Truthforyou

ลุงตู่แก้มปริ!?! รัฐวิสาหกิจส่งรายได้ ทะลุเป้า 1.6 แสนล้านบาท

ช่วงนี้ประเทศไทยมีข่าวดีทะยอยออกมาให้ชื่นใจกันเป็นระยะ ล่าสุดสคร. หรือชื่อเต็มสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ แจ้งว่า รัฐวิสาหกิจจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน และกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 ได้ 160,070 ลบ. สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 270 ลบ. หรือร้อยละ 100.17% ของเป้าหมายทั้งปี อีกข่าวดีที่ไล่กันมาติดๆคือ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย. 64 ปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนจากการคลายล็อกดาวน์ ส่งผลให้มีการจับจ่ายและท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แต่เจอกดดันจากน้ำท่วมและน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น

 วันที่ 6 ต.ค. 2564 นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) สคร. จัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินของรัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 (กิจการฯ) ได้จำนวน 160,070 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 270 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 100.17% ของเป้าหมายทั้งปีซึ่งกำหนดไว้ 159,800 ล้านบาท

 

โดยในภาพรวมรัฐวิสาหกิจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ซึ่ง สคร. ได้ขอความร่วมมือให้รัฐวิสาหกิจยังคงนำส่งรายได้แผ่นดินให้เป็นไปตามเอกสารงบประมาณ และได้รับความร่วมมือจากรัฐวิสาหกิจเป็นอย่างดี และกองทุนรวมวายุภักษ์1 มีการนำส่งเงินปันผลเพิ่มเติมในเดือนกันยายน 2564 จึงทำให้การจัดเก็บรายได้แผ่นดินของรัฐวิสาหกิจและกิจการฯ เป็นส่วนสำคัญในการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในปีงบประมาณ 2564

เงินนำส่งรายได้แผ่นดิน ผลการจัดเก็บจริงคือ 

  1. รัฐวิสาหกิจ 144,220 ล้านบาท
  2. กิจการฯ  15,850 ล้านบาท

รวม 160,070 ล้านบาท

สำหรับในปีงบประมาณ 2565 สคร. ตั้งเป้าหมายการจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจำนวน 142,800 ล้านบาท ซึ่งคาดว่ารัฐวิสาหกิจยังคงได้รับผลกระทบจาก COVID – 19 เช่นเดิมจึงตั้งเป้าไว้ตามสถานการณ์  อย่างไรก็ตาม สคร. จะกำกับติดตามการนำส่งรายได้แผ่นดินของรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิด โดยพิจารณาประกอบกับผลประกอบการ มาตรการของภาครัฐที่รัฐวิสาหกิจจะต้องเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือเยียวยาประชาชน และการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจและกิจการฯ เป็นกลไกในการช่วยรักษาเสถียรภาพทางการคลังต่อไป

ในด้านการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจไทยซึ่งมีบทบาทในการหารายได้นำเข้าประเทศ และเป็นหน่วยงานหลักในการใช้จ่ายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับมหภาค

นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ให้ความสำคัญ ภาพรวมรัฐวิสาหกิจไทยทั้ง  52 แห่ง ซึ่งมีทั้งกลุ่มรัฐวิสาหกิจเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศและกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริการสาธารณะ โดยได้มอบนโยบายเน้นให้รัฐวิสาหกิจต้องสร้างแนวทางและวิธีการทำงานใหม่ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลก  สามารถทำเงิน สร้างรายได้ให้กับประเทศ ในขณะเดียว

กันต้องให้บริการประชาชน และต้องเพิ่มห่วงโซ่ทางธุรกิจ เพิ่มแนวทางการลงทุนร่วมภาคเอกชนในรูปแบบการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน (PPP)ให้มากขึ้น  เพื่อลดภาระด้านงบประมาณภาครัฐ  

ซึ่งต่อไปจะมีการนำผลประกอบการและการบริการประชาชนมาเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลการดำเนินงานของแต่ละรัฐวิสาหกิจด้วย คือการใช้ KPI หรือKey Performance Indecator มาวัดผลงานหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานนั่นเอง 

นายกรัฐมนตรียังย้ำการจัดทำแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจที่ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ความมั่นคง ความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม การเติบโตที่เป็นมิตรต้อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ และต้องสอดคล้องกับการปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาล ภายใต้ BCG Model โดยมีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนด้วย

 

BCG โมเดล เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก ได้แก่ B ย่อมาจาก Bio Economy คือ ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า C ย่อมาจาก Circular Economy คือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และ G ย่อมาจาก Green Economy คือ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน

นายกรัฐมนตรียังกำชับให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ไปพิจารณาให้แนวทางบริหารจัดการบริษัทในเครือรัฐวิสาหกิจที่ปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 123 แห่ง โดยคำนึงถึงความสามารถในการดำเนินธุรกิจและสอดคล้องกับภารกิจของรัฐวิสาหกิจแม่วมทั้งให้มีการพิจารณาดำเนินการ กรณีบริษัทในเครือที่ไม่จำเป็นต่อการดำเนินงานต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดภาระของภาครัฐในอนาคตเหมือนเช่นอดีตที่ผ่านมา 

นายกรัฐมนตรียังย้ำถึงความสำคัญของรัฐวิสาหกิจว่าเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศ พร้อมฝากให้บุคคลที่ถูกแต่งตั้งเข้ามาเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจต่างๆ ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยสุจริต โปร่งใส เป็นธรรม และส่งเสริมให้การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานด้วย  

มาดูรายได้ของประเทศกันว่าในรอบ 11 เดือนก่อนเริ่มงบประมาณใหม่มีเงินในกระเป๋าเท่าไหร่?

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 11 เดือนแรกของปี งบประมาณ 2564 (ตุลาคม 2563 – สิงหาคม 2564) ว่ารัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น จำนวน 2,144,766ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงิน งบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 2,905,931ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 675,210 ลา้นบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 499,342 ล้านบาท

Exit mobile version