ช่อฟุ้งคนรุ่นใหม่สนใจ6ตุลา อ้างแค่คิดต่างแต่สังคมรับไม่ได้ จะใช้ความรุนแรงกับเด็ก?

2543

จากที่วันนี้(6ต.ค.63) สวนประติมากรรมประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ได้มีการจัดงานรำลึก 44 ปี 6 ตุลา 2519 ทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 19 รูปนั้น

ทั้งนี้เพื่ออุทิศแก่ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 โดยมีนักการเมืองมาร่วมงาน มีนายบุญสม อัครธรรมกุล ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นตัวแทนนางเกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดงาน ซึ่งการจัดงานรำลึก 6 ตุลา 2519 จัดขึ้นทุกปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ยุคสมัยที่สะท้อนให้เห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทย และการขับเคลื่อนประชาธิปไตยของนิสิต นักศึกษา และประชาชน

ขณะที่ น.ส.พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า ได้เดินทางมาร่วมงาน”ครบรอบ 44 ปี 6 ตุลาฯ 19 ซึ่งได้กล่าวช่วงหนึ่งด้วยว่า  จริงๆเราเห็นความตื่นตัวในเรื่องของเหตุการณ์ 6ตุลาฯ มาหลายปีแล้ว และมีคำถามมากมายว่าทำไมคนรุ่นใหม่ถึงหันมาสนใจเรื่องของ 6ตุลาฯมากขึ้น โดยในหลายทฤษฎีตรงกันว่าสภาพสังคม และการเมืองของประเทศไทยในยุคนี้ ทำให้หลายคนมองย้อนกลับไปถึงความโหดร้ายของเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ที่คนไทยถูกทำให้เกลียดชังกัน จนถึงจุดที่เข็ญฆ่าได้อย่างโหดร้ายทารุณ

คำถามคือว่า อะไรที่ทำให้คนไทยไปอยู่ในจุดนั้น เพียงแค่ความคิดที่แตกต่างกัน หรือเป็นการบ่มเพราะความกลัวโดยรัฐบาลหรือสื่อหรือไม่ ซึ่งหากมาเทียบกับในปัจจุบันจะเห็นว่าคนที่คิดแตกต่าง สังคมจะบอกว่ารับไม่ได้และใช้ความรุนแรงกับพวกเขาเหล่านี้ จึงเกิดเป็นคำถามอีกว่าเราจะให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกหรือ ยิ่งไปกว่านั้นจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ประเทศไทยกลับไปสู่จุดนั้นอีก

นอกจากนี้ นส.พรรณิการ์  ยังกล่าวอีกว่า ส่วนการทำให้สังคมเปิดกว้างเรื่องการศึกษา 6 ตุลาฯ และสามารถศึกษาข้อเท็จจริงได้อย่างเปิดเผย คิดว่ายังเป็นสิ่งต้องห้ามของสังคมไทย หรือไม่ นางสาวพรรณิการ์ กล่าวว่า ใครที่เรียนประวัติศาสตร์มาจะเห็นได้ว่าเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6ตุลาฯ อยู่เพียงแค่พารากราฟเดียวเท่านั้น อย่างน้อยที่สุดควรจะมีข้อเท็จจริงให้เด็กในรุ่นหลังได้รับรู้มากกว่านี้จะได้ไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก

ที่มา : เนชั่นทีวี