“ปราชญ์ สามสี” เบิกเนตร “คณะราษเปซ” ไม่ศึกษาประวัติศาสตร์ โยงมั่ว “พระสยามเทวธิราช” เป็นผี? 

4698

“ปราชญ์ สามสี” เบิกเนตร “คณะราษเปซ” ไม่ศึกษาประวัติศาสตร์ โยงมั่ว “พระสยามเทวธิราช” เป็นผี?

จากกรณีที่ #คณะราษเปซ ที่กำลังเป็นที่ฮือฮาและร้อนแรงที่สุดในโลกทวิต เมื่อชาวทวิตเตอร์พากันติดแฮชแท็กพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสายมูเตลูในสเปซจนติดเทรนอันดับ 1 ตั้งแต่เมื่อคืนนี้ โดยมีการพูดถึงเรื่องของพระสยามเทวาธิราชและวัดพระแก้ว ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก 

ล่าสุดทางด้าน ปราชญ์ สามสี  ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุข้อความว่า เห็นเพจราษฎรสเปชเล่าประวัติศาสตร์ได้ น่าปวดหัวมาก โยงพระสยามเทวธิราช เป็น “ผี” เพียงเพราะไปเห็นภาพ พระสยามเทวธิราช ที่มีรูปร่างคล้ายรัชกาลที่ ๔ เลยทึกทักไปเองว่า “เป็นลัทธินับถือผีสาง” นับเป็นเรื่องตลกของคนที่ไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์ อะไรเลย (คือถ้าคิดแบบนั้นจริงๆ คนที่นับถือ พระเยซูคริสต์ และ พระเจ้าสิทธัตถะ คงถูกกล่าวหาในกรณีเดียวกันแน่ๆ ไอ้ที่หนักกว่า คือ รูปปั้นเลนิน รูปปั้นเทพจอร์จ วอชิงตัน ก็คงตกอยู่ในสถานะไม่ต่างกัน เพราะเป็นรูปเคารพทางการเมืองการปกครอง )

ก่อนอื่นนั้น ก็ต้องเท้าความกันถึงราชประเพณีในสยามกันก่อน คือตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์นั้น ผู้คนในสังคมสมัยนั้น มีทั้งที่นับถือพรหมซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชนชั้นกษัตริย์ ชาวบ้านส่วนมากนับถือพุทธ นับถือผี รองลงมาก็มุสลิมและ คริสต์ตามลำดับ เรียกได้ว่ามีความหลากหลายมาก เพียงแต่ว่าจะมีความเชื่อในเรื่องพื้นบ้านบางเรื่องร่วมกันอยู่คือ เรื่องการสร้างรูปเสมือนตัวจริงเพื่อเป็นที่ระลึกนั้นเป็นเรื่องไม่ควรทำ เพราะเชื่อว่าจะเป็นตัดอายุบุคคลต้นรูปตัวจริง นอกเสียจากจะเป็นรูปเคารพศาสดาทางศาสนา เช่น รูปเคารพของพระพุทธเจ้าที่มาตั้งแต่ สมัยสุโขทัยแล้ว จึงทำให้เราจะไม่เคยที่จะเห็นรูปปั้นเสมือนจริงในยุคสมัยก่อนยุครัตนโกสินทร์เลย แม้แต่พระเจ้าตากสิน(รูปปั้นอนุเสาวรีย์ของบุคคลสำคัญก่อนยุครัตนโกสินทร์ มักจะถูกสร้างขึ้นมาทีหลังแทบทั้งนั้น ) จะมีใกล้เคียงที่สุดก็คือภาพวาด (พระบรมสาทิสลักษณ์)แต่ภาพวาดก็มีอายุไม่ยืนยาว โดนแดดโดนลมก็ซีดเสียหาย อีกทั้งวัฒนธรรมของสยามนั้นไม่ถนัดวาดpotrait แบบฝรั่ง
แต่เพราะคนสมัยก่อนต้องการจดจำพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รัก แต่ในสมัยนั้นไม่มีกล้องถ่ายรูปจึงต้องทำเป็น รูปปั้นแบบแกะสลักไม้แบบเสมือนจริง ( Memorial Statue) และเพื่อมิให้เป็นที่ ครหาจึงได้ทำเป็นพระพุทธรูป ที่มีใบหน้า เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาลนั่นเอง
เขาจึงเรียกว่า “พระต้นรูป” และนำเอาไปประดิษฐานที่ “ปราสาทพระเทพบิดร” (ไม่ใช่วัด) อันเป็นสถานที่รวบรวม ความทรงจำขององค์บูรพกษัตริย์ ทุกรัชกาลนั่นเอง จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่สมัย ร.๑-ร.๓ นั้นก็มีการจัดสร้าง พระต้นรูปแบบนี้มาโดยตลอด จนกระทั่ง สมัยรัชกาลที่๔ ซึ่งมีปัจจัยแห่งวิวัฒนาการทางศิลปะสองอย่างคือ การเข้ามาของรูปปั้นโลหะแบบฝรั่ง และ การเข้ามาของกล้องถ่ายรูปฟิล์มกระจกนั่นเอง ส่งผลให้ความนิยมในการสร้างพระต้นรูป แบบเก่านั้นเบาบางลง แต่มีทดแทนด้วยรูปปั้นโลหะแบบฝรั่งนั้นเอง ในสมัยรัชกาลที่๔ พระองค์ทรงมีพระบรมรูปฯเป็นโลหะครั้งแรก ฝีมือนายซาตรูส หล่อด้วยโลหะสำริด (ปัจจุบันอยู่ ณ พระที่นั่งราขกรัณยสภา ในพระบรมมหาราชวัง ) ซึ่งหน้าตาไม่ค่อยเหมือนเท่าไร
แต่รัชกาลที่ ๔ ก็มีพระต้นรูปไม้อยู่ที่ปราสาทพระเทพบิดร เช่นกัน แต่แตกต่างอยู่บ้างตรงที่ พระต้นรูปนี้ทรงเครื่องฉลองพระองค์กษัตริย์สมัยใหม่ แตกต่างจากพระต้นรูปเดิม ที่จะทรงเครื่องฉลองพระองค์ครุยทองคำแล่งแบบกษัตริย์โบราณ ครั้นในสมัยรัชกาลที่๕ พระองค์โปรดที่จะมีพระบรมรูปแบบฝรั่งมากกว่าแบบดั้งเดิม เนื่องจากกุศโลบายที่จะวิวัฒน์สยามให้ไม่แปลกแยกจากตะวันตก พระองค์ทรงสร้างวัดนิเวศธรรมประวัติในรูปแบบโกธิคเรเนซอง เพื่อส่งเสริมทัศนคติที่กว้างไกลผ่านความงามในสายตาของพระองค์ แต่ก็มิได้ทอดทิ้งศิลปะไทยเดิมเสียทีเดียว ร.๕ทรงจัดสร้าง พระสยามเทวาธิราช ซึ่งมีส่วนหน้าคล้ายรัชกาลที่๔ ภายในมีจารึกเป็นอักษรจีน ความว่า “สถิตแห่งพระสยามเทวาธิราช” จึงเป็นเหมือนพระต้นรูปประเภทหนึ่ง(memorial statue) ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป็นที่ระลึกถึงคุณงามความดีขององค์บรรพชน และบูรพกษัตริย์เจ้าในอดีต เสมือนเป็นเทพปกปักรักษาบ้านเมือง
พระสยามเทวาธิราชองค์นี้ มิได้เป็นให้ชมเป็นสาธารณะทั่วไป แต่เป็นของส่วนพระองค์ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ห้องบรรทมของ ร.๕ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ปัจจุบัน ก็มีการทำสืบสานศิลปะการทำพระต้นรูปเช่นนี้อยู่ ยกตัวอย่างเช่น งานประติมากรรมพระนารายณ์ที่มีใบหน้า ของ รัชกาลที่๙ ฝีมือช่างสิบหมู่ ซึ่งนำไปประดับพระเมรุมาศตอนที่พระองค์สวรรคต ดังนั้นหากใครจะตีความอย่างตื้นเขินว่า “จิตวิญญานที่ดีงามของบรรพชน” แปลว่า “ผี”
คงไม่เคยเห็นความดีในตนเองและไม่มีทางเข้าใจจิตวิญญานของชาติอย่างถ่องแท้ ซักวันนึงเราก็ต้องตายกลายเป็นบรรพชน. หากเอาแต่เหยียบย่ำบรรพชน ก็ไม่ต่างจากเหยียบย่ำจิตวิญญานตนเอง
ป. สามสี
(รู้หรือไม่) พระสยามเทวาธิราช ไม่เคยมีชื่อเรียกว่า พระไทยเทวาธิราช และไม่มีวันเป็นแบบนั้นด้วย