โลกสุดทน-ผู้แทน 55 ประเทศส่งจดหมายถึง WHO!?! คัดค้านใช้โควิด-19 ทำลายทางการเมือง พุ่งเป้าจีนฝ่ายเดียว

1452

รวม 55 ประเทศแล้ว ที่ได้ลงนามจดหมายร่วม ถึงผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับร่วมกันคัดค้าน การทำให้การศึกษาต้นกำเนิดของ COVID-19เป็นประเด็นทางการเมืองทำลายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงข่าวเมื่อวันอังคาร สะท้อนถึงการสนับสนุนความยุติธรรมจากสาธารณชนในระดับสากล เกิดขึ้นแล้ว ประสานกับการคัดค้านของประชาชนจีนต่อความอยุติธรรมและอคติที่สหรัฐกระทำต่อประเทศจีน

เมื่อวันอังคารที่ 20 ก.ค.2564จ้าว ลี่เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวในการบรรยายสรุปกับสื่อมวลชนว่า จากการที่ 48 ประเทศทำจดหมายร่วมกันได้มีเพิ่มอีก 7 ประเทศรวมถึงเกรเนดา คิริบาส และหมู่เกาะโซโลมอนได้ร่วมส่งจดหมายถึง WHO เพื่อคัดค้านการทำให้ประเด็นเรื่องต้นกำเนิดของโควิด-19 กลายเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง ทำให้ยอดรวมประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกรวมคัดค้านเป็น 55 ประเทศแล้ว

ก่อนหน้านี้ เมื่อสัปดาห์ก่อน 44 ประเทศได้ยื่นหนังสือร่วมถึง ผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO เกี่ยวกับการศึกษาต้นกำเนิดของไวรัส นอกจากนี้ อีกสี่ประเทศยังได้ส่งจดหมายแยกต่างหากเกี่ยวกับประเด็นเดียวกัน

ในจดหมาย ทั้งสองประเทศยินดีต่อรายงานการศึกษาต้นกำเนิดของ SARS-CoV-2 ที่จัดขึ้นโดย WHO พวกเขาเน้นว่าการศึกษาต้นกำเนิดเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์และคัดค้านรูปแบบใด ๆ ของการพยายามทำให้เป็นการเมือง

 

ประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกรัสเซีย เบลารุส ปากีสถาน ศรีลังกา กัมพูชา อิหร่าน และประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศได้แสดงความเห็นเพื่อยืนหยัดในความยุติธรรม พวกเขาเน้นย้ำว่าการติดตามไวรัสเป็นงานทางวิทยาศาสตร์และไม่ควรทำให้เป็นเรื่องการเมือง จ้าว กล่าวเสริมว่ารายงานการศึกษาร่วมระหว่างจีนกับ WHO ที่เผยแพร่ในเดือนมีนาคมควรได้รับการสนับสนุน 

เขากล่าวเสริมว่าประเทศต่างๆ มีจำนวนมากขึ้นกำลังพูดด้วยเสียงอันท่วมท้นเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม ซึ่งตรงกันข้ามกับการบิดเบือนทางการเมือง การต่อต้านวิทยาศาสตร์ และการบิดเบือนข้อเท็จจริงที่ดำเนินการโดยบางประเทศก็คงหมายถึงสหรัฐฯนั่นเอง

จ้าวเสริมว่าสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าประชาคมระหว่างประเทศยืนหยัดในความจริง และประเทศอื่น ๆ ควรหยุดใช้ประโยชน์จากการระบาดใหญ่และบ่อนทำลายความร่วมมือระหว่างประเทศ

การที่ผู้อำนวยการทั่วไปของ WHO นายทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส(Tedros Adhanom Ghebreyesus) ได้เสนอให้มีการตรวจสอบครั้งที่สองเกี่ยวกับต้นตอโควิด-19 ในจีน นักวิทยาศาสตร์ชาวตะวันตกที่ใกล้ชิดกับทีมร่วมขององค์กรอนามัยโลกและจีน (WHO-China) กล่าวว่าเหตุผลที่ ผู้อำนวยการWHO เสนอตรวจสอบต้นกำเนิดไวรัสในจีนระยะที่สองนั้น เป็นเพราะแรงกดดันทางการเมืองเกี่ยวกับประเด็นการรั่วไหลของห้องปฏิบัติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำเปิดประเด็น

แต่ไม่ใช่แค่ชุมชนนานาชาติที่ต่อต้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอาวุธเคมีเท่านั้นชาวเน็ตชาวจีนได้ลงนามในจดหมายร่วมเรียกร้องให้ WHO ควรตรวจสอบห้องปฏิบัติการ ฟอร์ทเดทริค(Fort Detrick) ของสหรัฐฯ เกี่ยวกับต้นกำเนิดของ COVID-19 สำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอาวุธชีวิภาพ จดหมายดังกล่าวได้สร้างลายเซ็นเพิ่มมากกว่า 3 ล้านลายเซ็นในบ่ายวันอังคารที่ 20 ก.ค.2564