Truthforyou

ก้าวไกลหน้าแหกยับ! โพลเผยชัด เลือกตั้งครั้งหน้า คนอีสานยังสนับสนุน “เพื่อไทย”?

หลังจากที่นายพิธา​ ลิ้มเจริญรัตน์​ หัวหน้าพรรคก้าวไกล​ ได้ประกาศกร้าวอาสาว่ามีความพร้อมที่จะเป็นนายกฯ แต่จะต้องชนะใจคนอีสาน

พร้อมระบุว่า “อย่างที่พวกเราพรรคก้าวไกลยืนยันมาโดยตลอดว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยได้ ต้องชนะใจคนอีสานให้ได้ ด้วยอุดมการณ์ที่แน่วแน่และความจริงใจทั้งหมดที่เรามี เราจะพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะชนะใจคนขอนแก่นและประชาชนทั้งหมดในภาคอีสานต่อไป เมื่อคนอีสานไว้วางใจพรรคก้าวไกล ผมก็จะเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งการเปลี่ยนแปลง ผมก็จะพาให้พรรคก้าวไกลเป็นพรรคแห่งการเปลี่ยนแปลง” ทั้งนี้ในแวดวงการเมืองทราบกันดีว่า พื้นที่ภาคอีสานนั้น เป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคเพื่อไทย

ล่าสุดศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “วันวานไทยรักไทย…วันนี้เพื่อไทยในอีสาน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,320 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับวันวานไทยรักไทย…วันนี้เพื่อไทยในอีสาน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการเคยเลือกพรรคไทยรักไทย หรือพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทย ตั้งแต่มีสิทธิเลือกตั้ง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.14 ระบุว่า เคยเลือกพรรคไทยรักไทย หรือพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทย รองลงมา ร้อยละ 12.65 ระบุว่า ไม่เคยเลือกทั้ง 3 พรรค ร้อยละ 4.24 ระบุว่า ยังไม่เคยไปเลือกตั้งเลย และร้อยละ 1.97 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับการลงคะแนนเสียงเลือกพรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา (เฉพาะผู้ที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย หรือพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทย) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.59 ระบุว่า เลือกพรรคเพื่อไทย ขณะที่ ร้อยละ 29.41 ระบุว่า ไม่ได้เลือกพรรคเพื่อไทย ซึ่งในจำนวนผู้ที่ไม่ได้เลือกพรรคเพื่อไทย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 30.49 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ รองลงมา ร้อยละ 19.05 ระบุว่า เลือกพรรคพลังประชารัฐและไม่ได้ไปเลือกตั้ง ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 15.87 ระบุว่า เลือกพรรคอนาคตใหม่ ร้อยละ 6.98 ระบุว่า เลือกพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 4.13 ระบุว่า ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) ร้อยละ 1.90 ระบุว่า เลือกพรรคเสรีรวมไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 0.63 ระบุว่า เลือกพรรคเศรษฐกิจใหม่

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการลงคะแนนเสียงเลือกพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.33 ระบุว่า จะเลือกพรรคเพื่อไทย รองลงมา ร้อยละ 37.12 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ ร้อยละ 12.35 ระบุว่า จะไม่เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 0.91 ระบุว่า จะไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) ร้อยละ 0.76 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ และร้อยละ 0.53 ระบุว่า จะไม่ไปเลือกตั้ง

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยส่วนใหญ่ ร้อยละ 14.40 ระบุว่าเป็น นครราชสีมา รองลงมา ร้อยละ 8.56 ระบุว่าเป็น ขอนแก่น ร้อยละ 8.18 ระบุว่าเป็น อุบลราชธานี ร้อยละ 7.42 ระบุว่าเป็น อุดรธานี ร้อยละ 6.44 ระบุว่าเป็น สุรินทร์ ร้อยละ 6.36 ระบุว่าเป็น ร้อยเอ็ด ร้อยละ 6.21 ระบุว่าเป็น บุรีรัมย์ ร้อยละ 4.85 ระบุว่าเป็น มหาสารคาม ร้อยละ 4.77 ระบุว่าเป็น ศรีสะเกษ ร้อยละ 4.55 ระบุว่าเป็น สกลนคร ร้อยละ 4.39 ระบุว่าเป็น ชัยภูมิ ร้อยละ 3.86 ระบุว่าเป็น กาฬสินธุ์ ร้อยละ 3.41 ระบุว่าเป็น เลย ร้อยละ 2.88 ระบุว่าเป็น นครพนมและยโสธร ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 2.65 ระบุว่าเป็น หนองบัวลำภู ร้อยละ 2.50 ระบุว่าเป็น หนองคาย ร้อยละ 2.20 ระบุว่าเป็น อำนาจเจริญ ร้อยละ 1.82 ระบุว่าเป็น มุกดาหาร และร้อยละ 1.67 ระบุว่าเป็น บึงกาฬ

 

ตัวอย่างร้อยละ 48.79 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.21 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 6.67 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 15.45 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 20.23 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 35.15 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 22.50 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 98.49 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 0.08 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.45 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.98 ไม่ระบุศาสนา

 

ตัวอย่างร้อยละ 19.70 สถานภาพโสด ร้อยละ 76.90 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.42 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.98 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 36.36 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.76 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.29 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 16.52 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.56 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.51 ไม่ระบุการศึกษา

 

ตัวอย่างร้อยละ 9.77 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.83 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 18.26 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 22.06 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.98 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.24 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.12 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.74 ไม่ระบุอาชีพ

 

ตัวอย่างร้อยละ 18.79 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 33.79 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 21.59 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 8.56 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.02 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.17 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.08 ไม่ระบุรายได้

อย่างไรก็ตามเมื่อผลโพลดังกล่าวออกมาเป็นเช่นนี้ ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณให้พรรคก้าวไกล ต้องคิดหนักกว่าเดิมว่า จากที่อยากจะชนะใจคนอีสาน เพื่อให้พิธาได้เป็นนายกฯ จะสามารถเกิดขึ้นจริงได้หรือไม่ เพราะฐานเสียงส่วนใหญ่ยังเหนียวแน่นว่าจะเลือกพรรคเพื่อไทย

Exit mobile version