เพจดัง ตบหน้า “อานนท์” กระชากหน้ากาก ขบวนการปั่นกระแสในโซเชียล โจมตีสถาบันฯ!? มาจากต่างชาติเกือบ 90%?

2096

พลังในโลกความจริง กลับไม่มีผล!? เพจดัง ตบหน้า “อานนท์” กระชากหน้ากาก ขบวนการปั่นกระแสในโซเชียล โจมตีสถาบันฯ!? มาจากต่างชาติเกือบ 90%?

จากกรณีที่เกิดเหตุไฟไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมและเม็ดพลาสติกขนาดใหญ่ บริเวณซอยกิ่งแก้ว 21 อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ตั้งแต่เวลาตี 3 ของวันที่ 5 กรกฎาคม โดยมีกลุ่มควันสีดำหนาแน่นพวยพุ่งออกมาจากโรงงานดังกล่าว และจากเหตุการณ์นี้มีเจ้าหน้าที่ดับเพลิง เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 1 ราย

ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก ถึงการทำงานของรัฐบาล นอกจากนี้ ฝ่ายของสามกีบยังได้มีการปั่นกระแส โจมตีไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ จนเกิด #กษัตริย์มีไว้ทำไม ในทวิตเตอร์

ล่าสุดทางเพจ The METTAD ได้โพสต์รูปภาพของการเคลื่อนไหวของแฮชแท็กว่า เป็นการปั่นกระแสในต่างประเทศ ที่ระบุข้อความว่า เอเจนซีระดับโลกเลยนะเนี่ย

จากภาพดังกล่าวที่ทางเพจ The METTAD ได้นำออกมาเผยแพร่ ชี้ให้เห็นว่า การปั่นกระแสของ #กษัตริย์มีไว้ทำไม เป็นการปั่นกระแสมาจากต่างประเทศ ถึง 3 ล้าน ในขณะที่ประเทศไทยมีการใช้ แฮชแท็กดังกล่าวเพียง 300,000 เท่านั้น

ต่อมาทางด้านของนายอานนท์ นำภา แกนนำกลุ่มคณะราษฎร ก็ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าวว่า ตอนนี้ #กษัตริย์มีไว้ทำไม ขึ้นเทรนทวิตเตอร์อันดับ 1

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ได้มีการปั่นกระแส หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า กลุ่มการเมืองบางกลุ่มพรรคการเมืองบางพรรค มีการสร้างกระแสเคลื่อนไหวกดดันในโลกออนไลน์ มีการติดแฮชแท็ก แบนคนโน้นคนโน้นคนนี้ ปั่นข้อมูลกันมากมายในโลกออนไลน์ แต่พลังในโลกความจริงกลับไม่มีผลเหมือนที่ดูใหญ่โตในโลกออนไลน์

ย้อนไปเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2563 ทางสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง หยุดคุกคามประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่าน “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” ด้วยระบบ Net Super Poll จำนวน 5,962 ตัวอย่างในโลกโซเชียล และ “เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม” จำนวน 1,121 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 – 28 สิงหาคม ที่ผ่านมา

โดยผลการสำรวจ “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) ผ่านระบบ Net Super Poll ในการศึกษาแนวโน้มความเคลื่อนไหว “หยุดคุกคามประชาชน” ในโลกโซเชียล ซึ่งพบข้อมูลที่น่าพิจารณาคือ จำนวนผู้ใช้โซเชียลเฉพาะประเทศไทยอย่างเดียว การเคลื่อนไหวของผู้ใช้งานในวันชุมนุม 16 สิงหาคม มีจำนวน 148,034 คนเป็นผู้ใช้งานเฉพาะภายในประเทศไทย แต่ถ้านำข้อมูลรวมจากต่างชาติเข้ามาวิเคราะห์ด้วยมีถึงจำนวน 7,928,492 ผู้ใช้งาน

นอกจากนี้ข้อสังเกตที่ค้นพบอีกประการหนึ่ง คือ ประเทศไทยมีจำนวนเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 12 – 24 ปีทั่วประเทศจำนวน 11,056,769 คน อ้างอิงจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2562 จึงเห็นได้ว่า กลุ่มเคลื่อนไหว “หยุดคุกคามประชาชน” ในโซเชียลจำนวน 148,034 ผู้ใช้งาน คิดเป็นร้อยละ 1.34 ของเยาวชนทั้งประเทศเท่านั้นซึ่งยังต้องแยกกลุ่มผู้ใหญ่ที่เข้ามาผสมโรงออกไปอีกในโอกาสต่อไป

ซูเปอร์โพล รายงานอีกว่า ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์บ้านเมืองสงบสุขได้มากกว่านี้มาก ถ้าไม่มีการสร้างปั่นกระแสจากต่างประเทศเข้ามาผสมโรง เพราะระดับกระแสเฉพาะคนในประเทศไทยถูกเติมเชื้อไฟจากต่างประเทศเข้ามาทำให้เกิดภาพลวงตา ปลุกเร้าอารมณ์ให้ประชาชนคนไทยโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนกำลังตกเป็นเครื่องมือ

โดยฝ่ายหนึ่งใช้วิธีออนไลน์เชื่อมต่อลงพื้นที่จริง (Online-OnGround) ทำให้เกิดภาพกระแสแรงในโซเชียลแต่ผลการศึกษาพบว่า มีกระปลุกปั่นกระแสจากต่างประเทศเข้ามาผสมโรงโดยเฉพาะช่วงนี้จะหนาแน่นจากกลุ่มประเทศในอาเซียน และกลุ่มประเทศตะวันตก เสมือนเกิดสงครามโลกที่ประเทศไทยกำลังตกเป็นประเทศที่ถูกรุมถล่มให้ “เสาหลักของชาติสั่นคลอน” จึงจำเป็นต้องส่งข้อมูลเตือนไปยังประชาชนทั่วประเทศ

ในขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2563 ทางเพจ The METTAD ก้ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีปั่นกระแสในโลกออนไลน์ที่มาจากต่างชาติถึง 90% โดยได้ระบุข้อความว่า

ทำไมความเคลื่อนไหวในโซเชียลไทย ถึงมาจากต่างชาติ เกือบ 90%
“ในแวดวงดิจิทัลเอเจนซี ทำการตลาดออนไลน์ มันจะมีพวกที่ทำธุรกิจขายยอดไลก์ ยอดแชร์ ยอดวิว ยอดแฮชแท็ก ครับ ซึ่งจะเอาไว้ปั่นอะไรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดกระแส
จริง ๆ มันมีข้อเสียอยู่นะครับ สำหรับในส่วนของยอด like เพจ เพราะแบรนด์ที่ทำการตลาดด้วยการปั่นยอด like เนี่ย จะทำให้เพจไม่ได้ฐานลูกค้าที่แท้จริง เพราะพอลอง analysis ดู จะเจอไอดีแขกจากต่างประเทศเพียบ ทำให้วิเคราะห์ทางการตลาดไม่ได้เลย จึงเป็นผลเสียต่อแบรนด์ในระยะยาว เอเจนซี่ที่ดีเขาจะไม่แนะนำให้ลูกค้าทำครับ
แต่ในส่วนของการปั่น แฮชแท็ก ผมมองว่า ยอดพวกนี้ มันมีผลทางการตลาดในระยะสั้น คือกระตุ้นให้คนเกิดความสนใจ แล้วแฮชแท็กพวกนี้มันอยู่ได้ไม่เกิน 2 วันก็ซา มาวูบนึง แล้วก็หายไป ทีนี้จะทำยังไงให้การกระตุ้นระยะสั้นมีผลนานขึ้น ถ้าลองวิเคราะห์ดูดีๆ เราจะเห็นว่า หลังการปั่นแฮชแท็ก จะมีสื่อหลักที่เตรียมนำไปปลุกปั่นต่อ อันนี้เรียกว่า ทำข้อมูล fake ให้มีน้ำหนักขึ้นด้วยการใช้สื่อหลักฝังชุดข้อมูล ( ก็ลองไปดูละกันครับว่า สื่อไหนที่ชอบหยิบเรื่อง แฮชแท็ก ไปเล่นบ่อยๆ มันระบุชัดว่าสื่อนั้นกับกลุ่มเคลื่อนไหวเขาทำงานสอดประสานกัน)
ข้อเสียของมันก็มีนะครับ เพราะเป็นการสร้างกระแสปลอมขึ้นมา อย่างที่เราเห็นกันว่า มีบางแบรนด์หลงติดกับ ไปสนับสนุนกลุ่มเคลื่อนไหวตามกระแสแฮชแท็ก แล้วประเมินผิดจนแบรนด์ขนมปังปิ๊นาศ ข้อเสียในภาพใหญ่ก็มีเช่นกัน เพราะแฮชแท็กพวกนี้มีเป็นล้าน ๆ แต่พอลงสนามเลือกตั้งจริง ๆ ผลก็ออกมาตรงข้ามทุกครั้ง
ดังนั้น ข้อมูลที่ว่า การเคลื่อนไหวแทรกแซงจากต่างประเทศ 90% ผมจึงมองว่า น่าจะเป็นทีมเอเจนซีคนไทยที่รับงานปลุกกระแสในซเชียล โดยไปจ้างทีมปั่น ที่เอาพวกปั๊มไลก์ ปั๊มแฮชแท็กที่เป็นคนต่างประเทศเข้ามาแจมซะมากกว่าครับ “
#ทีมการตลาดแคปทัน ฝากมาครัช