Truthforyou

หรือว่า “เพื่อไทย” หวังล้มม.112 ปูทางนิรโทษกรรม อุ้ม “ทักษิณ” กลับไทย?

จากกรณีที่พรรคเพื่อไทย ได้เปิดตัวทีมโฆษกใหม่ เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2564 ที่ผ่านมา และยังมีประเด็นร้อน ๆ อย่างเรื่องการดันแก้กฎหมาย มาตรา 112 และ 116 เข้าที่ประชุมสภา

โดยทางด้านน.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ โฆษกพรรค ได้ให้สัมภาษณ์ระบุว่า สืบเนื่องจากการชุมนุมของกลุ่มผู้เรียกร้อง พรรคเพื่อไทยไม่ได้นิ่งเฉย เราได้รวบรวมข้อเรียกร้องจากการชุมนุมเพื่อนำมาสู้ที่ประชุม และผลักดันข้อเรียก้องเหล่านั้นเข้าสู่ที่ประชุมสภาต่อไป เพื่อให้เกิดการรับฟังเสียงของประชาชนให้มากที่สุด “เราเห็นว่าเสียงของทุกคนมีคุณค่า และมีความสำคัญที่เราไม่สามารถมองข้ามและละทิ้งไปได้ นี่จึงเป็นที่มาของแถลงการณ์พรรคเพื่อไทยเพื่อให้เกิดการทบทวนมาตรา 112 และมาตรา 116 ไปจนถึง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ไปจนถึงการติดตาม และเรียกร้องการให้ประกันตัวแก่นักเคลื่อนไหว หรือผู้เห็นต่างทางการเมือง โดยเราจะใช้ช่องทางสภาผู้แทนราษฎรอย่างถึงที่สุดที่เราต้องไม่นิ่งนอนใจให้เรื่องเหล่านี้เงียบไป”

ทั้งนี้มีการตั้งข้อสงสัยหลายแง่มุม ในการที่เพื่อไทยออกมาเคลื่อนไหว ว่าจะแก้มาตรา 112 เพื่อดึงฐานเสียงคนรุ่นใหม่ แข่งกับก้าวไกลหรือไม่ รวมทั้งอีกนัยยะหนึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับนายทักษิณ หลังจากเปิดตัวลูกสาว “อุ๊งอิ๊ง” ให้เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในพรรค และมีการกล่าวว่า พ่ออยากกลับมากราบแผ่นดินไทยอีกครั้ง จนทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่า นี่อาจจะเป็นการปูทางให้นายทักษิณได้กลับบ้าน

เพราะหากย้อนไปในปี 2558 นายทักษิณ ชินวัตร ได้ให้สัมภาษณ์สื่อเกาหลี ในทำนองที่พาดพิงสถาบันฯ และต่อมาในปีเดียวกันนั้น พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เสนาธิการทหารบก เปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังตรวจสอบเทปการให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ ถ้าผิดจริง ก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยก่อนหน้านี้ ตนเคยให้ชี้แจงกับผู้สื่อข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับประมวกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่า มีลักษณะเหมือนกฎหมายหมิ่นประมาท แต่สถาบันพระมหากษัติย์คงไม่ออกมาฟ้องร้อง เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปกป้อง ไม่ว่าจะเป็นสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะดูหมิ่นเรื่องไหน เราก็ต้องออกมาดำเนินการ ไม่เช่นนั้นก็จะเข้าข่ายการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

ส่วนการที่จะนำตัวผู้ที่กระทบผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในต่างประเทศมาลงโทษนั้น ต้องเข้าใจว่า จะต้องมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายความแดน และต้องเป็นกฎหมายที่มีเหมือนกัน แต่หลายประเทศไม่มีพระมหากษัตริย์ จึงไม่มีกฎหมายแบบนี้ จึงไม่สามารถส่งตัวให้ได้ เว้นแต่คนเหล่านี้กระทำผิดในด้านอื่น ๆ ด้วย

และในวันที่ 30 ต.ค. 60 นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงกรณีที่นายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความรับมอบอำนาจจากนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ถึงนายเข็มชัย ชุติวงศ์ อัยการสูงสุด ภายหลังมีข่าวอัยการสูงสุดมีความเห็นควรสั่งฟ้องนายทักษิณ ข้อหาหมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ จากการให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศเมื่อเดือน พฤษภาคม 58 ที่ประเทศเกาหลีแล้ว

ภายหลังมีการเผยแพร่ผ่านสื่อโซเชียลโดย ขอให้อัยการสูงสุดมีคำสั่งทบทวนความเห็นดังกล่าว เเละให้มีการสอบคำให้การพยานเพิ่มเติมอีก 4 ปาก ว่าได้เสนอหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของนายทักษิณขึ้นไปยังอัยการสูงสุดเเล้ว ขณะนี้รออัยการสูงสุดสั่งการลงมา ซึ่งโดยหลักปฏิบัติเเล้วอัยการสูงสุดจะสั่งให้ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับสำนวนคดีดังกล่าวเป็นผู้พิจารณาก่อนส่งความเห็นมาให้ อสส.พิจารณาสั่งการต่อไป

ขณะที่อีกหนึ่งข้อมูลสำคัญ เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2563 ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีวาระพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง “แนวทางการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ของคนในชาติ” ตามที่คณะกรรมาธิการการกฎหมายฯ ได้พิจารณาเสร็จแล้ว โดยเสนอแนวทางสร้างความปรองดองและสมานฉันท์คนในชาติ เงื่อนไขคือ การนิรโทษกรรมเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548-ปัจจุบัน เป็นคดีที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และคดีทุจริตคอร์รัปชัน

ผู้ที่รายงานต่อที่ประชุมคือ นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานกรรมาธิการกฎหมาย รายงานการศึกษาเรื่อง “แนวทางการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ของคนในชาติ”ที่ กมธ.จะนำเข้าสภาในวันที่ 13 สิงหาคมนั้น ได้เชิญฝ่ายต่าง ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันมาให้ข้อมูลต่อ กมธ. เพื่อหาข้อสรุปการสร้างความปรองดอง ยุติความขัดแย้งคนในชาติที่ยาวนานมา 16 ปี

 

หนึ่งในข้อสรุปสำคัญคือการออกกฎหมายนิรโทษกรรมในคดีที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ไม่รวมการกระทำผิดคดีอาญาตามมาตรา 112 และคดีทุจริต การนิรโทษกรรมครั้งนี้ ไม่ใช่การเกี้ยเซี๊ยะระหว่างผู้กระทำผิด แต่ผู้กระทำผิดต้องมีสำนึกรับผิด ออกมาขอโทษต่อสังคม ทั้งผู้นำรัฐบาลในอดีต และรัฐบาลปัจจุบัน เท่าที่ได้ฟังข้อมูลจากคู่ขัดแย้งทุกฝ่ายต่างพร้อมขอโทษต่อสังคม การนิรโทษกรรมครั้งนี้จะสำเร็จได้ ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อสร้างความสามัคคีให้บ้านเมืองพ้นจากวิกฤติหลังจากนี้

ส่วนด้านนพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ อภิปรายว่า อยากให้การนิรโทษกรรมใช้ชื่อว่า พ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข และเชื่อว่าการนิรโทษกรรมจะเป็นทางเดียวจะเป็นการแก้ไขความขัดแย้งในอดีตได้ดีที่สุด ส่วนความขัดแย้งในปัจจุบัน ทุกฝ่ายควรนำเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตมาศึกษาความขัดแย้ง ความเสียหายให้ดี แต่การนิรโทษกรรมจะยกเว้นอยู่ 3 ข้อ คือ

1.ยกเว้นคดีตามมาตรา 112

2.ยกเว้นคดีอาญาโดยเนื้อแท้ เช่น การยิงประชาชน , ทหาร,ตำรวจ เสียชีวิต

3.ไม่นิรโทษกรรมคดีคอร์รัปชั่น

ดังนั้นจึงน่าตั้งข้อสังเกตว่า การเคลื่อนไหวของเพื่อไทยในครั้งนี้ ไม่น่าใช่เรื่องที่รับลูกจากทางกลุ่มม็อบ 3 นิ้ว และแย่งชิงฐานเสียงคนรุ่นใหม่จากก้าวไกลเพียงเท่านั้น แต่อาจจะเชื่อมโยงรวมไปถึง การล้างมลทินในคดี 112 ให้นายทักษิณด้วยหรือไม่ เพราะหากทำได้ นายทักษิณคงได้กลับมาประเทศไทย ตามเจตนารมณ์ที่ “อุ๊งอิ๊ง” วาดฝันเอาไว้

Exit mobile version