Truthforyou

รมว.ยุติธรรมเล็งใช้ข้อหากบฏผู้ชุมนุมถูกจับทั่วสหรัฐ!?! ประกาศ นิวยอร์ก-พอร์ตแลนด์-ซีแอตเติล เป็นเขตอนาธิปไตย เพิ่มตึงเครียด!

สถานการณ์ความวุ่นวายจากการประท้วงต้านเหยียดผิว Black Live’s Matter ที่บานปลายทั่วสหรัฐ ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และในบางพื้นที่ยกระดับความรุนแรงเกิดการปะทะระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงและกลุ่มผู้เห็นต่างซึ่่งสนับสนุนปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ เกิดสภาพจลาจล มีการเผาทำลายสถานที่ ปล้นสินค้า และในบางพื้นที่ประกาศเป็นเขตปลอดตำรวจ เป็นต้น กรณีนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสหรัฐเล็งจะดำเนินคดีข้อหากบฎกับผู้ชุมนุมประท้วงที่ถูกทางการจับกุมในทั่วประเทศ และได้ประกาศ 3 เมืองเป็นเขตอนาธิปไตย ได้แก่ นิวยอร์กซิตี้-พอร์ตแลนด์-ซีแอตเติล เกิดเสียงคัดค้านในหมู่นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนในสหรัฐอย่างกว้างขวาง

สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นเปิดเผยว่านายวิลเลียม บาร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสหรัฐแสดงความไม่พอใจในการจัดการกับจลาจลของอัยการในท้องถิ่นและของรัฐ โดยเขาต้องการให้มีการตั้งข้อหาเกี่ยวกับการชุมนุมประท้วง รวมทั้งข้อหากบฎซึ่งเป็นข้อหาที่ไม่ได้มีการใช้บ่อยนัก และเมื่อวันจันทร์ (21 ก.ย.2563) ประกาศให้ 3 เมืองใหญ่เป็นเขตอนาธิปไตย ได้แก่นิวยอร์กซิตี้, มลรัฐนิวยอร์ก-พอร์ตแลนด์, มลรัฐโอริกอน-ซีแอตเติล, มลรัฐวอชิงตัน

บาร์บอกกับทนายความทั่วประเทศว่า เขาต้องการให้ทนายความนำวิธีที่รัฐบาลกลางดำเนินการเป็นมาวิธีจัดการกับความไม่สงบในเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ ในขณะที่ทนายความบางคนก็ไม่ได้เห็นด้วยกับบาร์ที่จะตั้งข้อหากบฎ ซึ่งเป็นข้อหาที่ค่อนข้างรุนแรง ท่าทีล่าสุดของบาร์สอดคล้องกับการแสดงออกต่อกรณีการเสียชีวิตของฟลอยด์เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ซึ่งเขาสนับสนุนตำรวจและการสลายการชุมนุม แทนที่จะสนุบสนุนการใช้วิธีสันติอย่างการปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมายตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา อัยการของรัฐบาลกลางได้สั่งฟ้องคดีมากกว่า 200 คดีต่อผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในระหว่างการประท้วงที่มีชนวนมาจากการสังหาร จอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวสีที่เสียชีวิตจากการใช้กำลังเกินกว่าเหตุของตำรวจระหว่างถูกจับกุมตัว โดยคดีข้างต้นบางคดีเป็นอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อจลาจล บางคดีเป็นความผิดสถานเบาซึ่งโดยปกติแล้วจะได้รับการจัดการโดยหน่วยงานท้องถิ่นไม่ใช่อัยการของรัฐบาลกลางและก่อนหน้านี้ บาร์ยังมีคำสั่งให้จัดการกับผู้ประท้วงอย่างเด็ดขาด ด้วยการสั่งให้เจ้าหน้าที่กวาดล้างผู้ประท้วงอย่างสงบที่จัตุรัสลาฟาแยต สวนสาธารณะซึ่งอยู่ติดกับทำเนียบขาวที่กลุ่มผู้ชุมนุมเคยใช้เป็นที่รวมตัวกันก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ ในปี 2010 รัฐบาลกลางเคยตั้งข้อหากับสมาชิกอาสาสมัครชาวคริสเตียนที่เรียกว่าฮุทาเรสว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการปลุกระดม แต่พวกเขาพ้นผิดเพราะขาดหลักฐาน และในปี 1930 อัยการของรัฐบาลกลางประสบความสำเร็จในการใช้กฎหมายเดียวกันนี้ต่อต้านผู้แบ่งแยกดินแดนเปอร์โตริโก

สถานการณ์ล่าสุดในซีแอตเติล

หลังจากที่การประท้วงเพื่อจอร์จ ฟลอยด์ ที่เกิดขึ้นมานานหลายวัน ได้ลุกลามบานปลายใหญ่โตในเมืองนี้ โดยผู้ประท้วงได้บุกยึดสถานีตำรวจ 1 แห่ง ในในเขตอีสต์ พรีซิงค์ของซีแอตเติลและพื้นที่โดยรอบอีกทั้งหมด 6 ช่วงตึก ในย่านแคปปิตอล ฮิลล์ ซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่นของซีแอตเติล และจัดตั้งเป็นเขตปกครองตนเอง ซึ่งผู้ประท้วงได้ตั้งชื่อเขตปกครองตนเองดังกล่าวว่า “ชาซ” (Chaz) ย่อมาจาก Capitol Hill Autonomous Zone (แคปปิตอล ฮิลล์ ออโตโนมัส โซน) และประกาศเป็นเขต ปลอดตำรวจ อย่างไรก็ดี การที่ผู้ประท้วงสามารถบุกยึดสถานีตำรวจได้ เป็นเพราะทางการซีแอตเติลสั่งให้ตำรวจ เคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางตามถนนออกไป และให้ตำรวจถอนตัวออกไปจากสถานีตำรวจอีสต์ พรีซิงค์ด้วย หลังจากผู้ประท้วงขู่จะวางเพลิงเผาสถานีตำรวจดังกล่าว โดยทางการหวังจะลดสถานการณ์ที่ตึงเครียดลง หลังจากที่เกิดการปะทะระหว่างผู้ประท้วงกับตำรวจมานานหลายวันในซีแอตเติล

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ ประกาศจะใช้ทหารกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ บุกเข้ายึดคืนพื้นที่ในเมืองซีแอตเติล หลังผู้ประท้วงเพื่อจอร์จ ฟลอยด์ บุกยึดสถานีตำรวจและพื้นที่ในเมืองซีแอตเติลจัดตั้งเป็นเขตปกครองตนเองปลอดตำรวจ พร้อมสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเลิกใช้วิธีการล็อกคอเพื่อควบคุมผู้ต้องสงสัย

Exit mobile version