รมว.กลาโหมกัมพูชาปลื้มจีน!?!ช่วยปรับปรุงฐานทัพเรือทันสมัย ช่วยด้านอื่นๆไม่มีข้อผูกมัด ขณะฮุนเซนย้ำไม่ให้พึ่งจีนไม่รู้จะพึ่งใครได้!!

1855

รัฐบาลและกองทัพกัมพูชา แสดงท่าทียินดีต่อความช่วยเหลือจากจีนอย่างเปิดเผย ในการซ่อมแซมฐานทัพเรือเรียม ซึ่งเป็นฐานทัพขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ในช่วงไม่กี่ปีมา จีนกลายเป็นพันธมิตรทางการเมืองและเศรษฐกิจ ที่สำคัญมากขึ้นสำหรับกัมพูชา ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ เสื่อมถอยลงอย่างมาก จากปัญหาที่สหรัฐสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาล กดดันด้านสิทธิมนุษยชน การค้า และการแสวงหาพันธมิตรต้านปักกิ่งของสหรัฐ ขณะมาเยือนยังได้แสดงท่าทีตอกย้ำความไม่พอใจต่อรัฐบาลกัมพูชาที่มีสัมพันธุ์อีนดีกับจีน

วรรคทองของปธน.สมเด็จฮุนเซนล่าสุด ยืนยันท่าทีของรมว.กลาโหมอย่างชัดแจ้ง ‘If I don’t rely on China, who will I rely on?’ หมายความว่า “ไม่ให้ฉันพึ่งจีนแล้วจะให้ฉันพึ่งใคร”

เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.2564 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ว่าพล.อ.เตีย บัญ รมว.กลาโหมของกัมพูชา กล่าวเมื่อวันพุธ ว่ารัฐบาลพนมเปญได้รับความสนับสนุนเป็นอย่างดีจากจีน ในการปรับปรุงภูมิทัศน์ และจัดการสภาพพื้นที่บริเวณท่าเรือเรียม ที่จังหวัดพระสีหนุวิลล์ มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านกลาโหมของกัมพูชาอย่างมาก โดยเฉพาะกิจการของกองทัพเรือและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการเทียบท่า และการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ กัมพูชามีความซาบซึ้งใจอย่างมากต่อความช่วยเหลือจากรัฐบาลปักกิ่ง 

ถ้อยแถลงดังกล่าวของพล.อ.เตีย บัญ เกิดขึ้นเพียงวันเดียว หลังนางเวนดี เชอร์แมน รมช.การต่างประเทศสหรัฐ เข้าพบสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่กรุงพนมเปญ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เรียกร้องกัมพูชา “รักษาสมดุล” และความเป็นอิสระด้านการดำเนินนโยบายต่างประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเป็นลำดับสูงสุด 

ขณะเดียวกัน เชอร์แมน “ขอคำชี้แจงอย่างสมเหตุผล” จากกัมพูชา กรณีการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่สหรัฐสร้างไว้ให้ภายในฐานทัพเรือเรียม ซึ่งเป็นฐานทัพเรือขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ เนื่องจากรัฐบาลวอชิงตันมองว่า จะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี และเสถียรภาพด้านความมั่นคงในระดับภูมิภาคด้วย ด้านรัฐบาลจีนยังคงไม่มีปฏิกิริยาอย่างเป็นทางการ ต่อท่าทีของสหรัฐและกัมพูชาในเรื่องนี้

ในเดือน ต.ค.2563 กัมพูชายืนยันว่าได้รื้อถอนอาคารที่สร้างขึ้นโดยสหรัฐฯ ที่ฐานทัพเรือเรียมของกัมพูชา ที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับปรุงฐานทัพเรือ แต่ได้ปฏิเสธรายงานว่าจีนจะมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้และในปีที่ผ่านมา เพนตากอนได้ขอคำอธิบายจากกัมพูชาเกี่ยวกับการรื้อถอนดังกล่าว

พล.อ.เตีย บัญ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของกัมพูชากล่าวกับสำนักข่าวเฟรชนิวส์ว่า กัมพูชาได้ขอความช่วยเหลือจากจีน เขากล่าวว่า “การสนับสนุนของจีนในการพัฒนาท่าเรือเรียมคือการยกระดับภาคส่วน การป้องกันของกัมพูชาในส่วนของการเดินเรือ หรือเพื่อให้กัมพูชามีฐานที่เหมาะสม มีอู่ซ่อมเรือ และท่าเรือที่เหมาะสมสำหรับเทียบท่า” “พวกเขามาช่วย กัมพูชารู้สึกซาบซึ้งและขอขอบคุณพวกเขา และความช่วยเหลือนี้ได้พูดคุยหารือกันอย่างชัดเจนว่าความช่วยเหลือมีขึ้นโดยไม่มีข้อผูกมัด” 

กัมพูชาเป็นประโยชน์ต่อปักกิ่งในฐานะสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่แสวงหาฉันทามติในการตัดสินใจประเด็นสำคัญของกลุ่ม ที่การตัดสินใจบางครั้งส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของจีน ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ พยายามมีส่วนร่วมกับอาเซียนและชาติสมาชิกมากขึ้น เพื่อต้านอิทธิพลจีนที่ขยายตัวขึ้นและเป็นคู่ค้าที่โดดเด่นของภูมิภาค(อิจฉาว่างั้น)

สหรัฐฯ กังวลทหารจีนโผล่ฐานทัพเรือเขมร ร้องฮุนเซนดำเนินนโยบายต่างประเทศให้สมดุล แม้เป็นภาษาสุภาพทางการทูตแต่ก็ไม่ถูกใจสมเด็จฮุนเซนนัก นางเวนดี้ เชอร์แมน รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เรียกร้องให้ผู้นำกัมพูชาคงไว้ซึ่งนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระและสมดุลเพื่อผลประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนของกัมพูชา โดยได้เข้าพบหารือกับนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ที่ปกครองประเทศมานานกว่า 35 ปี และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมากขึ้น ขณะที่วอชิงตันกล่าวประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของเขา และให้การสนับสนุนฝ่ายต่อต้านฮุนเซนอย่างเปิดเผย

เพนตากอนได้กล่าวว่า มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับรายงาน ว่ากองบัญชาการทางยุทธวิธีของกองทัพเรือกัมพูชาที่ฐานทัพเรือเรียมถูกรื้อถอน และได้ขอคำอธิบายจากกัมพูชา

อาคารดังกล่าวที่มีความยาวราว 30 เมตร ถูกใช้เป็นที่จอดเรือตรวจการณ์ขนาดเล็กหลายลำ และในเดือน ต.ค. กัมพูชาระบุว่าได้รื้อถอนอาคารหลังดังกล่าวเพื่อรองรับการขยายพื้นที่เพิ่มเติม โดยอาคารที่ถูกรื้อไปนั้นจะย้ายไปสร้างในสถานที่แห่งใหม่ และได้ปฏิเสธรายงานที่อ้างว่าจีนมีส่วนเกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ เชอร์แมนยังได้พบหารือกับ แกม สุขา ผู้นำฝ่ายค้าน กลุ่มประชาสังคม และนักข่าว การเยือนกัมพูชาครั้งนี้ถือเป็นการเยือนของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อนที่พรรคฝ่ายค้านของแกม สุขา จะถูกยุบพรรคในปี 2560 โดยเชอร์แมน ยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนและเรียกร้องให้กัมพูชาปฏิบัติตามข้อผูกพันระหว่างประเทศ