ธนาคารธิสโก้ประกาศช่วยลูกหนี้ฝ่าโควิด!?!ผุดโครงการ ‘คืนรถจบหนี้’ ผ่อนรถไม่ไหวคืนได้ ไม่ฟ้องไม่เก็บส่วนต่าง เช็คคุณสมบัตรสมัครให้ไวเลย!!

1579

ด้วยผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ทุกหน่วยผลิต และประชาชนต่างไม่สามารถดำเนินธุรกิจหรือประกอบอาชีพได้ตามปกติ และกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวธนาคารทิสโก้ได้ออก “มาตรการคืนรถจบหนี้” มีเงื่อนไขที่ดีที่ประชาชนน่าจะให้การต้อนรับ

โดยหากรถยนต์ที่ธนาคารได้รับคืนประมูลขายได้ราคาต่ำกว่าภาระหนี้คงค้าง ธนาคารจะยกหนี้ส่วนที่เหลือและปิดบัญชีให้แก่ลูกค้า โดยไม่มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการขายหรือเรียกเก็บส่วนต่างใดๆ อีก รวมถึงรายงานข้อมูลเครดิตด้วยสถานะปิดบัญชี ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ให้ลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการนี้ได้ลดภาระหนี้สิน และไม่มีประวัติค้างชำระหนี้ซึ่งเกิดจากขายรถได้ต่ำกว่าภาระหนี้คงค้าง เมื่อผ่านพ้นภาวะวิกฤตยังมีโอกาสยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินต่างๆ ได้

เงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้ขอรับมาตรการฯ

1.เป็นลูกค้าสินเชื่อเช่าซื้อหรือสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ (จำนำทะเบียนรถยนต์) เป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยมีรายได้ลดลงและไม่สามารถชำระค่างวดตามสัญญาเดิมได้ในระยะยาว (โดยลูกค้าต้องแสดงหลักฐาน / ข้อมูลว่าเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ) 

2.รถยนต์ยังอยู่ในสภาพเรียบร้อย และสามารถใช้งานได้ตามปกติ 

3.มีประวัติผ่อนชำระค่างวดตามสัญญามาแล้วไม่น้อยกว่า 12 งวด ณ วันที่ 1 มี.ค. 2563

4.ต้องมีสถานะบัญชีไม่ค้างชำระ หรือค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยไม่เกินกว่า 90 วัน นับแต่วันครบกำหนดชำระ

การพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกค้าแต่ละรายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด โดยธนาคารจะพิจารณาจากผลกระทบที่ลูกค้าได้รับ รวมทั้งข้อมูล เอกสารประกอบที่ลูกค้านำส่ง

ขั้นตอนการดำเนินการ ทำดังนี้: 

1.ลูกค้าเตรียมหลักฐาน  ข้อมูลเพื่อแสดงว่าลูกค้าเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

2.ลูกค้าดำเนินการลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอรับมาตรการช่วยเหลือโครงการ “คืนรถจบหนี้” โดยกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารให้ครบถ้วน 

3.เจ้าหน้าที่ธนาคารจะติดต่อกลับเพื่อสอบถามรายละเอียด และให้คำแนะนำในการนำส่งเอกสารประกอบการขอพิจารณาอนุมัติลูกค้าจัดส่งหลักฐาน ข้อมูลว่าเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ ภาพถ่ายสภาพรถยนต์ และเอกสารอื่นๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ธนาคารแจ้งมายังธนาคารธนาคารแจ้งผลการพิจารณาเข้าร่วมมาตรการ และนัดหมายวัน เวลา และสถานที่ที่นำทรัพย์สินมาคืน (กรณีได้รับการอนุมัติ) โดยวันนัดส่งมอบรถยนต์คืนต้องไม่เกินระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ลูกค้าได้รับทราบผลการอนุมัติ

กรณีรถยนต์ที่ส่งมอบไม่อยู่ในสภาพเรียบร้อยใช้งานได้ตามปกติ หรือมีการถอดอุปกรณ์ส่วนควบออกจากทรัพย์สิน ธนาคารขอสงวนสิทธิในการยกเลิกผลการอนุมัติดังกล่าวลูกค้า ซึ่งได้แก่ ผู้เช่าซื้อ ผู้กู้ หรือ กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (กรณีนิติบุคคล) ตามสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเงินกู้เท่านั้น นำรถยนต์มาส่งมอบคืนตามวันและเวลาที่ได้นัดหมายไว้

หลังจากประมูลขายรถยนต์เสร็จสิ้นธนาคารจะมีหนังสือแจ้งปิดบัญชีให้ลูกค้าทราบ หากมูลค่ารถยนต์ที่ขายได้สูงกว่าภาระหนี้คงค้างที่ลูกค้ามีกับธนาคาร ธนาคารจะมีหนังสือแจ้งให้ลูกค้ารับทราบเพื่อนำเงินส่วนที่เกินภาระหนี้คืนให้แก่ลูกค้า กำหนดระยะเวลาลงทะเบียนตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 กันยายน 2564

กรณีของทิสโก้นี้นับเป็นตัวอย่าง แนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เป็นธรรม และให้ความช่วยเหลือลูกหนี้มากกว่าเงื่อนไขที่ได้ทำไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยของเดิมในการคืนรถ หากมีภาระหนี้คงเหลือจากการขายประมูล ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถช่วยลดภาระหนี้ให้สอดคล้องกับสถานะของลูกหนี้ แต่ทางทิสโก้ให้ 2 เงื่อนไข หากขายรถได้ต่ำกว่าหนี้คงเหลือ แบงก์จะยกประโยชน์ส่วนต่างและปิดบัญชีให้ลูกหนี้ ถือว่าเป็นลูกค้าปกติ หากขายรถได้ในราคาสูงกว่ามูลหนี้จะคืนส่วนเกินกว่าหนี้คงเหลือให้ลูกหนี้

ช่วงเวลานี้เป็นการวัดใจว่าสถาบันการเงินจะตัดสินใจแก้ปัญหาให้ลูกหนี้ด้วยวิธีการใด ที่ผ่านมา สถาบันการเงินส่วนใหญ่แล้วมักคำนึงถึงรายได้เป็นสำคัญ อะไรที่กระทบต่อรายได้เป็นสิ่งที่พยายามหลีกเลี่ยง กรณียึดรถยึดบ้านไปขายทอดตลาดแล้วยังต้องเป็นหนี้ซ้ำซากก็เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย

คงต้องติดตามกันต่อไปว่า ความหวังดีและมาตรการดีๆที่รัฐบาลออกมา จะทำได้จริงแค่ไหน เพราะท้ายที่สุดอำนาจการชี้เป็นชี้ตายก็ยังอยู่ในมือของธนาคารและสถาบันการเงินเอกชนซึ่งถือผลกำไรสูงสุดและไม่เคยยอมเสี่ยงมาโดยตลอด??