“นายกฯ” เคยตรวจสอบเบื้องหลัง “แพทย์ชนบท” หรือยัง ก่อนสั่งการหนุน ล้มชุดตรวจโควิด

2211

กระทุ้งเตือนสติ! “นายกฯ” เคยตรวจสอบเบื้องหลัง “แพทย์ชนบท” หลังหรือยัง ก่อนสั่งการหนุน ล้มชุดตรวจโควิด ATK!?

สืบเนื่องจากที่ องค์การเภสัชกรรม ได้แจ้งหนังสือถึงสื่อมวลชน ในเรื่องการลงนามสัญญาซื้อ ATK 8.5 ล้านชุด กับทางด้านบริษัทออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด ผู้ชนะการประมูล เนื่องจากว่าได้รับการยืนยันคุณภาพจากทางด้านของมาตรฐาน อย. แล้ว อีกทั้งยังได้ทำการตรวจสอบขบวนการจัดซื้อเป็นที่เรียบร้อย แต่ยังไม่มีการแจ้งวันเวลาในการเซ็นสัญญา

แม้ว่า องค์การเภสัชกรรม กับ แพทย์ชนบท จะไม่ลงลอยกันในเรื่องดังกล่าว ถึงขนาดที่ นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.สิชล และปรึกษาชมรมแพทย์ชนบท ได้เคลื่อนไหวโทรเข้าไปข่มขู่ นายแพทย์ วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ว่าจะโวยวาย หากตกลงสัญญาชุดตรวจโควิด ATK ของ Lepu จนกลายเป็นประเด็นสุดร้อนแรง และถูกจับตามองเป็นอย่างมา

ล่าสุดในวันที่ 17 ส.ค.64 นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการ ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 (ศปก.สธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ปัญหาในการดำเนินงานโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะประเด็นสำคัญ ได้แก่

ข้อ 6 การเร่งดำเนินการจัดหาชุดตรวจหาเชื้อโควิด – 19 แบบแอนติเจน (Antigen Test Kit:ATK) ที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีจำหน่ายในไทย มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) รวมทั้งต้องมีความแม่นยำในการตรวจเพื่อนำไปสู่การรักษาที่ทันท่วงทีและพร้อมจัดส่งให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด

ซึ่งจากข้อ 6 นี้เอง ที่ทำให้หลายคนต่างมองว่า การระบุ คุณสมบัติของชุดตรวจ ATK ของ พล.อ.ประยุทธ์ ว่าต้องผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) อาจจะทำให้ ชุดตรวจ ATK ของ Lepu ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูล ไม่สามารถไปต่อได้ เนื่องจาก ไม่ได้รับรองจาก WHO

ทั้งนี้ทางด้านของ ชมรมแพทย์ชนบท รีบออกแถลงการณ์ ขอบคุณนายกฯ ในคำสังการดังกล่าวในทันที ทำให้ประชาชนจำนวนมากเกิดข้อกังขาว่า นายกฯ เคยทราบหรือไม่ว่า แพทย์ชนบท เคลื่อนไหวในเรื่องนี้อย่างไร ใช้วิธีไหนในการบีบ อภ. ในทางลับ

และนายกฯ จะทราบหรือไม่ว่า แพทย์ชนบทยุคใหม่ ที่มี นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ ซึ่งเป็นประธานชมรมแพทย์ชนบท สนับสนุนการชุมนุม และ 10 ข้อเรียกร้องปรับปรุงสถาบันพระมหากษัตริย์ ของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม

อีกทั้งปัญหาที่ โรงพยาบาลสิชล ซึ่งมีที่ปรึกษาชมรมแพทย์ชนบท เป็น ผู้อำนวยการ เปิดรับดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่ กทม. ที่ตกค้างในระบบของสายด่วน 1330 ไม่สามารถหาหน่วยบริการมาดูแลได้ โดยเป็นการดูแลแบบ home isolation ก็ถูกร้องเรียนอย่างหนัก ว่าละทิ้งคนไข้ที่รับเข้าดูแล แต่มีการขอเบิกจ่ายจาก สปสช. เป็นจำนวนมาก

นายกฯ ควรที่จะตรวจสอบในเรื่องเหล่านี้ให้ละเอียดอีกครั้ง ก่อนที่จะเดินตามแนวทางของ แพทย์ชนบท ล้มการประมูล แค่เพียงเพราะไม่ถูกใจ ทีมแพทย์ชนบท อันนั้นก็ต้องตรวจสอบให้ละเอียดอีกครั้ง