“ปิยบุตร” ปากซ่า ปล่อยข้อมูลบิดเบือน “นายกฯพระราชทาน” โยงมั่วใส่ความ “สถาบันฯ” ควบคุมการเมือง

1656

เฟคนิวส์อีกแล้ว!? “ปิยบุตร” ปากซ่า ปล่อยข้อมูลบิดเบือน “นายกฯพระราชทาน” โยงมั่วใส่ความ “สถาบันฯ” ควบคุมการเมือง!?

ถือว่ากำลังเป็นกระแสข่าวลือ ที่พูดกันเป็นวงกว้างถึง “นายกฯ พระราชทาน” ซึ่งทางด้านของขบวนการสามกีบได้ ติดแฮ็ทแทคดังกล่าว เพื่อเชื่อมโยงในการกล่าวพาดพิง จาบจ้วงสถาบันฯ

โดยล่าสุดทางด้านของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้โพสต์ข้อความในหัวข้อเรื่องว่า การติดตั้ง “นายกฯ พระราชทาน” ไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 โดยมีรายละเอียดว่า

กระแสเทรนด์แฮชแท็ก #ไม่เอานายกพระราชทาน ในทวิตเตอร์ล่าสุดสะท้อนถึงความต้องการของเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สนใจการเมืองและสนับสนุนข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ว่าพวกเขายึดมั่นหลักการมากกว่าตัวบุคคล ต่อให้ พล.อ.ประยุทธ์ออกไป และได้คนที่พวกเขาชื่นชอบมาเป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่เป็นไปตามครรลองของระบบแล้ว พวกเขาก็ไม่สนับสนุนอยู่ดี

นอกจากนั้นยังสะท้อนถึงข้อเรียกร้องเรื่องระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ใต้รัฐธรรมนูญหรือที่เรียกกันว่า Constitutional-Parliamentary Monarchy ด้วย เยาวชนคนรุ่นใหม่ต้องการให้สถานะและบทบาทของพระมหากษัตริย์ คือ ประมุขของรัฐ และอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แบบที่ประเทศอื่นๆ เป็นกัน กล่าวคือพระมหากษัตริย์ต้องมีสถานะเป็นกลางทางการเมือง เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาติ เพื่อให้พระมหากษัตริย์มีสถานะเช่นนี้ได้ พระมหากษัตริย์จึงต้องไม่มีบทบาทในทางการเมือง ไม่แทรกแซงทางการเมือง การเลือกบุคคลมาเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมาจากประชาชนหรือผู้แทนประชาชน ซึ่งในระบบรัฐสภานั้น พระมหากษัตริย์จะทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามที่สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบเท่านั้น

เรื่อง “นายกรัฐมนตรีพระราชทาน” เป็นปมปัญหาของการเมืองไทยมาโดยตลอด เมื่อไรก็ตามที่มีวิกฤต ไม่ว่าวิกฤตนั้นจะเกิดขึ้นเองหรือสมคบคิดสร้างขึ้นมา ก็จะมีกระแสเรียกร้อง “นายกรัฐมนตรีพระราชทาน” ทุกครั้งไป ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย และหลักการกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ

ในระยะหลัง เมื่อมีการทำรัฐธรรมนูญใหม่ทีไร ก็จะมีข้อเสนอให้เขียนรัฐธรรมนูญ เพื่อยอมให้มี “นายกฯ คนกลาง” บ้าง “นายกฯ คนนอก” บ้าง โดยเฉพาะหากเกิดกรณีวิกฤตหรือทางตัน จะได้หยิบมาตรานี้มาใช้ โดยไม่ต้องขวยเขินว่าขัดรัฐธรรมนูญอีกต่อไป

ตอนใช้รัฐธรรมนูญ 40 ก็มีการเสนอให้ตีความมาตรา 7 เพื่อมี “นายกฯ พระราชทาน” ผ่าน “ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”
ตอนทำรัฐธรรมนูญ 50 ก็มีข้อเสนอใน สสร. ตอนนั้นว่าต้องมีมาตราที่เปิดทางให้มีองค์กรอรหันต์มาแก้วิกฤตการเมือง แต่เรื่องนี้ตกไป
ต่อมาในช่วง กปปส. ชุมนุม ก็มีการอธิบายให้ระบบถึงทางตัน เพื่อนำไปสู่ “นายกฯ พระราชทาน”

พอมารัฐธรรมนูญ 2560 คราวนี้ไปกันใหญ่ พวกเขาคงทราบดีว่าในอนาคตถ้าหากต้องการเสนอ “นายกฯ พระราชทาน” กันอีก ก็จะถูกโต้แย้งเรื่องขัดรัฐธรรมนูญบ้าง ขัดหลักการบ้าง อย่ากระนั้นเลย พวกเขาจึงบรรจุเข้าไปในรัฐธรรมนูญเสียเลย ในมาตรา 272 วรรคสอง เปิดทางให้มีนายกรัฐมนตรีนอกบัญชีได้
นี่คือ การติดตั้ง “นายกฯ พระราชทาน” เข้าไปในรัฐธรรมนูญ
นี่คือ Constitutionalisation of Royal Prime Minister

ทำไมผมถึงพูดเช่นนี้?

ถ้าเราลองอ่าน 272 วรรคสอง
“ในระหว่างเวลาตามวรรคหนึ่ง หากมีกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภาขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 หรือไม่ก็ได้”

จะเห็นได้ว่า ต้องลงคะแนนกันถึงสามรอบ
รอบแรก กึ่งหนึ่งของสองสภา เพื่อเสนอเรื่อง
รอบสอง สองในสามของสองสภา เพื่อมีมติอนุญาตให้ยกเว้นการเลือกนายกฯ จากบัญชี
รอบสาม กึ่งหนึ่งของสองสภา เพื่อมีมติเลือก “คนนอก” เป็นนายกรัฐมนตรี

ลองคิดดูว่าจะมีปัจจัยใดที่ส่งผลบังคับให้ทั้ง ส.ส. ทั้ง ส.ว. สมัครสมานลงคะแนนไปในทิศทางเดียวกันที่มากขนาดนี้ถึงสามรอบ
ด้งนั้น ผมจึงยืนยันว่านายกรัฐมนตรีที่มาจากช่องทางตามมาตรา 272 วรรคสอง ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีตามระบบแน่ๆ
ใครก็ตามที่ยืนยันว่า ไม่เอา “นายกฯ พระราชทาน” ก็ต้องยืนยันต่อไปด้วยว่า ไม่เอา “นายกฯ ตาม 272 วรรคสอง”