Truthforyou

วุฒิฯสหรัฐขอหมายศาลเรียกเฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์-กูเกิ้ลแจงทำถูกกม.หรือไม่?!? ขณะไทยจัดหนักฟ้องFBปล่อยเว็บชังชาติแพร่เฉย

วุฒิสภาสหรัฐมีมติขอหมายศาลเรียก ซีอีโอโซเชียลมิเดียขาใหญ่ เฟ๊ซบุ๊ก,ทวิตเตอร์,กูเกิ้ล เข้าชี้แจงกรณีการจัดการข้อมูลข่าวสารที่แพร่ในแพลตฟอร์มของแต่ละแห่ง ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร ขณะไทยดีอีเอสจัดหนัก ฟ้องเฟซบุ๊กส่อเจตนาไม่ยอมปิดกั้นเว็บผิดกฎหมาย ท้าทายไม่เคารพกม.ไทยปล่อยเว็บหมิ่นสถาบัน-การพนัน-ยาเสพติดแพร่ไปทั่ว กระแสสังคมไม่ทน ส่งเสียงเชียร์รัฐบาลจัดหนักไปเลย ทำมาหากินเมืองไทยต้องเคารพกฎหมายไทย

โซเชียลมีเดียขาใหญ่ทั้งหลาย ทั้งเฟซบุ๊ก ยูทูบ และ ทวิตเตอร์ ที่คนไทยใช้มากเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ต่างรับรู้กันว่าโซเชียลเหล่านี้ถูกใช้เป็นอาวุธทางการเมือง และช่องทางการกระทำ cyber bully ทั้งนี้ปล่อยให้เว็บผิดกฎหมายทำการอย่างโจ่งแจ้ง  สร้างปัญหาให้กับสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะกรณีเปิดพื้นที่ให้คนบางกลุ่มได้ใช้เพื่อ “หมิ่นสถาบัน” อยู่อย่างต่อเนื่องและรุนแรงขึ้นทุกวัน ในเบื้องต้นรัฐบาลใช้ “ไม้นวม” เคยขอความร่วมมือให้ปิดกั้นหลายครั้ง แต่ก็ได้รับการตอบสนองแบบไม่ค่อยเต็มใจ โดยเฉพาะ “เฟซบุ๊ก” เมื่อเทียบกับโซเชียลมีเดียเจ้าอื่นๆ พร้อมทั้งแสดงท่าทีตอบโต้เป็นระยะ เมื่อกระแสไม่คล้อยตามจึงสงวนท่าที ถึงเวลารัฐบาลไทย คนไทยต้องยืนหยัดจุดยืนปกป้องอธิปไตย รักษาสถาบันหลักของชาติ ถ้าเฟซบุ๊กเป็นถนนให้ขบวนการทำลายชาติใช้เป็นอาวุธทิ่มแทงราชอาณาจักรไทย

อำนาจในการควบคุมข้อมูลข่าวสารในมือโซเชียลมีเดียขาใหญ่-ครอบงำ?

คณะกรรมการวุฒิสภาสหรัฐได้ลงมติให้ขอหมายศาลเรียกผู้บริหารแพลตฟอร์มชื่อดัง เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์และกูเกิ้ล เพื่อมาให้การถึงบทบาทการควบคุมดูแลแพลตฟอร์มของบริษัทในช่วงก่อนการเลือกตั้งว่าเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร

มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอเฟซบุ๊ก, ซันเดอร์ พิชัย ซีอีโอกูเกิ้ล และแจ็ค ดอร์เซย์ ซีอีโอทวิตเตอร์ต้องให้การทางออนไลน์และในวันนี้ผู้บริหารทั้งสามบริษัทตกลงให้การโดยสมัครใจเรียบร้อยแล้ว ทั้งซัคเคอร์เบิร์ก,พิชัย ตลอดจนทิม คุ๊กแห่งแอปเปิ้ล และเจฟ เบโซสแห่งอเมซอน ต้องเข้ามาชี้แจงคณะอนุกรรมการทางกฎหมายของสภาฯเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งทางฝั่งเดโมแครตซักถามถึงการผูกขาดการแข่งขัน ในขณะที่รีพับลิกันถามถึงการจัดการข้อมูลอคติและข้อมูลเท็จที่แพร่บนแพลตฟอร์มของพวกเขา ผ่านไปไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

การให้การในครั้งนี้เป็นการสะท้อนถึงความเป็นจริงคู่ขนานของเหตุการณ์เรื่องราวที่ปรากฏบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ทรงพลังในสหรัฐอเมริกา ใครคุมกลไกนี้มีแต้มต่อในการชิงชัยทางการเมือง ในกรณีนี้ปรากฏว่าสมาชิกของพรรคเดโมแครตไม่โหวดสนับสนุนให้ออกหมายศาล แต่ประธานวุฒิสภา วุฒิสมาชิกโรเจอร์ วิคเกอร์(อาร์-วอช)แห่งพรรครีพับลิกัน เห็นด้วยที่จะฟังคำชี้แจงเรื่อง “การครอบงำของสื่อ” ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎหมายมาตรา 230 มติส่วนใหญ่จึงเห็นด้วยให้ขอหมายศาล

การเผยแพร่เนื้อหาที่ต่อต้านอนุรักษ์นิยม เกิดขึ้นแพร่หลายบนแพลตฟอร์ม ได้มีการลบหรือตักเตือนข้อมูลเท็จที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งและการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับปธน.ทรัมป์และแผนการรณรงค์การเลือกตั้งให้เขากลับเข้ามาอีกครั้ง ซึ่งมักจะแพร่ข้อมูลผิดๆเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการแพร่ระบาดโควิด-19 นักการเมืองและสื่อมวลชนสายอนุรักษ์นิยม จับจ้องกฎหมายมาตรา 230 ซึ่งให้ความสำคัญกับบทบาทอินเตอร์เน็ตสำคัญที่สุดและความเข้าใจผิดเกี่ยวข้องกับกฎหมายควบคุมดังกล่าว  ในประเด็นสูงสุดของมาตรา 230 อนุญาตให้แพลตฟอร์มปล่อยให้ยูเซอร์ผู้ใช้งานเผยแพร่เนื้อหาตามความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างเสรี จะเข้มงวด, ปานกลาง หรือไม่คุมเลยก็ได้ โดยที่แพลตฟอร์มไม่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใด

วุฒิสมาชิกสองสามรายจากพรรครีพับลิกันได้เสนอกฎหมายในปีนี้ เกี่ยวกับการปฏิรูปกฎหมายบางมาตรา และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ได้ส่งร่างกฎหมายไปยังสภาคองเกรส ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ทำให้มาตรา 230 อ่อนลง ในการปกป้องและหยุดยั้งแพลตฟอร์มที่เผยแพร่ เนื้อหาข้อมูลข่าวสารที่มีจุดมุงหมายบางอย่างและผิดกฎหมาย

เฟซบุ๊กไทยนำโด่งส่อเจตนาเบี้ยวไม่ร่วมมือควบคุมอาชญากรรมบ่อนทำลายชาติไทย

เรื่องนี้เห็นได้จาก สถิติตัวเลขที่ “กระทรวงดีอีเอส” ได้ดำเนินการส่งหนังสือถึงโซเชียลมีเดียต่างๆ แจ้งเตือนการติดตามการปิดกั้นตามคำสั่งศาล จำนวน 1,024 รายการ ชุดที่ 2 เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 63 ซึ่งครบกำหนด 15 วัน ในวัน 12 ก.ย. 63 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ยังพบว่ามียูอาร์แอลที่ไม่ได้ปิดกั้นตามคำสั่งศาล โดยที่ “เฟซบุ๊ก” คงเหลือ 446 ยูอาร์แอล จากที่แจ้งให้ปิด 661 ยูอาร์แอล, “ยูทูบ” คงเหลือ 4 ยูอาร์แอล จากที่แจ้งให้ปิด 289 ยูอาร์แอล, “ทวิตเตอร์” คงเหลือ 65 ยูอาร์แอล จากที่แจ้งให้ปิดจำนวน 69 ยูอาร์แอล และเว็บไซต์อื่น คงเหลือ 1 ยูอาร์แอล จากที่แจ้งให้ปิดจำนวน 5 ยูอาร์แอล

มิหนำซ้ำ นอกจากไม่กระตือรือร้นจะปิดกั้น ก่อนหน้านี้ “เฟซบุ๊ก ประเทศไทย” ยังได้อุทธรณ์คำสั่งศาล กรณีที่มีคำสั่งให้ปิดกั้นเว็บไซต์ หรือเพจที่ผิดกฎหมาย รอบแรกที่เฟซบุ๊กปิดกั้นหมดแล้ว ทั้งนี้กระทรวงดีอีเอส ได้รับการแจ้งจากศาลให้ไปชี้แจงกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งศาล จำนวน 17 คดี ในเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งมองเป็นอย่างอื่นไม่ได้ว่า เฟซบุ๊ก ไม่แคร์และไม่เคารพต่อกฎหมายไทย ทั้งๆ ที่เข้ามาเปิดบริการหารายได้ แสวงหาผลประโยชน์จากสังคมไทย โดยขณะที่สังคมไทยกำลังมีปัญหา “เว็บหมิ่น” ที่เกลื่อนกลาด แต่เฟซบุ๊กกลับไม่ได้แสดงออกว่าพร้อมจะช่วยเหลือเลย

ด้วยพฤติกรรมและเจตนาของเฟซบุ๊กแบบนี้นี่เอง จึงทำให้มีคนหลายคนมองตามทฤษฎีสมคบคิดที่น่าเชื่อได้ว่า “เฟซบุ๊ก” เป็นแพลตฟอร์มที่รู้เห็นเป็นใจให้ขบวนการสั่นคลอนสถาบันของไทย หรือ “ล้มเจ้า” โดยการเปิดพื้นที่ให้คนกลุ่มนี้อย่างเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ท่องคาถา “สิทธิเสรีภาพ” และ ปกป้องสิทธิในการแสดงออกทางความคิดของผู้ใช้บริการเฟซบุ๊ก ทั้งๆ ที่ก็รู้ว่า เป็นเรื่องผิดกฎหมายของไทย

หมิ่นสถาบัน, ลามก, การพนัน, ยาเสพติดยังแพร่ในแพลตฟอร์มโจ๋งครึ่ม

“ดีอีเอส” จะดำเนินการ ส่งคำสั่งศาลปิดเว็บไม่เหมาะสมรอบที่ 3 อีก 3,097 ยูอาร์แอล แบ่งเป็น “เฟซบุ๊ก” 1,748 ยูอาร์แอล, “ยูทูบ” 607 ยูอาร์แอล, “ทวิตเตอร์” 261 ยูอาร์แอล และรายการอื่นๆ อีก 481 ยูอาร์แอล ทั้ง หมิ่นสถาบัน, ลามก, การพนัน, ยาเสพติด และการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเจ้าของแพลตฟอร์มต้องดำเนินการปิดภายใน 15 วัน ไม่เช่นนั้น จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 27

จัดหนักไปเลย วัดกันไปว่ายังจะทำมึนต่อไปหรือเปล่า?

แน่นอนว่า “เฟซบุ๊ก” จะต้องถูกจับตามองมากกว่า ยูทูบ หรือ ทวิตเตอร์ ว่าจะให้ความร่วมมือแค่ไหน แต่เฉพาะที่เกิดขึ้นแล้ว ขอไปแล้วไม่ยอมปิดกั้น ไฟต์บังคับ ที่ต้องสู้กันสักตั้ง และในทีสุด วันที่ 24 ก.ย. 63 ดีอีเอสได้เข้าดำเนินการแจ้งความเฟซบุ๊ก ยูทูบ และ ทวิตเตอร์ ฐานที่ละเลยไม่ปิดกั้นยูอาร์แอล ที่ผิดกฎหมาย ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.)งานนี้มีแต่กองเชียร์ขอให้จัดหนักๆกันไปเลย กวาดล้างให้โซเชียลมีเดียสะอาดซะบ้าง ย่อมดีต่อสังคมไทยอย่างแน่นอน

เป็นครั้งแรกที่ได้มีการแจ้งความดำเนินคดีกล่าวโทษร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีการชุมนุมทางการเมืองที่ผู้ชุมนุมอ้างว่าเป็นสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญและสามารถทำได้ตามกฎหมาย เนื่องจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. ที่ผ่านมา มีการใช้ Social Media โพสต์ข้อความต่างๆ ที่เข้าข่ายผิดกฎหมายหรือพาดพิงสถาบันหลักของประเทศ จำนวน 5 ยูอาร์แอล ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ดังนี้ เฟซบุ๊ก 4 ยูอาร์แอล และทวิตเตอร์ 1 ยูอาร์แอล 

นายพุทธิพงษ์ เน้นย้ำว่าการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีครั้งนี้ มุ่งดำเนินการกับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้อมูลที่ผิดกฎหมายซึ่งไม่ใช่เป็นผู้แชร์ต่อ จึงมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายไปแจ้งความต่อ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เพื่อดำเนินคดี เพื่อเอาผิดกับผู้นำเข้าข้อความที่ไม่เหมาะสม 5 ราย ดังกล่าว ทั้งนี้ที่มีจำนวนผู้กระทำผิดไม่มากเป็นเพราะกระทรวงฯ ต้องการให้มีการดำเนินคดีกับบุคคลแรกที่เป็นผู้นำเข้าข้อมูลเท่านั้น

“ดีอีเอส พร้อมดำเนินคดีกับแพลตฟอร์มต่างประเทศ เพจหรือเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมายที่ไม่ดำเนินการปิดภายใน 15 วัน ตามที่มีการส่งหนังสือไปแจ้งเตือนไอเอสพีเพื่อดำเนินการปิดกั้นการเข้าถึง  ปิดเว็บไซต์ผิดกฎหมายก่อนหน้านี้ ซึ่งที่ผ่านมาในช่วงส.ค.–24 ก.ย. มียอดร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้นำเข้าข้อมูลคอมฯ ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คอมฯ รวมจำนวน 13 บัญชี/รายการ และมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ ตามมาตรา 27 ที่ไม่ปฏิบัติตาม คำสั่งศาลฯ จำนวน 2 ราย (เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์) ซึ่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลผิดกฎหมาย / ปิดเว็บไซต์ภายใน 15 วันหลังจากได้รับคำสั่งศาล”รมว.ดีอีเอสกล่าวยืนยัน

Exit mobile version