ภาครัฐ เตรียมช่วยเหลือคนเป็นหนี้ ปี 64 นี้ จัดการรูปแบบถาวร

5343

ภาครัฐแตรียมช่วยเหลือเข้มหนี้นอกระบบ เคลมแก้ไข้ได้แล้วมากกว่า 25,000 เคส เร่งแก้ไขแบบถาวรในปี 64 นี้ แบบเอาจริงเอาจัง

เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่เพิ่งผ่านมา ที่มีเหตุการม็อบ 19 กันยา ที่สำนักนายกรัฐมาตรี น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุม 5 ด้านคือ

  1. จัดการเจ้าหนี้นอกระบบ โดยมี พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 เพิ่มโทษกับเจ้าหนี้นอกระบบ และเปิดช่องทางให้เจ้าหนี้นอกระบบ สามารถจดทะเบียนเป็นผู้ให้สินเชื่อในระบบได้ตามหลักเกณฑ์
  2. ไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ ลูกหนี้สามารถร้องทุกข์และขอคำปรึกษาปัญหาหนี้นอกระบบได้ที่ จุดให้คำปรึกษาปัญหาหนี้นอกระบบ ตั้งอยู่ที่ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส.ทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยประสาน คณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบในทุกจังหวัด เพื่อช่วยเจรจาระหว่างลูกหนี้-เจ้าหนี้

3. จัดหาแหล่งเงินในระบบให้ลูกหนี้ เมื่อไกล่เกลี่ยจนมูลหนี้เป็นธรรมแล้ว ซึ่งลูกหนี้สามารถที่จะขอสินเชื่อในระบบได้ โดยรัฐบาลสนับสนุนให้มีสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ (กระทรวงการคลัง)

4. ฟื้นฟูศักยภาพลูกหนี้ โดยเฉพาะลูกหนี้ที่ยังมีความสามารถในการชําระหนี้ตํ่าเกินไป คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการหารายได้ของลูกหนี้นอกระบบในทุกจังหวัด จะช่วยฟื้นฟูอาชีพ ปลูกฝังความรู้และวินัยทางการเงิน ฝึกอาชีพ และพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน

5. สร้างภูมิคุ้มกัน โดยพัฒนาเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน ให้ทําหน้าที่ทดแทนเจ้าหนี้นอกระบบ หน่วยงานต่าง ๆ ให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชน รวมทั้งจัดทํา ฐานข้อมูลหนี้นอกระบบ เพื่อใช้กําหนดนโยบายที่เหมาะสมและตรงเป้าหมายต่อไป

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานช่วงเดือนสิงหาคม 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ได้ช่วยเหลือลูกหนี้ให้ได้รับทรัพย์สินคืนแล้ว 25,044 ราย คิดเป็นโฉนดจำนวน 21,304 ฉบับ จับกุมผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบและผู้ติดตามทวงถามหนี้โดยวิธีการผิดกฎหมาย 6,002 ราย และการให้แหล่งเงินในระบบพิโกไฟแนนซ์ มียอดสินเชื่ออนุมัติสะสมจำนวน 269,880 บัญชี เป็นเงิน 7,018.34 ล้านบาท

สำหรับในปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลจะตั้งคณะกรรมการพิเศษที่มีลักษณะเป็นการถาวร เพื่อรับผิดชอบการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับประชาชนทั่วประเทศ ตั้งเป้าไว้ว่า ข้อร้องเรียนต่าง ๆ จะใช้เวลาแก้ปัญหาไม่เกิน 1 สัปดาห์ และในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะ คือ ศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ (ศปน.ตร.) มีภารกิจในการปราบปรามผู้มีอิทธิพลหรือบุคคที่ให้ประชาชนกู้ยืมเงินโดยผิดกฎหมาย หรือมีลักษณะเป็นการทำสัญญาเอารัดเอาเปรียบประชาชน จนถึงปัจจุบัน ได้รับแจ้งจำนวนทั้งสิ้น 1,947 เรื่อง ดำเนินการเสร็จสิ้น 1,548 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 399 เรื่อง เป็นผู้ต้องหา 1,090 ราย ของกลางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ 245 คัน โฉนดที่ดิน 87 ฉบับ เงินสดกว่า 1,300 ล้านบาท บัญชีธนาคารที่เกี่ยวข้อง 1,373 คดี ช่วยไกล่เกลี่ยประนีประนอม 105 เรื่อง โดยประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน สามารถลงทะเบียนร้องทุกข์ได้ที่สถานีตำรวจทุกแห่ง