป็นการวางหลักการเพื่อปกป้องการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากภัยคุกคามอันเกิดจากการกระทำซึ่งเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในลักษณะมุ่งหมายให้กับกลาย และคุณค่าของรัฐธรรมนูญที่รองรับการดำรงอยู่ของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีให้ล้มเลิกหรือสูญเสียไป”

ถ้าอ่านให้ดีจะเห็นว่า
จุดที่ 1 ศาลหมายถึง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยมีบัญญัติไว้ครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามพุทธศักราช 2475 มิได้บอกว่า ข้อความว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีบัญญัติไว้ครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับ 2475

จุดที่ 2 ศาลบอกว่า หลักการตามมาตรา 49 วรรค 1 ซึ่งเป็นหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอานาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495

ซึ่งหมายถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งตามข้อเท็จจริง ข้อความว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีการใช้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับ 2492 ร่างโดยกลุ่มอนุรักษ์นิยม หลังจากพลโท ผิน ชุณหะวัณ ทำรัฐประหารในปี 2490 ต่อมาในปี 2494 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำรัฐประหารรัฐบาลตัวเอง จึงได้นำรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 กลับมาใช้ ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2495 มิได้หมายถึงว่า มีข้อความว่า
” อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 แต่อย่างใด

ดังนั้นสรุปได้ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ผิดพลาด แต่อ.สมศักดิ์อาจอ่านและตีความผิดพลาด หลังจากนั้น การที่บรรดาสาวกนำการตีความนั้นมาใช้ในการโจมตีศาลรัฐธรรมนูญ จึงผิดพลาดเช่นเดียวกัน
นี่คือการทำงานที่สอดรับกันเป็นขบวนการ เมื่อหัวขบวนผิดพลาด หางขบวนจึงผิดพลาดเช่นเดียวกัน