บก.ลายจุดเงิบ!โชว์คาร์ม็อบผงาด-ราษฎรแผ่ว เจอสวนผ่านหน้ารพ.ขอเงียบๆหน่อย

1628

จากที่วันนี้ 14 กันยายน 2564 สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด แกนนำกลุ่มคาร์ม็อบ ได้ออกมาโพสต์ข้อความถึงผู้ชุมนุม 3กลุ่ม โดยแยกแยะให้เห็น ขณะที่ก็โดนฝ่ายเดียวกันโจมตีว่าฉวยโอกาส และเป็นพวกโลกสวยด้วย

ทั้งนี้บก.ลายจุด ได้โพสต์ข้อความเนื้อหาระบุว่า 3 ม็อบ  3 แนวทาง จากปรากฏการณ์ม็อบการเมืองในปัจจุบัน สามารถจำแนกแนวทางและจุดแข็งของแต่ละกลุ่มได้ดังนี้

ม็อบราษฏร เป็นม็อบที่กำเนิดในปี 63 เป็นม็อบหลักในปีที่ผ่านมา และเป็นม็อบหลักที่นำโดยคนหนุ่มสาว มีแนวทางการเสนอเรื่องการปฏิรูปสถาบัน ซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่เคยมีข้อเรียกร้องหรือพูดถึงประเด็นนี้ในทางสาธารณะมาก่อน ทำให้ได้รับความสนใจอย่างวงกว้าง และสั่งสะเทือนจนทำให้รัฐบาลต้องออกมาใช้มาตราการทางกฏหมายเพื่อจับแกนนำไปเก็บไว้ในเรือนจำ แม้การเคลื่อนไหวในปี 64 จะแผ่วลงจากปัจจัยการระบาดของโควิดและการขาดแกนนำหลัก แนวทางการตอบโต้ของรัฐคือแจ้งข้อกล่าวหา ม.112 เป็นหลัก

Car Mob เป็นม็อบที่พัฒนาการต่อเนื่องมาจากม็อบราษฏรแต่ตีโจทย์เรื่องความกังวลเกี่ยวกับโควิดโดยใช้รถยนต์ข้ามข้อจำกัด นำโดยอดีตแกนนำเสื้อแดงที่ผ่านการเคลื่อนไหวนับแต่ รปห 49 ,เม.ย.-พ.ค.53. ทำให้มวลชนที่เคยร่วมกับราษฏรที่มีรถแต่กังวลโควิด กระโดดขึ้นขบวน Car Mob แนวร่วมกลุ่มนี้เป็นผุ้ใหญ่ มีรถ และได้กำลังเสริมจากอดีตคนเสื้อแดงเข้าร่วมขบวน

Car Mob เน้นเรื่องการสะสมปริมาณมวลชน ยกกำลังเชิงปริมาณในทุกครั้งที่จัดกิจกรรมและมีการกระจายไปยังตจว. ภายใต้กรอบการแสดงออกใช้เสียงแตร์และจำนวนรถในการสื่อสารถึงข้อเรียกร้องให้ประยุทธลาออกไป  แนวทางตอบโต้ของรัฐคือการแจ้งข้อกล่าวหา พรก.ฉุกเฉินฯ และใช้ยุทธวิธี “ปล่อยให้ล้าไปเอง”

ม็อบทะลุแก๊ส นับเป็นม็อบปักหลัก ตั้งฐานในพื้นที่สามเหลี่ยมดินแดง มีพัฒนาการของตนเอง โดยเริ่มจากการม็อบซ้อนม็อบและสามารถแยกตัวและประกาศแนวทางต่อสู้ในลักษณะที่มุ่งสร้างความปั่นป่วนเป็นประจำทุกวัน ณ พื้นที่เดิม

มวลชนทะลุแก๊สส่วนใหญ่เป็นเยาวชน ใช้มอเตอร์ไซค์เป็นพาหะนะระหว่างต่อสู้ เปรียบได้กับการเป็นทหารม้า มีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว มีอิสระ พลิกแพลงตามสถานการณ์ ไม่มีแกนนำหลัก ไม่มีโครงสร้างสายบังคับบัญชา มีมวลชนเข้าร่วมสมทบไม่ขาดสาย

ด้วยลักษณะของการ “ป่วนรัฐ” ซึ่งเป็นการท้าทายต่อ คฝ. ซึ่งเป็นตัวแทนของอำนาจรัฐในการควบคุมสถานการณ์การชุมนุม ทำให้สื่อมวลชนให้ความสนใจจำนวนมาก

แม้จำนวนผู้ชุมนุมจะไม่มากเท่า 2 กลุ่มแรก แต่ด้วยแนวทาง “ป่วนรัฐ” ในแบบของทะลุแก๊สทำให้เกิดแรงสันสะเทือนในทุกค่ำคืนมาตลอด 1 เดือนเต็ม

แนวทางตอบโต้ของรัฐคือ การใช้ คฝ. และอุปกรณ์ควบคุมฝูงจนเข้าสลายการชุมนุม พร้อมกับการจับกุมด้วยข้อหาต่างๆ ภายในเดือนเดียวมีผู้ถูกจับกุมกว่า 400 คน ข้อกังวลคือ มักมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก และมีโอกาสที่ระดับของความรุนแรงจะเพิ่มเติมขึ้น

ต่อมาเมื่อโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ก็ปรากกว่ามีเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก บางข้อความได้ขอร้องในเรื่องการเคลื่อนไหวของคาร์ม็อบ ทำให้นายสมบัติ เข้ามาตอบคอมเมนต์ด้วยตัวเอง เช่น

“ขอร้อง​พี่​หนูหริ่ง​ในฐานะผม​เป็น​รุ่น​น้อง​พี่​ที่​ปทุม​คงคา​คาร์​ม็อบ​ของ​พี่​ถ้า​ผ่าน​หน้า​โรงพยาบาล​ของดใช้​เสียง​ได้​ไหม​ครับ แล้ว​ภาพการแสดงออก​กับ​จุด​ยืน​ของพี่​จะ​สวยงาม​มากครับ​พี่​ชาย

ผ​มก็​ไม่​ได้​ชอบ​ประยุทธ์ เดือดร้อน​มี​ปัญหา​ด้าน​เศรษกิจ​ก็​เพราะ​ประยุทธ์ ส่วน​ส.ว250​ผม​มองว่า​เป็น​ภาระ​ของ​ประชาชน มอง​เหมือน​ขยะ​ครับ​”

สมบัติ บุญงามอนงค์ “พยายามสื่อสารทุกครั้ง การชุมนุมที่อโศก มีการทำเลนสำหรับรถฉุกเฉิน และต่อมาแบ่งพื้นที่สำหรับรถวิ่งเข้าออกได้ส่วนหนึ่ง เพื่อแบ่งปันกันใช้พื้นที่ เป็นเรื่องที่สังคมจะต้องค่อยๆ เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมการชุมนุมและแบ่งปันพื้นที่ให้ผลกระทบเกิดขึ้นน้อยที่สุดหรือเท่าที่จำเป็น”