Truthforyou

ศิลปินแห่งชาติ ยกสงครามไทย-เวียดนาม ชี้ทหารมีไว้ทำไม อย่าเลือกมอง แล้วเหมารวม?

จากที่วันนี้(3ต.ค.63)  วินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2556 และนักเขียนซึ่งได้รับรางวัลซีไรต์ ถึง 2 ครั้ง ได้โพสต์ข้อความลงฟซบุ๊ก ถึงประวัติศาสตร์การทำสงครามของประเทศ และคำถามที่ว่ามีทหารไว้ทำไม นั้น

ประวัติศาสตร์ที่เราลืม ตอน ข้าศึกที่หน้าบ้าน มีความสองตอน ทั้งที่ความจริงสาระของเรื่องนี้ยาวกว่าสองบท เพราะสงครามไทย-เวียดนามในช่วงนั้นกินเวลาหลายปี หลายสมรภูมิ และมีรายละเอียดมาก ถ้าเล่าหมด ก็อาจกลายเป็นหนังสือสงครามไป ก็เอาแค่พอให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในช่วงนั้น

แปลกนะ เวลาได้ยินใครตั้งคำถามว่า “ทหารมีไว้ทำไม” ไปจนถึงความคิดยกเลิกทหาร ผมมักถึงประวัติศาสตร์ท่อนนี้ ซึ่งเชื่อว่าคนไทยจำนวนมากไม่เคยได้ยินมาก่อน หรือลืมไปแล้ว คนรุ่นหลังอาจไม่เคยได้ยินชื่อ เช่น สมรภูมิช่องบก ฯลฯ

แน่นอน ประวัติศาสตร์บันทึกเรื่องราวของทหารแย่ๆ ไว้ไม่น้อย แต่ระวังอย่าเลือกมองภาพเฉพาะจุด แล้วเหมารวมทั้งหมด ตอนนั้นเมืองไทยรอดมาได้หวุดหวิด ต้องงัดตำราสามก๊กมาศึกษายุทธศาสตร์ทั้งหมด

ตอนนั้นเรามีนายทหารหลายคนเป็นเสนาธิการระดับมันสมอง เช่น พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ และอีกหลายคน มองการณ์ไกล วางแผนการยุทธ์อย่างรอบคอบ เดินหมากการเมืองระหว่างประเทศอย่างชาญฉลาด รักษาสมดุลระหว่างอำนาจจีนและสหรัฐฯอย่างลงตัว หลายคนมีบทบาทปิดทองหลังพระเงียบๆ

ถ้าเวียดนามเหนือเอาชนะสหรัฐฯได้ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างแน่นอนที่ไทยจะชนะ  ประเทศไทยในยุคนั้นเป็นอีกห้วงเวลาหนึ่งถัดมาจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112 และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เราหวุดหวิดเสียเมืองให้แก่ลัทธิคอมมิวนิสต์

เรารอดพ้นจาก Domino Effect เพราะกองทัพดำเนินนโยบายถูกจุด แผนการยุทธ์ถูกต้อง และที่สำคัญคือทหารจำนวนมากมายพลีชีพเพื่อแผ่นดิน ตายเงียบๆ อยู่ที่ชายแดน

ขณะที่คนจำนวนหนึ่งสรวลเสเฮฮาอยู่ท่ามกลางแสงสีในเมืองใหญ่ คนอีกจำนวนหนึ่งจับอาวุธเฝ้าประเทศในความมืด ล้มตายเงียบๆ และเราก็ลืมพวกเขาไปแล้ว

[ติดตามบทความ ข้อคิด บันเทิงจาก วินทร์ เลียววาริณ ได้ทุกวันที่ https://bit.ly/3amiAvG]

ขอบคุณที่มา : เฟซบุ๊ก วินทร์ เลียววาริณ

Exit mobile version