Truthforyou

อดีตพระพุทธะอิสระเล่าเรื่องในอดีตเกิดโรคระบาด พ่อหลวงร.9 เสด็จไปช่วยชาวบ้าน ย้อนถามพวกคิดล้มเจ้า เคยทำบ้างหรือเปล่า

บนเพจเฟซบุ๊กชื่อ “หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara)” ของสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือ อดีตพระพุทธะอิสระ อดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย ได้มีการโพสต์ข้อความว่า คิดถึงพ่อหลวง ร.9 (ตอนที่ 4) 5 ตุลาคม 2563 ในปี 2497 ขณะนั้นเกิดโรคเรื้อนระบาดไปทั่วในหมู่ประชาชน

ผู้ติดโรคจะมีอาการเกิดแผลนูนแดง หรือตุ่มแดง มีอาการคัน หากไปเกาตุ่มแดงแตกจะมีน้ำเหลืองไหลเป็นแผลกระดำกระด่าง ผิวหนังในส่วนนั้นก็จะเป็นผื่นหนาคลายหนังคางคก ซึ่งมีสีจางกว่าสีของผิวหนัง จนเป็นที่รังเกียจของประชาชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 จึงทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ 175,064.75 บาท ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในสมัยนั้นไปจัดสร้าง สถาบันราชประชาสมาสัย เป็นสถานพยาบาลวิจัยและบำบัดรักษา และอบรมให้ความรู้เรื่องโรงเรื้อนโดยเฉพาะ ในพื้นที่พระประแดง

ขณะนั้นลูกหลานของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อน ต่างตกเป็นผู้ที่สังคมตั้งข้อรังเกียจ ไม่มีใครอยากเข้าใกล้

พระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงทราบถึงความทุกข์ยาก เดือดร้อนของเด็กและเยาวชนเหล่านั้น จึงทรงโปรดให้สร้างโรงเรียนราชประชาสมาสัยขึ้น เพื่อให้การศึกษาแก่ลูกหลานผู้ป่วยโรคเรื้อนเหล่านั้น โดยที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาค ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งเป็นกองทุนสงเคราะห์การศึกษาในโรงเรียนราชประชาสมาสัยนั้น

ต่อมา เมื่อพระองค์เสด็จไปเยี่ยมราษฎร ณ ถิ่นทุรกันดารในพื้นที่สูง ทรงเห็นว่า ราษฎรส่วนใหญ่เป็นโรคคอพอก เป็นเหตุมาจากการขาดสารไอโอดีน อาจเป็นเหตุให้เป็นโรคสมองเสื่อม จึงทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ให้เป็นกองทุนพัฒนาเครื่องจักรผลิตไอโอดีน เพื่อเสริมเข้าไปกับเกลือภูเขา ที่ชาวบ้านบริโภคอยู่ จนเป็นเหตุให้โรคคอพอกหายไปจากชุมชนนั้น ๆ

ต่อมาในปี พ.ศ.2512 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงได้ตามเสด็จออกตรวจเยี่ยมประชาชน ณ ถิ่นทุรกันดารและทรงได้มีโอกาสออกตรวจเยี่ยมหน่วยงานตำรวจตระเวนชายแดนที่ปฎิบัติหน้าที่ตามตะเข็บชายแดน ทรงเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชนเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากแมลงและยุง ทำให้เจ็บป่วยเป็นไข้มาลาเรีย เป็นไข้เลือดออก เป็นโรคผิวหนัง เป็นโรคไข้เขตร้อนต่าง ๆ

จึงทรงตรัสแก่สมเด็จพระพี่นางและแพทย์ผู้ติดตามเสด็จ ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ความว่า

“ฉันได้ไปเยี่ยมตำรวจตระเวนชายแดนที่ปฏิบัติงานในป่า เขา เพื่อปกป้องและรักษาแผ่นดินเราเขาเสี่ยงอันตรายหลายอย่าง รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บด้วย ชาวบ้านและชาวเขาที่อยู่ตามป่าดงเหล่า นั้น ก็มีปัญหาเรื่องป่วยไข้เช่นเดียวกัน เพราะอยู่ห่างไกล การคมนาคมไม่สะดวก หากพวกเราจะไปดูและรักษาเขาบ้าง จะเป็นเดือนละครั้งสองเดือนครั้ง หรือแม้แต่สามเดือนครั้งก็ได้ จะได้ช่วยเหลือเขา เป็นประโยชน์มาก”

และนี่จึงถือเป็นจุดกำเนิดของ “หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระราชชนนี (พอ.สว.)” หรือ “หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี”

ใน ปัจจุบันหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระราชชนนี ประกอบด้วยแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และสมาชิกสมทบ ซึ่งล้วนเป็นอาสาสมัครที่ไม่ได้รับสิ่งตอบแทนเดินทางไปปฏิบัติงานในถิ่นทุรกันดารโดยรถยนต์ เรือ หรือเฮลิคอปเตอร์ เพื่อตรวจรักษาราษฎรที่เจ็บไข้ได้ป่วย ออกปฏิบัติงานครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2512 ที่บ้านดอยสามหมื่น กิ่งอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นกิจการแพทย์อาสาได้แผ่ขยายกว้างขวางออกไปทั่วทุกภาคของประเทศ มีจังหวัดที่มีเขตติดชายแดนหรือจังหวัดใกล้เคียงชายแดน ซึ่งมีพื้นที่ทุรกันดารห่างไกล เข้าร่วมเป็นจังหวัดแพทย์อาสามากขึ้นเป็นลำดับรวมทั้งมีผู้ถวายตัวเป็นอาสา สมัครเป็นจำนวนมาก จนถึงปัจจุบันมีจังหวัดแพทย์อาสา รวม 51 จังหวัด

และนอกจากจะทรงช่วยเหลือประชาชนในด้านการแพทย์ และสาธารณสุขแล้ว สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1 ล้านบาท เป็นทุนเริ่มแรกจดทะเบียนตั้งเป็น “มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” ย่อว่า “พอ.สว.”

และด้วยพระอัจฉริยภาพในองค์พระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ในด้านสาธารณสุข ทำให้มีสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงเห็นความเดือดร้อน ทุกข์ยาก จากการเจ็บไข้ไม่สบายของราษฎรในทั่วทุกภูมิภาค

ล้นเกล้าทุกพระองค์มิอาจนิ่งดูดาย จึงทรงผลักดันให้เกิดระบบสาธารณสุขที่ครอบคลุมกระจายไปทั่วแผ่นดิน และด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าวนี้

ประเทศชาติจึงสามารถต่อสู้ หยุดยั้งกับสารพัดโรคระบาดที่เกิดขึ้นแก่ประชาชน แม้ล่าสุดระบบสาธารณสุขที่ทรงพระราชทานเอาไว้จนเข้มแข็งยังสามารถระงับยับยั้งโรคไวรัสโควิดได้อย่างดียิ่ง จนเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ประโยชน์อย่างนี้พวกคิดล้มเจ้า ปฏิรูปเจ้า เคยทำบ้างหรือเปล่า ทำได้บ้างไหม พุทธะอิสระ

ที่มา : หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara)

Exit mobile version