งานนี้ไม่จบง่ายๆ!! บชน.ไม่ทน หวด “ลูกนัท” อย่าด่วนสรุปถูกแก๊สน้ำตา รอพิสูจน์ชัด ความจริงอาจฟ้องเอาผิดจนท.ไม่ได้!!

2322

สืบเนื่องจากกรณีที่นายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย หรือ ไฮโซลูกนัท ได้แถลงรายละเอียดเรื่องอาการบาดเจ็บ สรุปได้ว่าตาขวานั้นถูกยิง และในอนาคตหลังทำการรักษาเสร็จสิ้น ตาดวงนี้จะบอดสนิทลง โดยต่อมาในแถลงการณ์ยังได้ระบุถึงการเตรียมฟ้องร้อง หลายหน่วยงาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ที่เข้าสลายการชุมนุม พร้อมยังยืนยันในคลับเฮ้าส์ด้วยว่า ตนเองนั้นถูกแก๊สน้ำตาแน่นอน

ล่าสุดมีความคืบหน้าเกี่ยวกับประเด็นนี้ โดยที่บช.น. พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนะเจริญ รองโฆษกตร. เปิดเผย ระบุว่า กรณีนายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย หรือไฮโซลูกนัท ฟ้องร้องจากหน้าที่ตำรวจหลังได้รับบาดเจ็บ ว่าเป็นสิทธิของผู้ที่ได้รับผลกระทบที่จะดำเนินการตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการสืบสวนสอบสวนตามกระบวนการ โดยฝ่ายกฎหมายจะดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ส่วนทางด้านพล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผบช.น. โฆษกบช.น. กล่าวว่า ต้องรอผลการตรวจสอบจากแพทย์ที่รักษาก่อน ทางบช.น. มีความห่วงใยสุขภาพและการดำเนินคดีต้องทำการสืบสวนต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไร มีลักษณะคล้ายกับบาดแผลโดนหัวน็อตหรือไม่

ถ้าถูกยิงจากกระสุนแก๊สน้ำตา สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากอุปกรณ์ดังกล่าวจะมีความร้อน หรือจะต้องมีร่องรอยเผาไหม้ และมีสารเคมีจากแก๊สน้ำตาจำนวนมากอยู่บริเวณบาดแผล ส่วนที่ทางญาติยืนยันถูกยิงด้วยวิถีตรงนั้น ต้องมาประกอบนำข้อมูลการสอบสวน แต่การยิงแก๊สน้ำตาของตำรวจทุกครั้งเป็นการยิงวิถีโค้ง

หากสื่อมวลชนเคยเห็นบาดแผลของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่โดนหัวน็อตยิงใส่เข้าที่ศีรษะ จะพบว่าบาดแผลมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมเช่นเดียวกัน ดังนั้นตำรวจจึงต้องรอผลการรักษาและการรายงานบาดแผลจากแพทย์ ว่าจะสรุปว่าเป็นบาดแผลที่เกิดจากอะไร วัตถุลักษณะใด โดยสิ่งที่จะหลงเหลือจากบาดแผลที่เกิดจากแก๊สน้ำตาคือร่องรอยเผาไหม้ เนื่องจากแก๊สน้ำตาที่ยิงออกไปจะเกิดความร้อนจากการเผาไหม้ และจะต้องมีร่องรอยสารเคมีแก๊สน้ำตาจำนวนมากที่บาดแผลไม่ใช่เพียงแค่ละออง

หากครอบครัวไฮโซลูกนัทมีพยานหลักฐานหรือภาพกล้องวงจรปิดขณะเกิดเหตุเพิ่มเติม ก็สามารถนำมามอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อสืบสวนหาตัวผู้ก่อเหตุได้ กรณีครอบครัวจะยื่นฟ้องร้องเอาผิดเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น ก็ถือเป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่พนักงานสอบสวนก็จะรวบรวมพยานหลักฐานและสืบสวนสอบสวนโดยจะให้ฝ่ายกฎหมายดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

อย่างไรก็ตามการปฏิบัติงานควบคุมสถานการณ์การชุมนุมนั้น อยู่ภายใต้การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยมีข้อกำหนดบัญญัติไว้ในมาตรา 17 ระบุด้วยว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชกำหนดนี้ ไม่ต้องรับผิดทางแพ่งทางอาญาหรือทางวินัยเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริตไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิ์ผู้ได้รับความเสียหาย ที่จะเรียกร้องค่าเสียหาย จากทางราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่”