สามกีบไม่สนศาล?? นัดชุมนุม 24 มิ.ย.ข้อเรียกร้องทะลุเพดาน? สอดคล้อง ม็อบจตุพร เหิมปฏิรูปสถาบัน!? จับตา ผิดเงื่อนไขประกัน!?

1737

สามกีบไม่สนศาล?? นัดชุมนุม 24 มิ.ย.ข้อเรียกร้องทะลุเพดาน? สอดคล้อง ม็อบจตุพร เหิมปฏิรูปสถาบัน!? จับตา ผิดเงื่อนไขประกัน!?

จากกรณีที่วันนี้ (22 มิถุนายน 64) ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกคดีที่พนักงานอัยการคดีอาญา7  เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน  กับพวกซึ่งเป็นแกนนำและแนวร่วมกลุ่มราษฎร รวม 22 คน เป็นจำเลย    ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ มาตรา 116 รวมทั้งความผิดอื่น ๆ กรณีชุมนุมปักหมุดที่สนามหลวงวันที่ 19 -20 ก.ย.63

โดยตั้งแต่ช่วงวันนี้ จำเลย ซึ่งเป็นแกนนำสำคัญๆทยอยเดินทางมาศาล​ อาทิ นายพริษฐ์ หรือเพนกวิน ,น.ส.ปนัสยา หรือรุ้ง สิทธิจิรวัฒนกุล ,นายภาณุพงศ์ หรือไมค์ จาดนอก และนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน, นายไชยอมร แก้ววิบูล ย์พันธุ์หรือ แอมมี่ เดอะ บอททอมบลูส์  และนายอานนท์ นำภา เป็นต้น

ขณะที่นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความกล่าวถึง กรณีจำเลยส่วนใหญ่ยืนยันว่าจะไปร่วมกิจกรรม วันที่ 24 มิ.ย. ซึ่งอาจจะฝ่าฝืนเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวของศาล มีความกังวลหรือไม่ว่า ข้อกำหนดของศาล ศาลได้พูดกับตนหลายครั้งว่า เป็นข้อกำหนดที่ไม่อาจล่วงรธน.ได้ ดังนั้นการกระทำใดถ้าไม่ขัดรธน.ศาลท่านคงไม่สั่งใดๆ ส่วนจะแค่ไหนเพียงใด ก็ดูข้อกำหนดที่ว่าต้องไม่ไปก่อความวุ่นวาย ถ้าเราไม่ก่อความวุ่นวาย แม้เหตุเล็กน้อยก็คงไม่เข้าข้อกำหนดของศาล หรือกรณีไม่ทำการใดๆที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน อันนี้น้องๆที่ต่อสู้กันมา ไม่มีการกระทำใดๆที่ทำให้เสื่อมเสียต่อสถาบัน โอกาสที่จะผิดเงื่อนไขก็ไม่มี

อย่างวันนี้ช่วงบ่ายจะมีตำรวจสน.ชนะสงคราม มาขอเพิกถอนการประกันตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข  ที่เคยมายืนให้กำลงใจแกนนำคนอื่นๆ ตัวเขายืนอยู่ข้างนอกศาล ซึ่งศาลคงรับไว้ไต่สวน และฟังตำรวจก่อนว่าเขาจะว่าอย่างไร

ทั้งนี้ตนกังวลเรื่องเดียว คือการจำกัดคนฟังการพิจารณา เนื่องการพิจารณาต้องกระทำโดยเปิดเผย คนทั่วไปควรเข้าฟังได้ จะได้มีคนเป็นประจักษ์พยานว่าการพิจารณาเป็นอย่างไร ซึ่งอยากให้ท่านประธานศาลฎีกาได้ทราบเรื่องนี้

นายไชยอมร หรือแอมมี่ ที่ถือรูปวาด(รูปคล้ายหัวสุนัขหรือแมวสีดำ) เปิดเผยว่า ตนไม่สามารถพูดรายละเอียดที่มาของรูปได้ ด้วยเกรงว่าจะไปกระทบเงื่อนไข แต่บอกได้แค่ว่าเกี่ยวกับการอุ้มหาย การจับพวกเราไปขัง หรือถูกดำเนินคดี มันกลับไปสู่จุดเริ่มต้นว่าที่เราเคยเรียกร้องเสมอว่า เลิกคุกคามประชาชน เพียงแค่ข้อนี้ยังทำไม่ได้เลย การจับทนาย จับนักศึกษา จับประชาชน จับนักร้อง นักกิจกรรมจนสูญเสียอิสระ ทั้งนี้ตอนอยู่ข้างในเรือนจำ ก็มีการพูดคุยปลอบใจกันว่า อยากน้อยเรายังไม่ถูกอุ้มหาย คือเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วหรือที่จะต้องมีคนโดนจับขังเราเคยชินไปแล้วหรือ กับการอุ้มหาย บางคนแค่โพสต์เฟซบุ๊ก ยังโดนโทษติดคุกตั้งสามปี ตนจึงอยากสื่อสารกับการที่ต้องสูญเสียอิสระภาพไป

ส่วน รุ้ง ปนัสยา กล่าวว่า ขอให้ศาลทำให้พวกเชื่อมั่นว่ากระบวนการ นี้ยังคงยุติธรรม วันนี้ไม่มีอะไรต้องกังวลวันนี้เป็นนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก

ด้าน เพนกวิน กล่าวถึง การเคลื่อนไหว ของกลุ่มราษฎร ในวันที่ 24 มิ.ย.ว่า การที่ประชาชนหลายกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวเป็นข้อพิสูจน์แล้วว่าการคงอยู่ของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่เป็นข้อดี ฉะนั้นแล้วถ้าพี่น้องประชาชนเล็งเห็นว่าการมีอยู่ของรัฐบาลนี้ไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้นก็ขอให้ออกมาร่วมชุมนุม และยังคงยืนยันหลักการเดิม 3 ข้อเรียกร้อง ที่กลุ่ม “คณะราษฎร”เคยประกาศว่าจะเป็นจุดยืน ได้แก่ 1. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และองคาพายพ ลาออก 2. รัฐสภาต้องเปิดประชุมวิสามัญทันทีเพื่อรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และ 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย

ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น ตนมองว่า ไม่ละเมิดเงื่อนไขที่ศาลกำหนดเพราะที่ผ่านมา การขอให้ปฏิรูปสถาบัน เป็นการขอให้สถาบันพัฒนาในทางที่ดีขึ้นไม่ได้ประสงค์ทำให้สถาบันเสื่อมเสีย ส่วนการออกมาชุมนุมก็ไม่เคยก่อความวุ่นวายใดๆ อยากขอให้ตำรวจเข้าใจและอำนวยความสะดวก

ส่วนกรณีที่บช.น.ออกมา แถลงว่า จะจัดกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัย ให้นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ในส่วนของ การแถลงว่าดำเนินคดีไปแล้วมากกว่า 150 คดีในการทำกิจกรรมทางการเมืองนั้น เพนกวินกล่าวว่า ถ้าตำรวจคิดว่าทำถูกก็ทำมาอีก 150 คดี

นายจตุภัทร บุญภัทรรักษาหรือไผ่ ดาวดิน กล่าวในเรื่องเดียวกันนี้ว่า  ยังยืนยันว่าการชุมนุมยังคงมีต่อไป และในวันดังกล่าว เป็นวันที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญที่สำคัญมาก ซึ่งสภาไม่รับร่างของพรรคฝ่ายค้าน แต่รับเรื่องของพรรคพลังประชารัฐเพียงอย่างเดียว ทำให้เห็นกลไกว่ารัฐสภาไปต่อไม่ได้ ดังนั้นมีความจำเป็นจริงๆที่เราต้องออกมายืนยันหลักการเพื่อทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ รัฐธรรมนูญจึงเป็นหลักแรก เราคิดว่าพื้นที่ของรัฐสภาเป็นพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาแต่ว่ารัฐสภาแก้ไขปัญหาไม่ได้เพราะติดกลไกของรัฐธรรมนูญ กลไกของ250 เสียง เพราะฉะนั้นเราต้องขับไล่ระบบนี้ออก และวันนั้นเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง และมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก จนถึงตอนนี้ผ่านมา 89 ปีแล้วแต่รัฐธรรมนูญไทยก็ยังไม่ไปไหน

ในวันนั้นเราก็จะยืนยันอ่านประกาศจากคณะราษฎรเหมือนเดิม กิจกรรมที่กำลังจะจัดชุมนุมถือว่าเป็นการรวมกลุ่มของหลายๆกลุ่มของคณะราษฎร ซึ่งจะมีกิจกรรมตั้งแต่เวลา 05.00 น. จนถึงช่วงกลางคืน รวมพี่น้องในจังหวัดต่างๆก็จะ ออกมาเคลื่อนไหวเช่นกัน ส่วนในเรื่องตำรวจจะเข้ามาดูแลความเรียบร้อยนั้น เราแค่ต้องการไปแสดงเจตนารมณ์ยืนยันหลักการ น่าจะให้พวกเราได้มีพื้นที่บ้าง ถ้าตำรวจจะปิดกั้นทุกอย่าง ตนคิดว่าจะทำให้สถานการณ์แย่ลง ตำรวจน่าจะเข้าใจและให้เราได้ทำตามสิทธิของพลเมือง เราไม่ได้อยากให้เกิดความรุนแรงการปะทะกัน แม้ในสถานการณ์โควิด-19 ยังรุนแรงแต่เราจำเป็นต้องออกมาเคลื่อนไหวจริงๆ เพราะกลไกรัฐสภาทำให้ไม่เหลือทางของประชาชนแล้ว

ในขณะเดียวกัน ทางด้านของนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำไทยไม่ทน ก็ได้ยื่นข้อเรียกร้องถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และยังมีข้อเรียกร้อง 4 ข้อคือ

1. ขอประกาศขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในทันที เพื่อให้รัฐสภาเลือกบุคคลอื่นที่มีความสามารถมากกว่ามาบริหารบ้านเมืองในสถานการณ์วิกฤตครั้งนี้โดยเร็วที่สุดตามครรลองประชาธิปไตย
2. พันธกิจของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ จะต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจผูกขาดและล้มเหลวในทันที ยกเลิกการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และฉีดวัคซีนฟรีทั่วประเทศตามความสมัครใจของประชาชน ฟื้นฟูชาติบ้านเมืองจากวิกฤตด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว
3. ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยฉบับใหม่โดยประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญโดยเร็วที่สุด โดยให้เสร็จก่อนหมดวาระเพื่อการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้าภายใต้กติกาที่เป็นประชาธิปไตยและได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายในสังคม
4. ให้มีการตั้งกรรมาธิการพิเศษในรัฐสภาเพื่อปรับปรุงสถาบันและองค์กรทางการเมืองต่างๆ โดยเฉพาะการปฏิรูปกองทัพและตำรวจอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาประเทศ รวมถึงข้อเสนอการปรับปรุงสถาบันกษัตริย์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ซึ่งข้อ 4  ที่บอกว่า ให้ปรับปรุงสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีการสอดคล้องกลับกลุ่มคณะราษฎร ที่ต้องการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันด้วย