ยังดื้อไม่เลิก!? “ธนาธร” ปลุกระดมฝ่ายค้าน ยึดแก้รธน. 3 ข้อ พาดพิงสถาบันฯ พร้อมประกาศขู่ปิดสวิตซ์ส.ว.

1464

จากกรณีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้ออกมาไลฟ์สด ขอความร่วมมือจากประชาชน ให้ร่วมลงชื่อรื้อระบอบประยุทธ์ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของ Re-solution

ที่ประกอบด้วย กลุ่มคณะก้าวหน้า , รัฐธรรมนูญก้าวหน้า, พรรคก้าวไกล และ iLaw เป็นคนขับเคลื่อน เดิมประกาศล่ารายชื่อ 1 ล้าน แต่ต่อมาทางด้านนายปิยบุตร และธนาธร บอกว่า ขอเพียง 50,000 รายชื่อ เพื่อยื่นเข้าสภาก่อน โดยแค่กรอก ใช้เวลา 2-5 นาทีเท่านั้น ไม่ต้องส่งสำเนาบัตรประชาชนมา แค่ลงชื่อก็เพียงพอ

ขณะที่วานนี้ (23 มิ.ย.) ในทวิตเตอร์ของ Re-solution ถึงเวลารัฐธรรมนูญใหม่ @ResolutionCons ได้โพสต์ข้อความระบุว่า “ไม่สง่างาม… จี้ #ประชุมสภา เร่งบรรจุญัตติแก้รัฐธรรมนูญเหลือเกิน เชื่อมีธงเร่งผ่านร่างพลังประชารัฐเป็นหลัก โดยไม่รอฉบับ #ขอคนละชื่อรื้อระบอบประยุทธ์ ประชาชนกำลังเข้าชื่อกว่า 40,000 แล้ว

พวกเราประชาชนต้องมาแสดงพลัง เข้าชื่อ #แก้รัฐธรรมนูญ หยุดสืบทอดอำนาจด่วน” ส.ส. ​พรรคก้าวไกล กล่าวถึงการเข้าชื่อ #ขอคนละชื่อรื้อระบอบประยุทธ์ ที่ได้กว่า 40,000 รายชื่อแล้ว เสียดายที่รัฐสภาเร่งรีบเหลือเกิน ไม่รอนำร่าง #แก้รัฐธรรมนูญ จากทุกฝ่ายมาพิจารณาร่วมกัน ชี้จะสง่างามกว่าหากฟังเสียงประชาชน-รอพิจารณาร่วมกัน #ประชุมสภา #ม็อบ24มิถุนา โดยนายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้กล่าวกลางสภาว่า เร่งรีบยื่นแก้รธน. โดยไม่รอฉบับค้านของประชาชน ซึ่งรวมถึง 50,000 รายชื่อที่กลุ่มก้าวหน้ากำลังระดมคนมาลงชื่อด้วย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ต้องรอไปถึงชาติไหน!? “ก้าวไกล” โวยกลางสภา ไม่รอแก้รธน.ฉบับของประชาชน เนื่องจาก “ธนาธร-ปิยบุตร” ล่าชื่อไม่ถึงเป้า 5 หมื่นราย

ล่าสุดในเพจเฟซบุ๊ก WorkpointTODAY ได้ถ่ายทอดเรื่องราว หลังสัมภาษณ์นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เรื่องการขับเคลื่อนแก้รธน. โดยนายธนาธร ยังกล่าวยืนยันตามเดิม เหมือนตอนอยู่พรรคอนาคตใหม่ ว่ายังยึด 3 ข้อหลัก ที่ว่า การทำให้อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎร ดังนั้นหลักการที่สำคัญที่จะต้องยึดให้มั่นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ก็คือ


– หลักการที่ 1 อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน
– หลักการที่ 2 สถาบันพระมหากษัตริย์ จะต้องอยู่เหนือการเมืองและอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
– หลักการที่ 3 ต้องมีการสมดุลระหว่างอำนาจฝ่ายบริหาร อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ และอำนาจฝ่ายตุลาการ

ถ้าพูดถึงในภาพรวมแม้แต่การที่จะได้มาซึ่งประชาธิปไตยต้องมีการปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปฏิรูประบบรัฐราชการรวมศูนย์ และต้องมีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์

พร้อมทิ้งท้ายว่า จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้หยุดการสืบทอดอำนาจในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ขณะนี้รัฐบาลอยู่มา 2 ปีกว่าแล้ว อีกไม่นานก็จะครบเทอมและจะมีการเลือกตั้งใหม่

“สำหรับผมการแก้รัฐธรรมนูญที่กำลังเกิดขึ้นมันคือความพยายามที่จะสืบทอดอำนาจรอบที่ 2 ของ ระบอบประยุทธ์”

สำหรับเงื่อนไขในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ข้อที่ 1 ต้องมีเสียงข้างมากในสภา ข้อที่ 2 จะต้องมีเสียงของส.ว. 1 ใน 3 และข้อที่ 3 ต้องมีเสีย 20 เปอร์เซ็นต์ของฝ่ายค้าน

“ผมคิดว่าฝ่ายค้านมีอำนาจต่อรอง ถ้าฝ่ายค้านไม่ยกมือ แก้ระบบเลือกตั้งไม่ได้ แก้รัฐธรรมนูญรายมาตราในเรื่องระบบการเลือกตั้งไม่ได้ ดังนั้นถ้าฝ่ายค้านรวมพลังกันเข้มแข็งพอ มันมีทางที่จะต่อรองให้เกิดการปิดสวิตช์ ส.ว.จริง ๆ ”

แม้การยกเลิกวุฒิสภาทำให้ประเทศไทยมีสภาเดียวอาจจะยังเป็นการเดินทางที่ไกลเกินไปที่จะต้องอธิบายกับประชาชน แต่อย่างน้อยการปิดสวิตช์ ส.ว. มีโอกาสทำได้ด้วยเสียง 20 เปอร์เซ็นต์ของฝ่ายค้าน ดังนั้นฝ่ายค้านมีอำนาจต่อรองกับฝ่ายรัฐบาลอยู่ว่าถ้าจะให้เอาระบบเลือกตั้งด้วยต้องปิดสวิตช์ส.ว.ถึงจะยกมือให้

อย่างไรก็ตามการลงชื่อรื้อระบอบประยุทธ์ ที่คณะก้าวหน้าและอีกหลาย ๆ กลุ่มร่วมกันจัดทำ พบว่าตอนนี้มีการลงชื่อใกล้เฉียด 50,000 ตามเป้าใหม่ แต่อาจจะส่งยื่นคัดค้านไม่ทัน ซึ่งต้องติดตามกันต่อไปว่า หลังจากนี้ กลุ่มของนายธนาธร จะเคลื่อนไหวเรื่องแก้รธน.ในทิศทางใดต่อไป