แนวร่วมสามกีบบุกอาละวาด “พี่ตูน” อ้างไม่ออกมา call out แต่เอาเงินไปให้รบ.ลุงตู่ !! ทวงบุญคุณเคยวิ่งตามช่วยรพ.!?

3341

แนวร่วมสามกีบบุกอาละวาด “พี่ตูน” อ้างไม่ออกมา call out แต่เอาเงินไปให้รบ.ลุงตู่ !! ทวงบุญคุณเคยวิ่งตามช่วยรพ.!?

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (1 กรกฎาคม 2564) สมาพันธ์ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิงแห่งประเทศไทย นำโดย ลูกเต๋า นนทเดช บูรณะสิทธิพร เจ้าของร้าน The Rock Pub – Bangkok’s House Of Rock นายธัญญ์นิธิ ปภัสสุรีย์โชติ ตัวแทน​ชมรมคนดนตรีแห่งประเทศไทย และศิลปินชื่อดัง อาทิ Slot Machine, Tattoo colour, Cocktail, Apartment Khunpa ฯลฯ ได้เดินทางไปที่รัฐสภา เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการพิจารณาร่วมกันหาทางออก กรณีการขอมาตรการผ่อนปรนและมาตรการเยียวยาให้กับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยมี ส.ส. พรรคร่วมฝ่ายค้าน และพรรคร่วมรัฐบาล มารับจดหมายดังกล่าว

โดยทางสมาพันธ์ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจกลางคืนฯ จึงขอยืนยันในข้อเรียกร้อง 8ข้อคือ

1. ขอให้ยกเลิกคำสั่งปิดสถานบันเทิงแบบเหมารวม

2. ขอให้มีคำสั่งปลดล็อกให้ธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิง ได้กลับมาเปิดบริการและสามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้ภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2564 หรือกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการอนุญาตให้กลับมาประกอบกิจการและอาชีพได้อีกครั้ง
3. ผ่อนปรนให้สามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อบริโภคในร้านได้

4. ผ่อนปรนให้มีการจัดมหรสพ โดยให้คงการปฏิบัติตามมาตรการคำสั่งของ ศบค. เพื่อรักษามาตรฐานการควบคุมโรค

5. พิจารณาจัดสรรวัคซีนให้ผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานประกอบการธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิงโดยเร็วที่สุด
6. ให้มีนโยบายที่ชัดเจนเรื่องการเยียวยา การพักชำระหนี้ และการกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ ต่อผู้เดือดร้อนตั้งแต่การออกคำสั่งครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563
7. เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน หรือประชาชนในกลุ่มภาคธุรกิจที่ได้รับความเดือดร้อน เข้าร่วมรับฟังและเสนอแนะในกระบวนการออกมาตรการต่าง ๆ

8. เปิดช่องทางการสื่อสาร เพื่อรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนที่เดือดร้อน

ด้าน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวหลังรับหนังสือว่า ผู้ประกอบการธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิง เป็นกลุ่มคนที่ได้รับความเดือดร้อนจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในทุกรอบ และเป็นอาชีพที่ค่อนข้างหนักกว่าคนอื่น เพราะถูกปิดก่อนแต่เปิดทีหลัง และการประกอบอาชีพอิสระบางครั้งไม่ได้อยู่ในระบบจึงเข้าไม่ถึงการเยียวยา ดังนั้น การที่เขากลั้นหายใจนานกว่าคนอื่น จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลควรให้ความสนใจ

ล่าสุด ก้ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เป็นอย่างมาก สำหรับกรณีของ นายอาทิวราห์ คงมาลัย หือ ตูน บอดี้สแลม เมื่อชาวเน็ตได้เข้าไปแสดงความคิดเห็นในอินสตราแกรมของนักร้องหนุ่ม ถึงกรณีที่ไม่ยอมออกมา call out ว่า

“พี่ตูนเหมือนอยู่คนละโลกกันเลยนะค่ะ ตอนที่พี่วิ่ง….เคยวิ่งตาม แม้ว่าจะไม่ใช่หน้าที่พี่ หวังว่าสักวันพี่จะใช้ชื่อเสียงเพื่อประชาชนบ้าง แต่พี่ก็เงียบมาโดยตลอด แถมยังเอาเงินไปมอบให้ประยุทธ์ โอเคค่ะ จบๆ ไป วันนี้ชาวบ้านที่บริจาคให้พี่ห้าบาทสิบบาท กำลังรอความตายจากการไม่มีงานไม่มีเงินค่ะ เจ็บป่วยก็ไปโรงพยาบาลไม่ได้เพราะไม่มีเงินค่ะ ยิ่งเป็นโควิดยิ่งไม่มีเตียงไม่มีโรงบาลรับค่ะ ผลการวิ่งของพี่ พี่ได้หน้า ประชาชนรักพี่ เทิดทูนพี่เยอะขึ้นเลย พี่คงภูมิใจมากนะคะ สุดท้ายโควิดก็ทำให้เห็นว่าพี่รักตัวเองแค่ไหน only time will tell จริงๆค่ะ จากอดีตแฟนคลับ 17-18 ที่พยายามเข้านิติจุฬา จนได้เป็นรุ่นน้อง อยากชี้แจง เชิญเลยค่ะ รอฟังเสมอ”

ถ้าพี่ยังเลือกถือสิ่งที่ถูกต้องเราอยากให้พี่ใช้เสียงของพี่ที่มีมากกว่าคนอื่นๆ หรือ น้องๆ ในวงการหรือแม้กระทั่งเทคนิเชียนตัวเล็กหลายๆ วงที่คอยประคับประคองวงการดนตรีของพี่ช่วยออกมาเรียกร้องในสิ่งที่ควรจะเป็นอีกเสียงนึงนะครับ เสียงของพี่มันมีพลังมากมายเหลือเกิน แต่ถ้าพี่มองว่าพี่ไม่ได้กระทบหรือเดือดร้อนจากการหยุดงานมาเกือบ 2 ปี พี่พึงรู้ไว้เถิดว่ามีหลายๆ คนที่เป็นมดงานในวงการดนตรีกำลังจะตายลงไปทีละคนสองคนอย่างช้าๆ อยู่น่ะครับ”

อยากให้พี่ตูนออกมาcall out กับเพื่อนร่วมวงการศิลปินท่านอื่นๆ จังค่ะ ตอนนี้อาชีพนักร้องเดือดร้อนกันมากๆ และ ต่อให้ พี่ตูน วิ่งรอบโลกก็ไม่สามารถแก้ไขความชิบหายของประเทศนี้ได้ค่ะ”

เห็นด้วยครับ ไม่ได้คาดคั้นแกนะ แต่เรื่องในวันนี้มันง่ายกว่าไปวิ่ง 2 พันโลเยอะมากเลย แต่ทำไมคนวงการเดียวกันแกถึงเงียบได้ขนาดนี้นะ

โดยก่อนหน้านี้ ตูน บอดี้สแลม ได้เริ่มโครงการ “ก้าวคนละก้าว” เพื่อระดมทุนช่วยเหลือโรงพยาบาลที่ขาดแคลนทั่วประเทศ โดยครั้งแรกวิ่งจากกรุงเทพมหานคร – บางสะพาน ในปี 2559 จากนั้นในปี 2560 ได้มีการดำเนินโครงการอีกครั้ง ด้วยการเริ่มวิ่งจาก อ.เบตง จ.ยะลา ไปจบ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เพื่อระดมทุนช่วยเหลือโรงพยาบาลที่ขาดแคลนทั่วประเทศไปแล้วเมื่อปี 2560 ซึ่งยอดบริจาคทะลุเป้ากว่าหนึ่งพันล้านบาท

โดยการจัดสรรเงินที่ได้ในโครงการ ก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ หลังจากสิ้นสุดโครงการ มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้จัดสรรเงินที่ได้รับบริจาคจำนวน 1,300ล้านบาท ไปในโรงพยาบาลต่างๆดังนี้

– โรงพยาบาลยะลา 91ล้านบาท

– โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี 136.5 ล้านบาท

– โรงพยาบาลราชบุรี 180 ล้านบาท

– โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชสุพรรณบุรี 91ล้านบาท

– โรงพยาบาลสระบุรี 104 ล้านบาท

– โรงพยาบาลขอนแก่น 143 ล้านบาท

– โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรปราจีนบุรี 91ล้านบาท

– โรงพยาบาลนครพิงค์ เชียงใหม่ 91ล้านบาท

– โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 110.5 ล้านบาท

– โรงพยาบาลน่าน 91ล้านบาท

– โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า 221 ล้านบาท