ได้เวลาคิดบัญชีลูกจ๊อกเมกา!! หัวเว่ยห้ามแคนาดาใช้สิทธิบัตร 5G ปิดสาขาเกลี้ยงเลิกจ้าง 4,500 อัตรา

4142

หัวเว่ยประกาศสงครามกับแคนาดาทันที เมื่อผู้บริหารได้กลับถึงแผ่นดินบ้านเกิดอย่างปลอดภัย ความสัมพันธ์ระหว่างแคนาดากับจีนได้มาถึงจุดต่ำสุดและคงจะรื้อฟื้นยาก เมื่อจีนมาถึงจุดไม่ต้องค้าขายกับแคนาดา หรือไม่มีความต้องการร่วมมือด้านอื่นๆอีกต่อไป เปิดทางหัวเว่ยเช็กบิลล์ประเทศที่เดินตามก้นอเมริกา ไม่สนความถูกต้องชอบธรรมอย่างแคนาดาทันที

huawei canada

เมื่อวันที่ 29 ก.ย.2564 นางเมิ่ง หว่านโจว CFO ของหัวเว่ยที่ถูกทางการแคดาดาจับกุม และกักบริเวณถึง 3 ปี ต่อมาหลังเจรจาทางการเมืองแลกตัวประกันสำเร็จ ได้เดินทางกลับถึงประเทศจีนในฐานะวีรสตรี ที่ต้องเผชิญการข่มขู่คุกคามจากมหาอำนาจสหรัฐและสมุนบริวารอย่างแคนาดา ก็ถึงเวลาบริษัทหัวเว่ยตอบโต้กลับโดย บริษัทหัวเว่ยได้สั่งปิดศูนย์พัฒนา 5G ที่แคนาดาและให้พนักงาน 4500 คนออกจากงานทันที

นอกจากนี้หัวเว่ยยังปฏิเสธที่จะให้ลิขสิทธิ์5G ให้แคนาดา เท่ากับว่าแคนาดาจะไม่มีความสามารถในการแข่งขันด้าน5G แม้จะใช้เครือข่ายของอีริคสันมาแทน แต่อิริคสันก็ใช้ลิขสิทธิ์ของหัวเว่ยนั่นเอง ต่อไปจะใช้ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เต็มๆ

เรื่องอื้อฉาวของแคนาดา ที่กระทำต่อจีนเป็นที่ปรากฏอย่างชัดเจนต่อสายตาปรชาคมโลก กรณีผู้บริหารหัวเว่ยถูกทางการแคนาดาคุมตัวเกือบ3ปี อย่างไม่เป็นธรรม ด้วยข้อหาว่าให้ข้อมูลที่ทำให้ธนาคารHSBCเข้าใจผิด และทำให้เสียชื่อเสียงในการทำธุรกรรมกับอิหร่านที่ถูกทางสหรัฐแซงชั่น ทั้งๆที่HSBCไม่ได้เสียหายอะไร และรับรู้การค้าขายระหว่างบริษัทลูกของหัวเว่ยที่ขายมือถืออุปกรณ์คอมฯให้อิหร่านมาตลอด 

แต่ศาลแคนาดาก็ไม่ยอมปล่อยตัวเหมิน หว่านโจว เนื่องจากทำตามข้อเรียกร้องของสหรัฐที่ต้องการเล่นงานหัวเว่ย เหมือนกับที่เคยทำลายบริษัทAlstromของฝรั่งเศส

ท้ายที่สุด มีการเจรจาแลกเปลี่ยนเชลยกันระหว่างแคนาดากับจีน โดยแคนาดายอมปล่อยตัวลูกสาวหัวเว่ย แลกกับการที่จีนปล่อยตัวสายลับแคนาดาสองคนออกจากคุก ต่างกันที่สายลับแคนาดาเป็นนักโทษที่กระทำผิดทางอาญาอย่างชัดเจนแต่ผู้บริหารหัวเว่ย แค่ไม่ทำตามความต้องการสหรัฐฯ และเจตนาที่แท้จริง สหรัฐฯต้องการขัดขวางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของจีนนั่นเอง

ที่ผ่านมา หัวเว่ยมักจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสิทธิบัตรหรือฟ้องร้องเรื่องการละเมิดสิทธิบัตร แต่ก็ไม่ได้หยุดการอนุญาต 5G กับประเทศคู่ค้า ตอนนี้กำลังมุ่งเป้าไปที่แคนาดาโดยตรง การปิดสาขาในแคนาดาในตอนแรกจะทำให้สูญเสียงาน 4,500 ตำแหน่ง นอกจากนี้การพัฒนา 6G ของหัวเว่ยสามารถย้ายศูนย์ R&D ไปที่อื่นได้ การตัดสินใจของหัวเว่ยถือเป็นการส่งผลกระทบร้ายแรงต่อแคนาดา ในแง่ของเทคโนโลยีเครือข่าย และแรงงาน 4500 คนจะตกงาน ทั้งหมดนี้เป็นผลจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดของแคนาดา กระทำการตามวาระวอชิงตันโดยไม่สนใจข้อเท็จจริงที่ หัวเว่ยนำเสนอชี้แจงมาโดยตลอด

หัวเว่ย ได้ให้การสนับสนุนทางเศรษฐกิจอย่างมากแก่แคนาดา ตลอดช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การจ้างงาน ส่งผลให้ส่วนแบ่ง GDP ค่อยๆ เพิ่มขึ้น การสร้างเครือข่าย 5G ฯลฯ การลงทุนมากมาย เมื่อหยุดการลงทุนครั้งนี้อาจทำให้แคนาดาต้องเสียผลประโยชน์เงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ด้านสหรัฐอเมริกา จุดประสงค์ของสหรัฐฯในกระบวนการขัดขยางหัวเว่ยนี้ก็ชัดเจนเช่นกัน ความเป็นผู้นำของหัวเว่ย ในด้าน 5G ได้ทำให้สหรัฐฯกังวลและมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อตำแหน่งผู้นำด้านการสื่อสารโทรคมนาคาของสหรัฐฯ เพื่อรักษาเสถียรภาพของสถานะของตนสหรัฐอเมริกาได้ปรับปรุงกฎซ้ำแล้วซ้ำเล่าในปี 2019 และ 2020 ทำให้ Huawei ไม่เพียงสูญเสียคู่ค้าในต่างประเทศจำนวนมากและยังมีชิปไม่เพียงพอที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ และที่หนักสุดคือการตั้งข้อหาเพื่อจับกุมตัวผู้บริหารระดับสูงอย่างไม่ละอาย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน หัวเว่ยเป็นบริษัทที่มีสิทธิบัตร 5G มากที่สุดในโลก และมีจำนวนสิทธิบัตรที่เป็นเจ้าของถึง 3147 ฉบับซึ่งหมายความว่า Nokia และ Ericsson ยังต้องการการสนับสนุนจากเทคโนโลยี 5G ของ Huawei ดังนั้นจึงอาจไม่สามารถให้บริการได้ในแคนาดา

huawei canada

บทเรียนของบริวารสหรัฐฯอย่างออสเตรเลียก็โดนมาแล้ว  ออสเตรเลียได้ประกาศยกเลิกความร่วมมือกับบริษัทหัวเว่ยอย่างเปิดเผยในปี 2018 นับตั้งแต่นั้นมา หัวเว่ย ก็ได้ต่อสู้เพื่อตอบโต้ โดยปิดศูนย์พัฒนา R&D ในประเทศ ถอนเงินลงทุน 490 ล้านหยวน และเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก จนถึงขณะนี้ มีพนักงานประมาณ กว่า 1,000 คนถูกเลิกจ้าง และหัวเว่ยมีพนักงานน้อยกว่า 200 คนในออสเตรเลีย

ตั้งแต่นั้นมา อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องต่างๆ ในออสเตรเลียได้รับผลกระทบในระดับต่างๆ กัน และการเชื่อมต่อสื่อสารมีการสะดุดหลายครั้งบ่อยขึ้นอีกด้วย ปัจจุบันวิถีการพัฒนาของแคนาดาและออสเตรเลียด้านการสื่อสารโทรคมนาคมจึงไม่แตกต่างกันมากนัก