อัยการฯโต้ทันควัน! หลัง “หมอบุญ” โวยได้วัคซีนช้าเพราะรัฐไม่เซ็นสัญญา?? ย้อนหมอบุญ คือ1ในผู้เจรจาซื้อที่ดินอัลไพน์

3767

อัยการฯโต้ทันควัน! หลัง “หมอบุญ” โวยได้วัคซีนช้าเพราะรัฐไม่เซ็นสัญญา?? ย้อนหมอบุญ คือ1ในผู้เจรจาซื้อที่ดินอัลไพน์

จากกรณีที่วันนี้ (2 กรกฎาคม 2564) นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ จำกัด(มหาชน)เปิดเผยว่าการเจรจากับทาง”โมเดอร์นา”ที่จะซื้อเพิ่มอีก 10 ล้านโดสยังไม่มีความคืบหน้าเฉพาะการจองวัคซีน “โมเดอร์นา” ที่เริ่มไว้เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมากลับพบว่าองค์การเภสัชกรรมหน่วยงานเดียวที่สามารถเซ็นเอกสารทำสัญญาบริษัทผู้ผลิตฯระบุปัญหาเรื่องยังค้างอยู่ที่อัยการสูงสุด

“การสั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 ของเอกชนไม่สามารถทำได้ต้องดำเนินการโดยรัฐบาลความคิดที่สั่งซื้อช่วงแรกเมื่อช่วงเดือนมกราคมจึงสะดุดกระทั่งช่วงเดือนเมษายนได้รับข้อมูลว่าเอกชนสามารถจองซื้อได้แต่ต้องให้องค์การเภสัชฯเซ็นสัญญาแต่ที่เราจองวัคซีนโมเดอร์นาไว้จนมาวันนี้ กลับติดค้างที่การทำงานของหน่วยงานรัฐทั้งที่ผ่านมาแล้วตั้งหลายเดือนเหตุใดการพิจารณาของอัยการสูงสุดยังไม่สิ้นสุดเสียที

ล่าสุดทางด้าน สำนักงานอัยการสูงสุดชี้แจงกรณีการตรวจร่างสัญญาจัดซื้อวัคซีน โมเดอร์นา (Moderna) ตามที่มีบุคคลให้ข่าวทางสื่อมวลชนว่าสัญญาจัดซื้อวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) ยังไม่สามารถ ดำเนินการใด ๆ ได้ เพราะองค์การเภสัชกรรมยังไม่ได้เซ็นสัญญาจัดซื้อวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) กับผู้ขาย เพราะการตรวจร่างสัญญาจัดซื้อวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) ยังคงค้างอยู่ที่สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว

สำนักงานอัยการสูงสุดขอชี้แจงว่า

1.ข่าวดังกล่าวไม่มีมูลความจริง เพราะไม่เคยมีหน่วยงานใดหรือองค์กรใดส่งร่างสัญญาเกี่ยวกับการจัดซื้อวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) ให้กับสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาตรวจร่างแต่อย่างใด

2. ที่ผ่านมาสำนักงานอัยการสูงสุดเคยได้รับการร้องขอจากองค์การเภสัชกรรม ให้ตรวจร่างสัญญาจัดซื้อวัคซีนชิโนแวค (Sinovac) ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้พิจารณาตรวจร่างสัญญาให้กับองค์การเภสัชกรรม แล้วเสร็จภายใน 1วัน และสำนักงานอัยการสูงสุดได้รับการร้องขอจากสถาบันวัคนแห่งชาติ และกรมควบคุมโรคให้ตรวจร่างสัญญาจัดซื้อวัคชีนแอสตร้าเซนเนก้า (Astrazeneca) ซึ่งทั้งสองสัญญาสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาตรวจร่างสัญญาให้กับสองหน่วยงานดังกล่าวแล้วเสร็จภายใน 5 วัน เท่านั้น

โดยการพิจารณาตรวจร่างสัญญา ดังกล่าวข้างต้น สำนักงานอัยการสูงสุดได้ดำเนินการอย่างรอบคอบ รัดกุมและรวดเร็ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับ ประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ตระหนักในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) ที่สังคมไทยเรากำลังเผชิญอยู่และเห็นว่าเป็นสถานการณ์ที่ทุกคนในสังคมจะต้องร่วมมือร่วมใจ ในการฟันฝ่าปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวให้ล่วงพ้นไป สำนักงานอัยการสูงสุดจึงให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นอันดับแรก
อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ในสถานการณ์วิกฤตโควิด หมอบุญก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเรื่องการบริหารจัดการหาวัคซีนมาฉีดให้คนไทยล่าช้า หมอบุญ คือหนึ่งในนักธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่มีบทบาทผ่านการขับเคลื่อนในาม สมาคมโรงพยาบาลเอกชน เพื่อขอซื้อวัคซีนทั้งโมเดอร์นาและไฟเซอร์ และต่อมามีการให้สัมภาษณ์พาดพิงองค์การเภสัชกรรมทำนองว่า องค์การเภสัชฯ ชาร์จค่าบริหารจัดการอีก 5 – 10% จากกลุ่มรพ.เอกชน จนเกิดดราม่า จนธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป ต้องร่อนหนังสือ แสดงความเสียใจ ต่อบทสัมภาษณ์ดังกล่าวที่ทำให้องค์การเภสัชกรรมเสียหาย
สำหรับบมจ. ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป ของนายแพทย์บุญ เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีเครือข่ายด้านโรงพยาบาลและการแพทย์ ในระดับกลุ่มทุนรายใหญ่ของวงการโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ของประเทศไทย และเป็นกลุ่มหุ้นบิ๊กล็อต รายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมอบุญเองก็ถือว่า เป็นหนึ่งในเศรษฐีหุ้นรายใหญ่ของประเทศไทยมาหลายสิบปี มีชื่อโด่งดังในวงการสาธารณสุขภาคเอกชนมานาน เพราะเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการทำโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
โดยในทางการเมือง เป็นที่รู้กันดีว่า เมื่อร่วม 30 ปีที่แล้ว หมอบุญ มีความสนิทกับนักการเมืองรุ่นเก่า ในเวลานั้น หมอบุญ มีชื่อเป็นข่าวโด่งดัง จากการเข้าไปมีชื่อเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินธรณีสงฆ์ อัลไพน์ เพราะหมอบุญ ก็คือ ประธานบริหารบริษัทอัลไพน์ เรียลเอสเตท ที่มีทั้ง นายเสนาะ เทียนทอง นางอุไรวรรณ เทียนทอง นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล ร่วมเป็นกรรมการและถือหุ้นในบริษัทอัลไพน์
ซึ่งหมอบุญ ก็เคยเปิดแถลงข่าวกับสื่อในเรื่องนี้โดยยอมรับเองว่า เป็นหนึ่งในคนที่ร่วมเจรจาซื้อขายที่ดินอัลไพน์ จากวัดธรรมมิการามวรวิหาร จากนั้นนำที่ดินมาทำสนามกอล์ฟและหมู่บ้านอัลไพน์ และมีการตั้งบริษัททำธุรกิจในที่ดินดังกล่าว โดยตนเองก็มาตั้ง บริษัท ราชธานีบ้านและที่ดิน จำกัด เพื่อบริหารหมู่บ้านอัลไพน์ ส่วนสนามกอล์ฟอัลไพน์ ก็เป็นของนายเสนาะ ก่อนที่จะขายสนามกอล์ฟให้นายทักษิณ ชินวัตร จนกลายเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต เกิดคดีความมากมายมาถึงปัจจุบัน