กางตัวเลขสธ.ตบหน้า “พิธา” อ้างยื่นซักฟอก ทำตัวเลขผู้ป่วยลดลง-คนฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น!?

2072

กางตัวเลขสธ.ตบหน้า “พิธา” อ้างยื่นซักฟอก ทำตัวเลขผู้ป่วยลดลง-คนฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น!?

จากกรณีที่ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม – 4 กันยายน 2564 ซึ่งเป็นการอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล โดยผลการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมกับ 5 รัฐมนตรี สภามีมติไว้วางใจ รอดพ้นจากศึกซักฟอกในครั้งนี้

ในขณะเดียวกัน ทางด้านนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยส.ส.พรรคก้าวไกล แถลงข่าวหลังการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยกล่าวว่า ผลการลงมติไม่ไว้วางใจตนและพรรคก้าวไกลผิดหวังและเสียดายที่ระบบรัฐสภาฯไม่ยึดโยงกับความเป็นจริงบนท้องถนน กับความทุกยากที่ประชาชนต้องเผชิญ และเสียหายกับโอกาสของทุกพรรคในการถอดสลักอุปสรรคที่จะแก้ไขปัญหาที่ประชาชนกำลังพบอยู่ สำหรับคะแนนที่ออกมาของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม ถ้านับเรื่องไว้วางใจถือว่ารองบ๊วย ถ้ามองคะแนนไม่ไว้วางใจถือว่าสูงที่สุด ประกอบกับความวุ่นวายในสภาฯสามสี่วันที่ผ่านมาจะเห็นว่าความชอบธรรมและภาวะผู้นำของพล.อ.ประยุทธ์ มีปัญหารวมถึงเสถียรภาพทางการเมืองที่ตนมองว่าอาจนำไปสู่การยุบสภาในเร็ววันนี้

ส่วนการทำงานก้าวต่อไปของพรรคก้าวไกล เช่นเดียวกับการอภิปรายครั้งที่แล้วที่จะนำเรื่องที่ส.ส.พรรคก้าวไกลอภิปรายไปดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป การอภิปรายครั้งนี้แม้ไม่สำเร็จอย่างที่คาดหวังแต่ก็มีประโยชน์เพราะเป็นการควบคุมวาระของสังคมอย่างชัดเจน อย่างน้อยเมื่อยื่นซักฟอกไปตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดก็ลดลงและจะเห็นว่าตัวเลขฉีดวัคซีนก็เพิ่มไปเกือบจะถึงล้านในช่วงที่มีการอภิปราย แม้จะเป็นผักชีหน่อยก็ตาม

เมื่อถามว่า จากคะแนนที่พล.อ.ประยุทธ์ได้ ต้องพิจารณาตัวเองหรือไม่ นายพิธา กล่าวว่า แน่นอน นั้นคือสัญญานที่ส่งไปยังแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ในระยะยาวตนไม่อยากจะลงลึกแต่จะนำกลับไปวิเคราะห์ว่าจะมีผลต่อเสถียรภาพและความแตกแยกของรัฐบาลอย่างไร ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงความชอบทำและเสถียรของรัฐบาลในช่วงที่ประเทศวิกฤติอย่างนี้สิ่งที่ดีที่สุดคือยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินใจ

เมื่อถามจะดำเนินการอย่างไรกับงูเห่าของพรรคที่โหวตสวนเป็นประจำ นายพิธา ตอบว่า เราจะไม่ให้ในสิ่งที่เขาต้องการ ดองงู เรารู้อยู่แล้วว่าเขาต้องการอะไรถ้าเราไม่ให้ก็จบ ตราบใดที่ตนเป็นหัวหน้าพรรคเขาจะไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ประเด็นเหล่านี้จะนำไปประเมินในการคัดสรรเลือกใหม่ในการเลือกตั้งครั้งหน้า เลือกใหม่ที่ใหม่กว่าชัดกว่าโดนกว่า

สำหรับกรณีที่นายพิธา กล่าวอ้างว่า เมื่อยื่นซักฟอกไป ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดก็ลดลงและจะเห็นว่าตัวเลขฉีดวัคซีนก็เพิ่มไปเกือบจะถึงล้านในช่วงที่มีการอภิปราย โดยทางพรรคก้าวไกลยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา

หากย้อนดูจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นก่อนหน้าที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะพบว่าตัวเลขยังขึ้น ๆ ลง ๆ ในช่วง 19,000-20,000 กว่าราย แต่นับจากวันที่ 21 ส.ค. ตัวเลขลดลงต่อเนื่อง

โดยในการแถลงข่าวของ ศบค. เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมได้มีการเปรียบเทียบสถานการณ์ปัจจุบันกับแบบจำลองที่คาดการณ์ใน 3 กรณีคือ 1. ไม่มีมาตรการล็อกดาวน์ 2. ผลจากมาตรการล็อกดาวน์ ลดค่า R ได้ 20% และ 3. ผลจากมาตรการล็อกดาวน์ ลดค่า R ได้ 25% และฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยงได้ตามเป้าหมายพบว่าขณะนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่’ลดลงมาตามแนวโน้มของฉากทัศน์ที่ 3 แล้ว

นี่จึงอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ ศบค. มั่นใจว่าการล็อกดาวน์มีประสิทธิผลและสถานการณ์การระบาดดีขึ้น แต่เงื่อนไขในแบบจำลองนี้คือการล็อกดาวน์ 2 เดือน (ขณะนี้ผ่านไป 1 เดือนกว่า) ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อจะค่อยๆ ลดลง แต่จะสังเกตว่ายอดผู้ติดเชื้อจะยังไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นราย และมีโอกาสเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังผ่อนคลายมาตรการ ส่วน ‘จำนวนผู้เสียชีวิต’ ยังคงเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์

นอกจากนี้ ศักยภาพของระบบสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบ Home Isolation หรือในโรงพยาบาล เพราะเป้าหมายค่อนข้างชัดเจนว่าเพื่อควบคุมการระบาดไม่ให้จำนวนผู้ป่วยหนักเกินศักยภาพของระบบสาธารณสุข แต่ถ้ายังมีผู้ติดเชื้อคงค้างเหลือในชุมชนจำนวนมาก จะทำให้เกิดการระบาดจากฐานผู้ติดเชื้อหลักหมื่นรายขึ้นมาอีกครั้ง ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิผลอย่างครอบคลุมก็จะลดจำนวนผู้ป่วยหนักเช่นกัน และทั้งมาตรการระดับองค์กรที่จะต้องมีการเฝ้าระวังโรคด้วยการตรวจ ATK และการป้องกันโรคด้วยการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เช่น การระบายอากาศ ทั้งหมดนี้ควรนำมาสู่มาตรการควบคุมโรคตามระดับสถานการณ์และความเสี่ยงของกิจกรรม/กิจการ เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม และเมื่อการฉีดวัคซีนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

โดยในช่วงวันที่ 28 สิงหาคม 2564 ก่อนวันอภิปรายไม่ไว้วางใจ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานจำนวนผู้ได้รับวัคซีนโควิดประจำวัน รวม 915,738 โดส และวันที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ (31 สิงหาคม 2564) จำนวนผู้ได้รับวัคซีนโควิดประจำวัน รวม 817,342 โดส ซึ่งจำนวนมากฉีดในแต่วัน ก็อยู่ตามกรอบของเป้าหมายของรัฐบาลที่จะฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากร 50 ล้านคน หรือคิดเป็น 70% ของจำนวนประชากร ภายในสิ้นปี 2564 อยู่แล้ว