งามไส้มธ.!ปล่อยทะลุฟ้าปลดธงชาติ – ชักธงแดง “ปฏิรูปสถาบัน” ยอดโดม? บิดเบือนวีรชน 6 ตุลา!

2245

งามไส้มธ.!ปล่อยทะลุฟ้าปลดธงชาติ – ชักธงแดง “ปฏิรูปสถาบัน” ยอดโดม? บิดเบือนวีรชน 6 ตุลา!

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (6 ตุลาคม 2564) ที่ลานประติมากรรมประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดกิจกรรม รำลึก 6 ตุลา 2519 เนื่องในโอกาสครบรอบ 45 ปี โดยมีกลุ่มคนเดือนตุลา ที่เคยร่วมต่อสู้ทางการเมืองในอดีต ภาคประชาชน กลุ่มผู้เคลื่อนไหวทางการเมือง คนเสื้อแดง ญาติวีรชนพฤษภา2535 ตัวแทนพรรคการเมืองหลายพรรค อาทิ พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคไทยสร้างไทย คณะก้าวหน้า เดินทางมาร่วมงาน โดยในช่วงเช้า มีการจัดกิจรรมให้กลุ่มต่างๆได้วางพวงมาลา เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว

ต่อมาเมื่อเวลาประมาณ 15.30 น. กลุ่มทะลุฟ้า ได้นำบันไดมายังตึกโดมภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทำการเปลี่ยนธงชาติไทย แล้วชักธงสีแดงขึ้นแทน โดยธงสีแดงดังกล่าว มีข้อความเขียนว่า “ปฏิรูปสถาบัน” โดยทางกลุ่มทะลุฟ้าได้อ้างว่า “สีแดงนั้นหมายถึงชาติและชาตินั้นก็ย่อมหมายถึงประชาชน” รวมถึงตอกย้ำข้อ 3 ในข้อเรียกร้อง และสิ่งที่วีรชนเมื่อ 6 ตุลา ปี 19 เรียกร้อง คือสังคมใหม่ที่คนย่อมเท่ากับคน

หลังจากนั้น มีเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยก็ได้บันทึกภาพพฤติกรรมของกลุ่มทะลุฟ้าไว้ ทำให้กลุ่มทะลุฟ้าไม่พอใจ
จนเกิดการด่าท่อกัน ขอร้องให้ลบภาพนั้น เจ้าหน้าที่จึงลบรูปดังกล่าวออกแล้วเดินหลบไป
ล่าสุดทางด้าน รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุข้อความว่า
แม้ว่าจะมีทั้งศิษย์เก่า และไม่ใช่ศิษย์เก่า มีความไม่พอใจผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มากขึ้นทุกวัน แต่ด้วยความผูกพันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจะว่าไปก็มีความผูกพันกับผู้บริหารหลายคนด้วย จึงยังคงเอาใจช่วยตลอดมา
เมื่อได้ยินข่าวว่า ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะไม่ยอมให้มีการจัดงานรำลึก 45 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ภายในมหาวิทยาลัย แรกทีเดียวก็รู้สึกแปลกใจ เพราะงานรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลา ถือได้ว่าเป็นงานสำคัญงานหนึ่งของชาวธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะอดีตนักศึกษาที่เคยผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลามาด้วยตัวเอง และเป็นงานอันสำคัญประจำปีงานหนึ่งขององค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ อมธ (แต่ครั้งนี้กลับเป็นงานของสภานักศึกษา)
ครั้งกระโน้น เมื่อปี 2521 เมื่อผมมาทำหน้าที่ดูแลกิจกรรมนักศึกษา งานแรกๆของผมก็คือดูแลการจัดงานรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลา ของ อมธ ให้ราบรื่นไม่มีปัญหา และการจัดงานนี้ก็มีมาทุกปีตราบจนปัจจุบัน
ดังนั้นจึงแปลกใจว่า ทำไมไม่อนุมัติให้ใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัย แต่มาตามข่าวต่อมาจึงทราบว่า เป็นเพราะขัดต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน และประกาศของ กทม เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19 จึงเข้าใจ และรู้สึกดีที่มหาวิทยาลัยพยายามทำตามกฎหมาย แต่แล้วมาเห็นข่าวว่า ในที่สุดก็มีการจัดงานภายในมหาวิทยาลัยจนได้ ก็ยังไม่ติดใจอะไร เพราะเข้าใจว่า ผู้บริหารมหาวิทยาลัยอาจจำเป็นต้องผ่อนปรนบ้าง เพราะเป็นงานสำคัญ แต่ก็หวังว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยคงจะได้หารือกับตำรวจ และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องที่มีอำนาจยินยอมให้จัดงานได้ในสถานการณ์โควิดแล้ว
อย่างไรก็ดี เมื่อเห็นภาพในงานจากคลิปส์ต่างๆ จึงเห็นว่า มีนักการเมือง กลุ่มการเมือง และม็อบต่างๆ มาร่วมงาน ไม่แน่ใจว่ามาร่วมรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลาหรือไม่ แต่ที่แน่ก็คือ ถือโอกาสใช้งานนี้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองกันอย่างเต็มที่นั่นยังพอยอมรับได้ แต่เมื่อได้เห็นรูป(หากเป็นรูปจริง) ธงแดงขึ้นไปอยู่แทนธงชาติบนเสาธงบนยอดโดม แล้ว ขออนุญาตแสดงความรู้สึกแทนศิษย์เก่าทั้งหลายว่า เป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้เลย ไม่เข้าใจว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่น่าจะมีบางท่านอยู่ดูแลความเรียบร้อย เมื่อเห็นการกระทำเช่นนี้แล้ว ยอมได้อย่างไร
หากรูปนี้ไม่ใช่รูปจริง ก็ต้องขออภัยทุกท่านด้วย แต่หากเป็นรูปจริง ก็ต้องคอยติดตามต่อไปว่า ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะดำเนินการอย่างไรต่อไป หรือจะนิ่งเฉยอย่างที่เคยเป็นตลอดมา ผมไม่ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้าข้างใคร หรือฝ่ายใด เพียงขอร้องให้เข้าข้างความถูกต้องเท่านั้น หวังว่าจะไม่เป็นการเรียกร้องที่มากเกินไป
ต่อมาก็ได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ข้อความถึงพฤติกรรมของกลุ่มทะลุฟ้าว่า วีรบุรุษ6 ตุลา คงร่ำไห้ทั้งๆที่ยอมสละชีวิตเพื่อประชาธิปไตย ตอกย้ำ!! สิ่งที่ได้ในวันนี้ในการจัดงานรำลึก 6 ตุลาคม 2519 คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นคอมมิวนิสต์
ชักธงแดงที่มีคำว่า “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” ขึ้นที่ยอดโดม มธ.ท่าพระจันทร์ เป็นการล้มล้างการปกครองและสร้างข่าวเฟกนิวส์ว่าข้อ 3 ในข้อเรียกร้อง คือสิ่งที่วีรชนเมื่อ 6 ตุลา ปี 19 เรียกร้อง(ข้อความของThe MATTER @thematterco) ซึ่งไม่เป็นความจริงแท้จริงแล้วมีการเรียกร้องมาปีกว่าๆนี้เองได้ยินครั้งแรกที่กวิ้นกับรุ้งเอาไปอ่านที่มธ ศูนย์รังสิตนี่เอง