ความจริงถูกเปิด! หลุดเอกสารลับ “องค์การเภสัช” ร้องปปช. เครือข่ายแพทย์ชนบท ส่อทุจริต ล็อคสเปคชุดตรวจโควิด!
ล่าสุดในวันที่ 30 ส.ค.64 ทางด้านของ นายวิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ได้ทำหนังสือร้องเรียนต่อปราบปรามทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ในเรื่องพฤติกรรมของ นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ และ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ ซึ่งทั้งคู่อยู่ในเครือข่ายชมรมแพทย์ชนบท ในกรณีจัดหาชุดตรวจโควิด ประเภท ATK จำนวนกว่า 8.5 ล้านชุด ส่อไปในทางทุจริต
ต่อมาเมื่อทางด้านของ นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ และ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ ทราบเรื่องว่าจะไม่มีการเปิดซองของ standard Q ก็ได้ทำการข่มขู่ทางด้านกรรมการเปิดซองว่าไปตัดสิทธิผู้ค้ารายใหญ่ที่อยู่ใน List ที่ WHO รับรองไม่ได้ และต้องให้ บริษัทเอ็มพีกรุ๊ป เข้ามาสู่กระบวนการแข่งขันให้ได้ อีกทั้งยังได้ย้ำว่าหากเดินหน้าเปิดซองโดยไม่มี บริษัทเอ็มพีกรุ๊ป หรือ standard Q กรรมการเปิดซอง จะต้องรับผิดชอบ ส่งผลให้ทางด้านของกรรมการต้องยกเลิกการเปิดซองในครั้งนี้ไป
ต่อมาในวันที่ 29 ก.ค.64 ทางด้านของ นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ในฐานะประธานคณะทำงานกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ทำหนังสือเสนอต่อ เลขาธิการ สปสช. ให้จัดหาโดยวิธีเฉพาะเจาะจง คุณภาพผ่านการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และได้รับการรับรองมาตรฐานจาก WHO ในอัตราไม่เกิน 120 บาท/ชุด
ซึ่งจะเห็นพิรุธว่า นายเกรียงศักดิ์ เสนอเปลี่ยน spec ที่เลขาธิการ สปสช.แจ้ง รพ.ราชวิถี ไปว่า ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือได้รับการรับรองจาก WHO อีกทั้งยังประกอบกับราคา 120 บาท/ชุด ซึ่ง บริษัทเอ็มพีกรุ๊ป หรือ standard Q เสนอ 120 บาท และ บริษัท Abbott เสนอ 140 บาท/ชุด จึงเป็นการล็อค spec บริษัทเอ็มพีกรุ๊ป หรือ standard Q เข้ามาได้บริษัทเดียวเท่านั้น อีกทั้งยังได้มีการกำหนดให้มีการจัดส่งถึง 6 ล้านชุด ภายใน 3 วันหลังทำสัญญา ก็เป็นการล็อค spec เช่นกัน พร้อมกันนั้นยังได้ทำหนังสือเสนอให้เลขาธิการ สปสช.ลงนามในหนังสือดังกล่าว จึงเป็นการทำให้มีผลเปลี่ยน spec เป็นไปตามที่ นายเกรียงศักดิ์ ต้องการ
และเมื่อได้มีการเปรียบเทียบมาตรฐานของ WHO และ อย. ก็พบว่า มาตรฐาน อย.สูงกว่า WHO โดย WHO กำหนด sensitivity มากกว่าหรือเท่ากับ 80% ในขณะที่ อย.กำหนดอยู่ที่ 90% และ WHO กำหนด specificity มากกว่าหรือเท่ากับ 97% ในขณะที่ อย.กำหนด 98% จึงเห็นข้อพิรุธอย่างชัดเจนว่า การเพิ่มมาตรฐาน WHO เข้าไป ไม่ได้ทำให้คุณภาพเพิ่มขึ้น แต่เป็นการกัดกันผู้ประกอบการรายอื่นที่ไม่ได้ทำการขึ้นทะเบียนกับ WHO และล็อค spec ให้บริษัทเอ็มพีกรุ๊ป หรือ standard Q
ต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม 64 ได้มีการประชุมกันระหว่าง สปสช. และ องค์การเภสัช ถึงข้อสรุปเปิดซองในวันที่ 7 สิงหาคม 64 เพื่อขออนุมัติสั่งซื้อในวันที่ 9 สิงหาคม 64 โดยจะทำการส่งเรื่องไปในกองนิติกรรมสัญยาวันที่ 10 สิงหาคม 64 และเริ่มส่งมอง 2 สัปกาห์ หลังจากทำสัญญา หลังจากประชุมเสร็จในวันเดียวกันนั้นเอง นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ ได้ทราบว่าจะมีการจัดหาโดยใช้วิธีคัดเลือกอีกครั้งจึงได้โทรไปหา นายวิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ในเวลา 14.04 น. แต่ไม่สะดวกรับสายจึงได้โทรกลับไปในเวลา 18.08 น. และถูกนายอารักษ์ ข่มขู่ว่า “ถ้าเอาของจีนเข้ามาผมโวยวานแน่” และยังชี้เป้าว่า มี 2 เจ้า คือ Abbott และ standard Q ซึ่งน่าแปลกใจว่าทำไมต้องระบุ 2 ตัวนี้เท่านั้น ทั้งที่มีกว่า 20 ราย ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนจาก อย.
ต่อมาในวันที่ 7 สิงหาคม 64 วันเปิดซอง ได้มีบริษัทยื่นเสนอราคา 19 ราย ตรวจสอบแล้วผ่านคุณสมบัติ 16 ราย บริษัท เวิด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เสนอราคาต่ำที่สุด 65 บาท (ไม่รวม VAT) จึงเป็นผู้ชนะ
ทำให้ทางด้านของ นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ และ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ เกิดความไม่พอใจ พยายามจะเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอ็มพีกรุ๊ป หรือ standard Q โดยการให้ข่าวบิดเบือนโจมตีว่าองค์การเภสัช ลด spec ในการจัดหา และด้อยค่า Lepu ที่ประมูลได้ อย่างต่อเนื่อง
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการที่ องค์การเภสัชไม่ยอมเป็นเครื่องมือให้ นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ และ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ ในการล็อค spec แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีความเสียหายเป็นตัวเงินงบประมาณในการจัดซื้อจริง แต่มีความเสียหายในเรื่องความล่าช้าเป็นอย่างมาก ทำให้ประชาชนเสียโอกาสในการแยกตัวผู้ป่วยออกจากผู้ไม่ติดเชื้อ ส่งผลให้มีผู้เจ็บป่วยล้มตายมายิ่งขึ้น