Truthforyou

ชัยวัฒน์ ย้อนถึง 6 ตุลา อ.ป๋วย​ พยายามห้าม​ แต่​ สศจ. ไม่ฟัง นำพาสู่ความรุนแรง

หลายคนอาจไม่รู้!?! ชัยวัฒน์ ย้อนถึง 6 ตุลา อ.ป๋วย​ พยายามห้าม​ แต่​ สศจ. ไม่ฟัง นำพาสู่การนองเลือด!?!

ล่าสุดทางด้านของ นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย อดีตแกนนำนศ.ยุค 14 ตุลาคม 16 ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ถึงเหตุการณ์อีกด้านหนึ่งที่หลายๆคน ไม่เคยให้ความสนใจ นั่นคือการยับยั้ง ของ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้นในการชุมนุม แต่กลับไม่เป็นผลสำเร็จ

โดยทางด้านของ นายชัยวัฒน์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้…

ครูดีที่แท้จริง ต้องปกป้องและกล้าเตือน “ลูกศิษย์” ( นักศึกษา มธ.)
อย่าทำอะไร ที่สุ่มเสี่ยงเข้าทาง “คนไม่ดี”
ครูดี ผู้ใหญ่ ที่น่า เคารพยกย่องคนหนึ่งของสังคมไทย คือ
ดร.ป๋วย อี้งภากรณ์ (ตำแหน่งหนึ่ง คือ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ ในยุค ๖ ตุลาคม ๒๕๑๖)

ครูป๋วย ได้ใช้ความพยายามอย่างมากที่สุด ให้ข้อคิด ลงมาห้าม “นักศึกษาปีกซ้าย”
นอกจาก “พวกเขา” (คนที่จบไปแล้ว และผู้นำปีกซ้าย) ไม่ฟังแล้ว
ยังกล่าวหา ครูป๋วย ว่า “หาว่าเขารับใช้โครงสร้างอำนาจเก่า ( เผด็จการ ) ไม่ก้าวหน้า

เป็น ครูป๋วย : ขอเอาเกียรติเป็นประกัน ยังคงยึดมั่นในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
จึงอยากให้ “แกนนำนักเรียนนักศึกษา” ได้ อ่านและทำความเข้าใจ ด้วยสติปัญญา
และ “ผู้สนับสนุนฯ ( อดีตนักศึกษาฯ ) ที่ออกมากล่าวหา มหาวิทยาลัยต่างๆนานา
อ่าน ด้วย

6 เรื่อง 6 ตุลาฯ กับอาจารย์ป๋วย
Kasidit Ananthanathorn | Oct 2, 2018

ในวาระ 42 ปีของเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ
จึงขอทบทวน 6 เรื่องของเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ที่เกี่ยวกับป๋วย
เพื่อเป็นอนุสติสำหรับสังคมไทยในปัจจุบันต่อไป

……… ห้วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ระบอบประชาธิปไตยเบ่งบาน
นิสิตนักศึกษาใช้เสรีภาพอย่างเต็มที่ในการกล่าวถึงปัญหาของบ้านเมือง
มีการชุมนุมประท้วงกันอยู่เสมอ
ซึ่งแน่นอนว่าฝ่ายอำนาจเก่าและผู้เสียประโยชน์จากการที่ประเทศจะเป็นประชาธิปไตยย่อมไม่อาจทนได้
มีการจัดตั้งขบวนการฝ่ายขวาขึ้นมาเป็นศัตรูกับขบวนการนักศึกษา

อธิการบดีป๋วยถึงกับต้องออกประกาศเตือนนักศึกษา
“พยายามอย่าประมาท พยายามตั้งมั่นอยู่ในศีลและธรรม
เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นซึ่งรวมทั้งอาจารย์และเพื่อนนักศึกษาประชาชน
ในการใช้สิทธิเสรีภาพของนักศึกษาเอง
เมื่อเราปฏิบัติได้เช่นนี้
ก็คงจะขจัดปัดเป่าความก้าวร้าวของผู้อื่นไปได้
โดยยึดมั่นอยู่เสมอในหลักการสันติประชาธรรม”

แต่แล้วสถานการณ์ก็เลวร้ายลงเรื่อยๆ
ป๋วยพยายามมั่นคงอยู่ในหลักการของสันติประชาธรรม เป็นทางเลือกที่ 3 ของสังคมไทย
ที่ไม่ใช่เผด็จการฝ่ายขวา หรือคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้าย
นั่นเองจึงทำให้ป๋วยถูกโจมตีจากทั้ง 2 ฝ่าย
ฝ่ายซ้าย : หาว่าเขารับใช้โครงสร้างอำนาจเก่า ไม่ก้าวหน้า

ดร.ป๋วย พูดถึงบทบาทของนักศึกษาว่า
“นักศึกษาไม่ควรทำกิจกรรมเกี่ยวกับการเมืองเท่านั้น
ควรทำกิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรม ศิลปะ ดนตรีบ้าง
เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบของสังคม”

……ดร.ป๋วย กล่าวเน้นต่อไปว่า
“ถ้ากิจกรรมบางเรื่อง ( ของนักศึกษา ) ขัดต่อความสงบของมหาวิทยาลัยและ
ขัดต่อเสรีภาพทางการศึกษาของนักศึกษาส่วนใหญ่แล้ว
ทางมหาวิทยาลัยจะต้องหาทางป้องกันและแก้ไขทันที” …
(มหาวิทยาลัย ปีที่ 18 ฉบับที่ 16 วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2518)

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ชี้แจงในวารสารสมาคมธรรมศาสตร์ประจำปี 2518 เนื่องในวันธรรมศาสตร์ที่ 10 ธันวาคมนี้ว่า

“ขอเอาเกียรติเป็นประกัน ยังคงยึดมั่นในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย และจะต่อสู้กับเผด็จการทุกรูปแบบ”

ห้ามทัพ มิใช่รำวง
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เล่าว่า
ในวันที่ 4 ตุลาคม 2519 วันสอบไล่วันแรกของนักศึกษาปี 1 ของธรรมศาสตร์ในภาคแรกของปีการศึกษานั้น ระหว่างที่เขา “ไฮด์ปาร์ค” ที่ลานโพธิ์ ชักชวนให้มีการงดสอบ และ
นักศึกษาจากชุมนุมการละครเริ่มแสดงละครสั้นในเหตุการณ์แขวนคอผู้ปฏิบัติงานกรรมกร 2 คน
ป๋วยก็ปรากฏตัวขึ้นที่นั่นเพื่อขอให้นักศึกษาเลิกชุมนุม จนเกิดเป็นภาพที่ดูเหมือนป๋วยกำลัง ‘รำวง’
ทั้งที่แท้จริงเขากำลัง “ห้ามทัพ” อยู่
หลังจากที่เขาใช้เวลา 10-15 นาทีก็ไม่อาจโน้มน้าวนักศึกษาได้สำเร็จ
ป๋วยจึงเดินจากไป

……. ดังมีจดหมายฉบับหนึ่งส่งมาถึง “เพื่อนรัก”
โดยลงชื่อเป็นนามแฝงของตนว่า “สัจจะ ธรรมรักษา” ความตอนหนึ่งว่า

“ชีวิตยังมีอยู่ตราบใด ก็มีความหวังตราบนั้น
ถึงแม้ความหวังนั้นจะไม่สำเร็จในชั่วชีวิตของเรา
แต่เราก็ต้องทิ้งความคิดไว้ ให้คนรุ่นหลังทำต่อ

ฉะนั้น จึงต้องตั้งเข็มให้ถูกต้อง
เอาเป็นเข็มไปสู่เป้าหมายที่ดีที่สุด สวยที่สุด และไม่ว็อกแว็ก
วิธีการที่ดีที่สุด

เป้าหมายที่ดีที่สุด คือ
(1) เสรีภาพ
(2) สิทธิที่จะร่วมกำหนดโชคชะตาของสังคม — จะเรียกอะไรก็ตาม

วิธีการที่ดีที่สุด คือ
สันติวิธี
วิธีที่รุนแรงนำไปสู่ความรุนแรง
ถึงแม้ว่าจะมีชัยชนะ
ก็ต้องใช้ความรุนแรงเพื่อปกป้องชัยชนะนั้น

Exit mobile version