ในที่สุดกรุงคาบูล เมืองหลวงอัฟกานิสถานก็แตกเร็วกว่าที่กองทัพมะกันคาดไว้ ล่าสุดประธานาธิบดีอัฟกาฯหนีออกนอกประเทศ กลุ่มตอลีบันยึดเบ็ดเสร็จเตรียมจัดตั้งรัฐบาลเปลี่ยนผ่าน ภาพประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเมื่อ 46 ปีที่ไซ่ง่อนเมืองหลวงของเวียดนามใต้แตก หลังสหรัฐฯพ่ายสงครามเวียดนาม วินาทีนักการทูตอเมริกันหนีตายเผาเอกสารทางการทูต หนีขึ้นเฮลิคอปเตอร์ชินุก ผ่าดงจรวดโจมตีทางอากาศ ปืนกลโจมตีทางอากาศ อพยพจากสถานทูตกรุงคาบูลไปยังสนามบินคาบูล อัฟกานิสถาน กู๊ดบายอเมริกัน ที่เป็นเรื่องจริงไม่ใช่หนังฮอลิวูด
Armed Taliban fighters have entered Afghanistan’s presidential palace in Kabul hours after President Ashraf Ghani fled the country.
🔴 LIVE updates: https://t.co/B5EwRybCpq pic.twitter.com/oPIGxxKT1V
— Al Jazeera English (@AJEnglish) August 15, 2021
ความหน้าซื่อใจคดของจักรวรรดินิยมอเมริกา ความเย่อหยิ่ง และการเสแสร้งทำเป็นห่วงใยประชาชนได้ถูกเปิดเผยให้โลกได้เห็นอีกครั้ง จากการละทิ้งอาฟกานิสถานที่ครอบงำมา 20 ปี เป็นความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมิรกาที่ได้พิสูจน์ว่า วิธีการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของอเมริกาด้วย ดอลลาร์และสงครามนั้นผิดซ้ำซาก และไม่ใช่คำตอบสำเร็จรูปที่ถูกต้องที่สุดสำหรับทุกปัญหาที่ประเทศต่างๆในโลกนี้เผชิญอยู่
วันนี้วันที่ 16 ส.ค.2564 กลุ่มตาลีบันบุกเข้ามาถึงเขตคาลากัน กาลาบัค และพัคมัน ซึ่งอยู่บริเวณชานกรุงคาบูลแล้ว ถือเป็นการบุกถึงเมืองหลวงครั้งแรกของกลุ่มตาลีบัน เร็วกว่าที่กองทัพสหรัฐฯคาดไว้ ทำให้ต้องเร่งอพยพเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐและประชาชนกันอลหม่น ตอลีบันให้สัญญาว่าจะไม่ทำร้ายประชาชน และเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางหากยอมจำนน และเข้าสู่กระบวนการถ่ายโอนอำนาจอย่างสันติ ก่อนหน้านี้ไม่กี่ชั่วโมง ภาพการอพยพเจ้าหน้าที่ สถานทูตสหรัฐฯและคนอเมริกันเหมือนวันไซง่อนแตก ได้เกิดขึ้นที่กรุงคาบูล ประหนึ่งประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ได้บอกอะไรกับสังคมโลก
ประการแรก สถานการณ์ที่เกิดขึ้นคล้ายกับการถอนทหารอเมริกันออกจากเวียดนามใต้ในปี 1975 ที่เรียกว่า การรุกตรุษญวน(Tet Offensive) เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดเกี่ยวกับความล้มเหลวของการแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาทั้งสองกรณี
ประการที่สอง สหรัฐฯ กำลังเผชิญกับความกลืนไม่เข้าคลายไม่ออกที่ใช้เวลา 20 ปีในการสร้างกองทัพอัฟกันอย่างล้มเหลว สหรัฐฯได้ใช้จ่ายอย่างน้อย 4 พันล้านดอลลาร์ต่อปีในกองทัพอัฟกัน หรือประมาณ 74,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐนับตั้งแต่เริ่มสงครามโค่นรัฐบาลตอลิบันในอดีต
ความจริงก็คือวอชิงตันปล่อยให้อัฟกานิสถานอยู่ในสภาพที่พังยับเยิน ซึ่งเกิดจากสงครามที่ยาวนานถึง 20 ปี และพิสูจน์ว่าวอชิงตันเป็น “หุ้นส่วนที่ไม่น่าเชื่อถือ” ที่ละทิ้งพันธมิตรเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ประเทศเหล่านั้นที่พึ่งพาสหรัฐฯ ในการรักษาความปลอดภัยควรเข้าใจธาตุแท้ของสหรัฐฯจากสถานการณ์ปัจจุบันในอัฟกานิสถานว่าสหรัฐฯ มักให้คำมั่นสัญญาเท็จและสนใจแต่ผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น
ลาตีฟ เพแดรม(Latif Pedram) หัวหน้าพรรคคองเกรสแห่งชาติ (NCP) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของอัฟกานิสถานกล่าวชัดเจนว่า “มรดกที่อัฟกานิสถานได้รับมาจากสหรัฐฯ คือความยากจน อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น การทำลายบริการทางสังคม การเพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในการแบ่งชนชั้น ช่องว่างความมั่งคั่ง การทำลายชนชั้นกลาง เครือข่ายมาเฟียเศรษฐกิจที่กว้างใหญ่ เศรษฐกิจใต้ดิน การเพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น การผลิตและการลักลอบขนยาเสพติด การติดยาเสพติดในหมู่เด็กกว่า 4 ล้านคน ผู้คน สงครามชาติพันธุ์ การล่มสลายของมูลค่าสินค้าและสินค้าโภคภัณฑ์ การเติบโตของวัฒนธรรมการทุจริต การฟอกเงิน และการหลอกลวง” และนี่กระมังคือสาเหตุที่แท้จริงของชัยชนะของตอลีบัน
Another Saigon moment: chaotic scenes at Kabul International Airport. No security. None. pic.twitter.com/6BuXqBTHWk
— Saad Mohseni (@saadmohseni) August 15, 2021
เมื่อ 46 ปีที่แล้ว สหรัฐทอดทิ้งเวียดนามใต้ จนทำให้กรุงไซ่ง่อนแตก จากนั้นเวียดนามเหนือได้เข้ายึดเวียดนามใต้ได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 1975
โดยก่อนที่ไซ่ง่อนจะถูกยึด มีการอพยพบุคลากรอเมริกันแทบทั้งหมด ทั้งพลเรือนและทหารออกจากไซ่ง่อน อีกทั้งยังอพยพพลเรือนเวียดนามใต้อีกหลายหมื่นคนที่ทำงานให้กับรัฐบาลเวียดนามใต้ออกจากกรุงไปด้วย การอพยพครั้งนั้นริเริ่มปฏิบัติการฟรีเควียนท์วินด์ (Operation Frequent Wind) ซึ่งเป็นการอพยพทางเฮลิคอปเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
ก่อนไซ่ง่อนจะแตก 9 วันคือ วันที่ 21 เมษายน 2518/1975ประธานาธิบดีของเวียดนามใต้ เหงียน วัน เถี่ยวได้แถลงการณ์ลาออกทางโทรทัศน์ทั้งน้ำตา พร้อมกับตำหนิสหรัฐฯ ที่ไม่ยอมมาช่วยเหลือเวียดนามใต้
ภาพเหตุการณ์ “ไซ่ง่อนแตก” กำลังเกิดขึ้นกับกรุงคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน เมื่อกลุ่มตอลีบันได้เข้ายึดเมืองสำคัญไว้หมดสิ้น ตั้งกองกำลังประชิดกรุงคาบูล ขณะที่สหรัฐได้อพยพชาวอเมริกันและทหาร รวมทั้งพันธมิตรออกจากอัฟกานิสถานอย่างเร่งด่วนไปแล้ว
ประธานาธิบดีอัชราฟ ฆานี ของอัฟกานิสถาน(Ashraf Ghani)กล่าวโทษสถานการณ์ความมั่นคงที่เสื่อมถอยอย่างรวดเร็วของอัฟกานิสถาน ว่าเป็นการตัดสินใจที่ “กะทันหัน” ของสหรัฐที่จะถอนทหารออกไป
ทั้งหมดนี้ อาจเป็นเพราะอัฟกานิสถานได้หมดความสำคัญสำหรับสหรัฐ เพราะโอซามา บิน ลาเดนได้ตายไปสิบกว่าปีแล้ว ทั้งอัลกออิดะฮ์และกลุ่มรัฐอิสลาม (IS) ก็อ่อนแอลงมากทั้งยังไปเคลื่อนไหวในย่านอื่นมากกว่า จึงไม่มีเหตุผลอะไรอีกที่สหรัฐจะรั้งตัวเองไว้ที่นี่ แม้พวกตอลิบานจะกุมอำนาจอีกครั้ง แต่ก็ไม่ใช่ภัยร้ายแรงเฉพาะหน้าอีก และยิ่งไม่ใช่เรื่องของสหรัฐอีกต่อไป
มาย้อนรอยภาพอดีตของสงครามเวียดนาม ที่กำลังซ้ำรอยที่กรุงคาบูลแห่งอัฟกานิสถาน ผลงานจักวรรดินิยมอเมริกาที่ธาตุแท้กี่ปีก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง
“สงครามเวียดนาม” เป็นสงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของมวลมนุษยชาติที่มีผลกระทบต่อชีวิตผู้คนจำนวนนับล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยระเบิดสารเคมีที่เรียกว่า “ฝนเหลือง” ทำให้กว่าเวียดนามจะฟื้นตัวได้นับกว่ายี่สิบปีหลังรวมชาติ เป็นความขัดแย้งครั้งสำคัญในโลกยุคสงครามเย็น สงครามครั้งนี้ยังเป็นการยุทธ์แบบสงครามสมัยใหม่ที่เป็นต้นกำเนิดของยุทธวิธีทางการทหารที่สำคัญหลายยุทธวิธี เช่น การใช้เฮลิคอปเตอร์ การทิ้งระเบิดทางอากาศหนุนภาคพื้นดิน นอกจากนี้สงครามเวียดนามยังเป็นการต่อสู้ระหว่างเทคโนโลยีขั้นสูงสุดของสหรัฐอเมริกาในยุคนั้น กับภูมิปัญญาชาวบ้านของเวียดนามเหนือ เป็นการต่อสู้ระหว่างความเชี่ยวชาญและความเป็นมืออาชีพของกองทัพสหรัฐฯ กับความมุ่งมั่น ศรัทธาและความเด็ดเดี่ยวของทหารฝ่ายคอมมิวนิสต์ร่วมกับประชาชนผู้รักชาติ “ในนามสงครามขับไล่จักรวรรดินิยม”
สงครามตัวแทนในเวียดนามเกิดขึ้นจากการเรียกร้อง เอกราชของขบวนการชาตินิยมเวียดมินห์ ต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมเดิมคือ ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้ที่เดียนเบียนฟูและถอนตัว สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาแทนที่และสนับสนุนเวียดนามใต้ ความขัดแย้งจึงกลายเป็นสงครามตัวแทนในช่วงสงครามเย็น ระหว่างกองกำลังเวียดนามใต้นิยมระบอบประชาธิปไตยที่มีสหรัฐสนับสนุน กับกองกำลังเวียดนามเหนือนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตหนุนหลัง
สหรัฐและพันธมิตรในองค์การซีโต (SEATO) ได้ระดมความร่วมมือทางทหารเข้าไปรบในเวียดนาม แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะในสายตาของคนเวียดนามผู้รักชาติมองว่า เป็นสงครามขับไล่จักรวรรดินิยมอเมริกาผู้รุกราน ส่วนใหญ่เวียดนามเหนือและเวียดกงรบแบบจรยุทธ์ ที่ใช้ยุทธวิธี “มึงมาข้ามุด-มึงหยุดข้าแหย่-มึงแย่ข้าตี-มึงหนีข้าตาม” มีการลอบวางระเบิดและซุ่มโจมตี ทำให้ทหารเวียดนามใต้และทหารนาวิกโยธินสหรัฐเสียชีวิตจำนวนมาก จึงใช้การปราบปรามอย่างรุนแรง เช่น ยิงทิ้งผู้ที่คาดว่าเป็นเวียดกง การเผาทำลายหมู่บ้านที่โด่งดังสะเทือนขวัญก้องโลกเช่น “การสังหารหมู่ที่หมู่บ้านไมไล” ตลอดจนการทิ้งระเบิดนาปาล์มปูพรมตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ เช่น เมืองท่าและชายแดนเวียดนาม-กัมพูชา เพื่อตัดเส้นทางการลำเลียง ทหารและอาวุธ จากเวียดนามเหนือสู่เวียดนามใต้ผ่านทางกัมพูชา ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตพลเรือนจำนวนนับล้าน ส่งผลให้ทั่วโลกประนามการกระทำของสหรัฐ
แม้ CIA ของสหรัฐจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติเปลี่ยนผู้นำรัฐบาลเวียดนามใต้บ่อยครั้ง แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาการคอรัปชั่นในรัฐบาลหุ่นที่ตั้งขึ้นได้ การรบในเวียดนามทำให้สหรัฐสูญเสียทหารจำนวนมาก เพราะไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศ และมีความกดดันจากการเผชิญกับเวียดกงที่รบในประเทศตนเอง ยากต่อการเอาชนะ คนหนุ่มสาวในสหรัฐได้เดินขบวนเรียกร้องสันติภาพทั่วประเทศ เรียกร้องให้ถอนทหารจาก สงครามเวียดนาม เมื่อมีการเลือกตั้ง นิกสันซึ่งเสนอนโยบายถอนทหารสหรัฐออกจากเวียดนาม และลดบทบาททางทหารทั่วโลกได้รับชัยชนะการเลือกตั้งเป็น ประธานาธิบดีคนต่อมา นิกสันได้เจรจากับจีน สนับสนุนนโยบายจีนเดียวแลกกับการให้จีนยอมรับการถอนทหารจากเวียดนามตั้งแต่ ค.ศ. 1973 หลังจากนั้นสหรัฐได้ตกลงถอนทหารจนสิ้นสุดในเดือนเมษายน 1975 กองทัพเวียดนามเหนือเข้ายึดครองไซง่อนได้ การรวมชาติสำเร็จและได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น โฮชิมินห์ซิตี้นับแต่นั้นเป็นต้นมา