หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้อ่านคำวินิจฉัยข้อเรียกร้องในการชุมนุมฯ 10 สิงหา 63 ที่ มธ.รังสิต ของ 3 ผู้ถูกร้อง “อานนท์ รุ้ง ไมค์ ” เป็นการกระทำอันเข้าข่ายนำไปสู่ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข.. มิใช่การปฏิรูป และได้สั่งการให้ผู้ถูกร้อง1-3 กลุ่มองค์กรที่จะดำเนินการต่อไปเลิกดำเนินการด้วย
และมีการวินิจฉัยว่า การกระทำที่ผ่านมา เข้าข่ายล้มล้างฯ ผลของคดี คือ ศาลรัฐธรรมนูญสั่งเลิกการกระทำ และผลนี้จะผูกพันทุกองค์กร คือทั้ง 3 คนจะกระทบแบบที่เคยทำไม่ได้อีก ผลสะเทือนที่จะตามมาคือจะถูกแจ้งดำเนินคดีอาญาต่อ หรืออัยการขยับสั่งให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีนั้น
ล่าสุดบรรยกาศบริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุม เดินทางมาปักหลักรอฟังคำวินิจฉัย และก่อนหน้านี้ “รุ้ง ปนัสยา” ได้เดินออกมาจากห้องพิจารณาคดี ไม่ได้อยู่ฟังจนจบ โดยเจ้าตัวได้ เปิดเผยว่า สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้ ก่อนหน้าเมื่อเดือนพ.ย. ได้เคยขอให้ศาล ไต่สวนพยานบุคคล เพื่อร่วมหาความจริงเพิ่มเติม แต่ศาลไม่เคยให้มีการไต่ศาลจากทางฝั่งพวกตนเองเลย มีแต่เรียกพยานฝั่งโจทย์มาเท่านั้น วันนี้ศาลก็ไม่ได้เบิกตัวนายอานนท์และนายภานุพงศ์ มาแต่ให้มอบตัวแทนมาฟัง จึงเห็นว่าตั้งคำถามว่าทำไมศาลไม่ให้ผู้ถูกร้องมาฟังคำสั่งด้วยตัวเอง ซึ่งศาลก็ไม่ได้ให้คำตอบ ติบเพียงว่ามีผู้ที่รับมอบฉันทะเพียงพอแล้ว จึงทำให้เห็นว่ากระบวนการนี้มีปัญหาและ แม้จะวินิจฉัยออกมาเป็นอย่างไร ฝั่งผู้ถูกร้องก็ไม่เคยมีโอกาสเเสดงข้อเท็จจริงและความจริงอีกด้านให้ศาบได้รับฟัง จึงตัดสินใจเดินออกห้องพิจารณาคดีเพื่อมาฟังการอ่านคำวินิจฉัยที่ถ่ายทอดอยู่ด้านนอกศาลรัฐธรรมนูญ
เมื่อวันที่ 11 ส.ค.63 น.ส.พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ สนับสนุนแนวคิดนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่สนับสนุนการชุมนุมของนักศึกษา ระบุว่า “ช่วยกันยืนยันว่า 10 ข้อเสนอของนักศึกษา ไม่ใช่อาชญากรรม ไม่ใช่การล้มล้างสถาบันฯ ได้เวลาที่สังคมจะต้องคุยเรื่องนี้กันด้วยเหตุผลและหลักการ การแปะป้ายว่าชังชาติ หรือด่าทอด้วยอารมณ์ ไม่สามารถลบแผลที่เปิดออกแล้วได้”
ทั้งนี้เมื่อย้อนไปในช่วงเดือน ส.ค. 2563 ที่ม็อบ 3 นิ้ว ได้เรียกร้อง 10 ข้อ ได้มีนักการเมืองออกมาให้การสนับสนุน เช่น ช่อ พรรณิการณ์ ที่โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า “ช่วยกันยืนยันว่า 10 ข้อเสนอของนักศึกษา ไม่ใช่อาชญากรรม ไม่ใช่การล้มล้างสถาบันฯ ได้เวลาที่สังคมจะต้องคุยเรื่องนี้กันด้วยเหตุผลและหลักการ การแปะป้ายว่าชังชาติ หรือด่าทอด้วยอารมณ์ ไม่สามารถลบแผลที่เปิดออกแล้วได้” อีกทั้งมีนายปิยบุตร นายธนาธร ที่ออกมาชื่นชมในข้อเรียกร้องของม็อบ ว่าไม่ใช่การล้มล้าง ชูมีความกล้า และย้อนถามว่ามีข้อเรียกร้องไหนที่จาบจ้วง ยืนยันว่าไม่ได้ละเมิดสถาบัน รวมทั้ง 120 อาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ยังลงนามและแถลงการณ์หนุนข้อเรียกร้องม็อบ “ธรรมศาสตร์” ชี้การชุมนุมเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ เสนอสังคมไทยอดทนอดกลั้น คุยกันด้วยเหตุผล
ดังนั้นจากผลคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ระบุไว้ชัดเจน ว่าการกระทำของผู้ถูกร้อง 3 คน เป็นการกระทำอันเข้าข่ายนำไปสู่ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำให้น่าจับตามองว่า แล้วเหล่าบรรดานักการเมือง อาจารย์ที่เคยหนุนข้อเรียกร้องนั้น จะต้องยุติการกระทำด้วยหรือไม่ เพราะหากยังมีการสนับสนุนม็อบต่อ ก็เท่ากับว่าขัดเงื่อนไขศาล และเข้าข่ายจงใจล้มล้างการปกครอง