เร่งเดินหน้าไฮสปีดเทรนไทย?!?เชื่อมต่อไฮสปีดเทรนลาว-จีนก่อนสูญเม็ดเงิน เสียโอกาสส่งออก-ลงทุนฟื้นเศรษฐกิจ

2168

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายคุนหมิง – เวียงจันทน์ เป็นเส้นทางเริ่มต้นที่จีนมีการสร้างเครือข่ายรถไฟ ความเร็วสูงสู่อาเซียน โดย สปป.ลาว ตกลงเห็นชอบให้จีนเป็นผู้จัดหาเงินทุนสร้างทางรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง ดังกล่าว มูลค่า 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟสายแพนเอเชีย หรือ Pan – Asian Railway Network ของจีน ที่มีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายทางรถไฟเชื่อมจีนตอนใต้สู่ประเทศอาเซียน

เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.2564 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือสปป.ลาวและจีน ได้วางรางรถไฟเสร็จสมบูรณ์ 100%แล้ว ระยะทาง417กม.จากต้นทางเวียงจันทน์ ผ่านหลวงพระบาง หลวงน้ำทา บ่อเต็น ถึงปลายทางที่ชายแดนยูนนานของจีน เป็นรางขนาด 1.435 เมตร มี 31 สถานีรวมทั้ง 5 สถานีหลัก วิ่งผ่านอุโมงค์ 76 แห่งที่มีความยาวรวม 195.78 กิโลเมตรและสะพาน 154 สะพานที่มีความยาวรวม 67.15 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 6,800 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 238,000 ล้านบาท) สามารถเชื่อมต่อระบบรถไฟจีน ไปเที่ยวถึงสิบสองปันนา แล้วต่อไปยังเมืองคุนหมิงซึ่งเป็นเมืองเอกของมณฑลยูนนาน เป็นไปตามโครงการ “ Halfway Corridor” เป็นโครงการภายใต้แนวคิด “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”(One Belt One road) ของจีน และยุทธศาสตร์ของ สปป.ลาว ในการเปลี่ยนจากประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเล เป็นศูนย์กลางของการขนส่งทางบก

แม้ในสถานการณ์โควิด-19 ก็ตาม รถไฟลาว-จีน ได้ดำเนินการไปตามแผนที่กำหนดซึ่งจะเปิดดำเนินการเป็นทางการ ในวันที่ 2 ธ.ค.2564 ซึ่งเป็นวันชาติของสปป.ลาว คนไทย-ลาวและจีนก็สามารถเลือกเดินทางระหว่างกัน ผ่านเส้นทางนี้สะดวกแล้ว มาขึ้นรถไฟที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาวได้

บริษัท Lao Song Laozhong Railway Co. , Ltd. จัดซื้อรถไฟ รุ่น CR200J “Fuxing” ผลิตโดย  บริษัท ร่วมทุนระหว่าง China Railway Group และ CRRC สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 160 กม. / ชม.(สำรองอีก200กม./ชม.) มาให้บริการสองขบวนแรก โดย บริษัท China-Laos Railway Co. , Ltd. เป็น บริษัท ร่วมทุนที่ก่อตั้งโดย บริษัท จีนและลาวในเวียงจันทน์สปป. ลาวด้วยทุนจดทะเบียน 1.5 หมื่นล้านหยวน

รถไฟความเร็วสูงสายคุนหมิง – เวียงจันทน์เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟแพนเอเซียสายกลาง (Central Line) เชื่อมต่อมายังเวียงจันทน์ของ สปป.ลาว และหากพิจารณาเส้นทางรถไฟแพนเอเซียจากทั้งสามเส้นทางจะเห็นว่า ไทยได้เปรียบทางที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เนื่องจากเส้นทางทั้ง 3 เส้นต้องผ่านประเทศไทย ดังนั้นไทยควรเตรียมรับมือ ในทุกๆ ด้านเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดตามเส้นทางดังกล่าวพาดผ่าน ซึ่งประโยชน์ที่คาดว่าไทยจะได้รับจากการเชื่อมต่อ กับเส้นทางรถไฟจีนสายแพนเอเซีย คือ

  1. การจ้างงานและสร้างรายได้แก่คนไทย การสร้างเส้นทางรถไฟแพนเอเชียเชื่อมจีนสู่อาเซียนผ่านไทยจะก่อให้เกิดการสร้างงาน และสร้าง รายได้ให้แก่แรงงานไทยในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ ซึ่งหากโครงการแล้วเสร็จจะส่งผลดีต่อการขนส่งสินค้าและ การท่องเที่ยว ชาวจีนและชาวต่างชาติจะเข้ามาท่องเที่ยวไทยและภูมิภาคอาเซียนมากขึ้นเนื่องจากมีช่องทางการ เดินทางระหว่างจีนและอาเซียนที่สะดวกมากขึ้น
  2. การขยายฐานการตลาด มณฑลยูนนานจะสร้างให้นครคุนหมิงกลายเป็นศูนย์กลางคมนาคมระบบราง ที่สําคัญโดยมีเส้นทางรถไฟกระจายรอบเมืองคุนหมิง และมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากต่างมณฑลรอบๆ เข้าสู่เมือง คุนหมิง รวมถึงมีเส้นทางระหว่างประเทศเชื่อมสู่อาเซียนและเอเชียใต้กลายเป็นศูนย์กลางคมนาคมระบบรางที่ สําคัญของภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ปัจจุบันจีนภาคตะวันตกมีจํานวนประชากรประมาณ 370 ล้านคน เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีการติดต่อค้าขายกับตลาดโลก อีกทั้งตามแผน ก่อสร้างเครือข่ายรถไฟแห่งชาติของจีนจะมีการขยายเส้นทางรถไฟเป็นระยะทางไกลถึง 120,000 กิโลเมตร ภายใน สิ้นปี 2563 และ 170,000 กิโลเมตร ภายในสิ้นปี 2573 โดยเมื่อก่อสร้างเสร็จ ร้อยละ 60 ของทางรถไฟของจีนจะ อยู่ในภาคตะวันตกของประเทศ ดังนั้นการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เชื่อมเข้ากับจีนโดยเฉพาะมณฑลยูนนานซึ่งอยู่ ใกล้ไทยมากที่สุดนับว่าเป็นการสร้างโอกาสที่ดีให้กับไทยที่จะพัฒนาฐานการตลาดขนาดใหญ่ต่อไปในอนาคต  

  1. การถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการขนสงระบบราง จีนเป็นหนึ่งในประเทศผู้นําด้านเทคโนโลยีการขนส่งระบบรางเนื่องจากมีเครือข่ายรถไฟที่ยาวเป็น อันดับ 3 ของโลก รวมถึงการพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง และหากมีความร่วมมือในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ ความเร็วสูงระหว่างไทยกับจีนทําให้ไทยได้รับความรู้ทางเทคโนโลยีระบบรางของจีน รวมถึงการยกระดับการ ก่อสร้างเส้นทางรถไฟและทําให้คนไทยได้ฝึกฝนทักษะความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง ซึ่งนับเป็นความ ท้าทายที่สําคัญของไทยในการพัฒนารถไฟของไทยด้วย

  1. การเชื่อมโยงกับนิคมอุตสาหกรรมชายแดนของไทย โครงการรถไฟแพนเอเชียสามารถเชื่อมกับนิคมอุตสาหกรรมชายแดนของไทยทั้ง 3 แห่ง โดยนิคม อุตสาหกรรมชายแดนเชียงของ จ.เชียงราย ซึ่งมีเป้าหมายให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมบริการด้านโลจิสติกส์ที่เชื่อมต่อ เส้นทางการค้าการขนส่งไปสู่พม่า ลาว และจีนตอนใต้ (มณฑลยูนนาน) ซึ่งนิคมฯ ห่างจากเส้นทางรถไฟแพนเอเซีย สายกลาง (Central Line) ผ่านบ่อเต็น หลวงน้ําทาของ สปป.ลาว ประมาณ 200 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางถนน R3A และเส้นทางรถไฟแพนเอเซียสายตะวันตก (Western Line) สามารถเชื่อมต่อกับเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด 3 จ.ตาก และนิคมอุตสาหกรรมชายแดนพุน้ําร้อน จ.กาญจนบุรีซึ่งมีเป้าหมายเพื่อรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมใน นิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า