ไทยรัฐ หน้าเสีย รีบลบอย่างไว หลัง IG แปลข่าวพระบรมราชินี โดยใช้คำ ดูแคลนเหยียดหยามสตรีร้ายแรง

3684

สุดรับไม่ได้!? “ไทยรัฐ” หน้าเสีย รีบลบอย่างไว หลัง IG แปลข่าวพระบรมราชินี โดยใช้คำ ดูแคลนเหยียดหยามสตรีร้ายแรง!!

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 3 มิ.ย.64 ซึ่งถือว่าเป็นอีกวันที่สำคัญมากสำหรับคนไทย และประเทศชาติ โดยเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ซึ่งประชาชนชาวไทย และสื่อทั่วโลกก็ให้การตอบรับเป็นอย่างดี

จนกระทั่ง ในวันที่ 4 มิ.ย.64 ได้เกิดดราม่ารุนแรงขึ้น เมื่อทางด้านของ แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์ นักหนังสือพิมพ์ของรอยเตอส์ ที่มีพฤติกรรมเคลื่อนไหวเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยมานานหลายปี ไม่ว่าจะเป็นการโจมตี การหมิ่นสถาบันฯ เรื่องต่างๆ และเป็นผู้ที่หลบหนีคดี ม.112 ได้โพสต์ภาพ โดยอ้างว่ามาจาก “สำนักข่าวไทยรัฐ”

ซึ่งเป็นข่าวเกี่ยวกับ 3 เหล่าทัพ ยิงสลุตหลวงเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ 3 มิถุนายน 2564

โดยข่าวดังกล่าวนั้น เป็นการโพสต์ผ่าน IG ซึ่งมีเฟสบุ๊คเป็นผู้พัฒนา ได้แปลข้อความข่าวดังกล่าวผิดพลาดที่เรียกได้ว่าร้ายแรงเป็นอย่างมาก โดยทางด้านของ นายแอนดรูว์ ได้แปลภาษาจากไทยเป็นภาษาอังกฤษ และพบว่ามีประโยคว่า “Shooting the Royal Slut” ซึ่งคำว่า “Slut” เมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้วนั้น ถือว่าเป็นคำเหยียดหยามและดูแคลนผู้หญิงอย่างรุนแรง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วจะต้องใช้คำว่า Salute ซึ่งมีความหมายในเชิง คำนับ แสดงความเคารพ แสดงคารวะ

ทั้งนี้ทางด้านของ นายแอนดรูว์ ยังได้โพสต์ข้อความในเชิงเป็นความผิดพลาดในการแปลภาษาอัตโนมัติ ของ Facebook และ Instagram แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เมื่อทีมข่าว The Truth ได้เข้าไปตรวจสอบข่าวดังกล่าว ของไทยรัฐ กลับไม่พบข่าวดังกล่าว คาดว่าทางด้านของทีมงาน น่าจะทราบถึงความผิดพลาดและลบออกแล้ว

ซึ่งหากว่าย้อนกลับไปเมื่อประมาณวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2563 ได้เคยมีประเด็นการแปลภาษาผิดพลาดร้ายแรง และเป็นประเด็นมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการที่ทางด้านของ Thai PBS โพสต์ข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า “Candle-lighting ceremony to celebrate the birthday of HM the King on July 28, 2020 at 6.45 PM”

แต่ทางด้านของ เฟสบุ๊คได้แปลออกมาอย่างตรงกันข้ามเมื่อเปลี่ยนเป็นภาษไทยว่า “พิธีถวายเทียนเพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวัน…ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ 28 กรกฎาคม 2020 เวลา 6.45 น.” ซึ่งความหมายนั้นตรงกันข้ามอย่างรับไม่ได้ ทำให้หลายๆคนต่างมองถึงเจตนาของ เฟสบุ๊ค และ อินสตาแกรม ว่า “ตั้งใจ” หรือ “ผิดหลาด” กันแน่