อากาศอบอุ่นไม่อาจเคลื่อนไปถึงทวีปแอนตาร์กติก ได้อย่างง่ายๆในอดีตที่ผ่านมา แต่ผลการศึกษาล่าสุดพบว่าขั้วโลกใต้ไม่ปลอดภัยจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศอีกต่อไปแล้ว เมื่อทุกกลุ่มศึกษาวิจัยต่างพบว่าอุณหภูมิสูงขึ้น และอัตราเร่งของการละลายเร็วขึ้น ในช่วง 25 ปี ละลายไปแล้ว 3.3 ล้านล้านตัน
ผลการศึกษาตีพิมพ์เมื่อวันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน 2563 เรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก พบว่าในช่วง 3 ศตวรรษ ภูมิภาคต่างๆทั่วโลกร้อนขึ้นเป็น 3 เท่า จากปี ค.ศ.1989 ถึง 2018 พบว่าอากาศร้อนขึ้นกว่าเมื่อ 30 ปีก่อน 0.61% ในแต่ละศตวรรษ ทีมงานนักวิทยาศาสตร์ทำการวิจัยสถิติ ภูมิอากาศจากสถานีตรวจวัด ภูมิอากาศระยะยาว
“ขั้วโลกใต้กำลังร้อนขึ้น” Kyle Clem, นักวิจัยปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยวิคตอเรีย แห่ง วิทยาลัยเวลลิงตัน ด้านภูมิศาสตร์, สิ่งแวดล้อม และธรณีวิทยา แจ้งแก่นักธรณีวิทยาเกี่ยวกับสภาพการน่าเป็นห่วงดังกล่าว
ก่อนหน้านี้ในช่วงต้นปี คณะนักวิทยาศาสตร์ได้เผยแพร่ผลการศึกษาใหม่ในวารสารวิทยาศาสตร์เนเจอร์ระบุว่า ช่วง 25 ปีตั้งแต่ปี 1992 จนถึงปี 2017 แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกใต้ที่เป็นดัชนีสำคัญในการบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ละลายไป 3 ล้านล้านตัน ซึ่งมากพอที่จะท่วมรัฐเทกซัสของสหรัฐสูงถึง 4 เมตร และทำให้มหาสมุทรทั่วโลกมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 3-10 นิ้ว นอกจากนี้ยังพบว่าแผ่นน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกใต้กำลังละลายเร็วกว่าเดิม โดยพบว่าละลายเร็วกว่าการศึกษาครั้งก่อนถึง 3 เท่า
การศึกษาครั้งนี้มีนักวิจัยเข้าร่วมมากถึง 88 คน ใช้ดาวเทียม 10-15 ดวงสังเกตแผ่นน้ำแข็งทั้งหมด 24 จุด ควบคู่ไปกับการคำนวณภาคพื้นดิน ทางอากาศ และการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์
ในกลุ่มที่ทำการศึกษาวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ได้ข้อสรุปตรงกันถึง ความเปลี่ยนแปลงด้วยอัตราเร่งของ การละลายน้ำแข็งของขั้งโลกใต้ มีแต่คำเตือนมาอย่างกระชั้นในแต่ละปี แต่ยังไม่มีคำตอบถึงการแก้ไขและการรับมือกับผลกระทบที่จะตามมากับมนุษยชาติทั้งโลกในอีกไม่นานนี้
………………………………………………….
Cr: earther.gizmodo