Truthforyou

พระอารยวังโส 12ปีผู้ฟื้นฟูมาฆบูชาในแดนประทับพระพุทธองค์ กับกุฎิหลังเล็กสวนป่าเวฬุวัน

จากที่มีเรื่องราวน่าชวนติดตามเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของ พระอาจารย์อารยวังโส เจ้าอาวาสวัด​ป่าพุทธพจน์หริภุญไชย จังหวัดลำพูน โดยวันนี้ยังมีเหตุการณ์ให้นับย้อนวันเวลากลับไปเมื่อคืนที่ 28 พฤษภาคม 2561

พระอาจารย์อารยวังโส  กูรูจีของชาวอินเดีย ได้พักอาศัย อยู่ในกุฏิเล็กๆหลังเดียว ตั้งอยู่ในสวนป่าเวฬุวัน หรือ เวฬุวันมหาวิหารวัดแห่งแรกของพระพุทธศาสนา สถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า ในพรรษา ที่ 2-3-4—17 และ 20

เป็นวัดมหาวิหาร ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำอุโบสถครั้งแรก เนื่องในวันมาฆบูชาด้วยทรงประทานพระโอวาทปาฏิโมกข์แด่พระอรหันตสาวก  1250 รูป ที่ล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา สมบูรณ์ด้วยปฏิสัมภิทาญาณที่มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายในวันเพ็ญเดือนสาม ก่อนพรรษาที่ 2 ของพระพุทธองค์

เวฬุวันมหาวิหาร จึงเป็นเครื่องหมายแห่งการประดิษฐานพระพุทธศาสนาลงในใจกลางมหาชนในชมพูทวีป จึงขนานนาม พระนครราชคฤห์ว่า เป็นมหานครพระพุทธศาสนาโดยมีเวฬุวันมหาวิหาร เป็นเครื่องแสดงที่สืบเนื่องอายุพระพุทธศาสนามายาวนานแม้ถึงปัจจุบัน

เวฬุวันมหาวิหาร จึงเป็น 1 ใน 8 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ของพระพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธทั่วโลกจะพากันไปเยือนเพื่อถวายสักการะบูชา

ปี2553 กุฏิหลังเล็กดังกล่าวเกิดขึ้นในสวนป่าเวฬุวันโดย ความยินยอมของเจ้าหน้าที่ป่าไม้แห่งรัฐพิหาร เพื่อเป็นที่พักของพระอารยวังโส ที่ชาวอินเดียเรียกขานด้วยความเคารพ สืบต่อมาจากสมัยจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำบนภูเขาดงคสิริสถานที่บำเพ็ญเพียรทุกรกิริยา 6 ปี ก่อนตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันเพ็ญเดือนหก วิสาขบูชา เมื่อทรงมีพระชนมายุครบ 35 พรรษา

ในปี 2553 พระอาจารย์อารยวังโส ได้รับอนุญาตให้จัดงานมาฆบูชาโลก ณ. เวฬุวันมหาวิหาร หรือ สวนป่าเวฬุวันในปัจจุบันได้โดยในปีแรกได้จัดงานมาฆบูชา ควบคู่กันกับที่ดิกซภูมี นครนาคปุระ รัฐมหาราษฏร์ ที่มีชาวพุทธอินเดียมาร่วมงานหลายพันคน นับเป็นหลักหมื่นตามประมาณการในขณะนั้น จนสื่อมวลชนในอินเดีย พร้อมใจกันเรียกวันดังกล่าวว่า Historic day of Buddhist in India ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว

การจัดงานมาฆบูชานับเป็นอุบายอันสำคัญยิ่ง เพื่อการประดิษฐานพระพุทธศาสนา กลับคืนมาให้เข้มแข็ง มั่นคง อีกครั้งหนึ่งในถิ่นพุทธภูมิแผ่นดินเกิดพระพุทธศาสนา!!! พระอารยวังโส โดยการสนับสนุนของมหาโพธิสมาคมในอินเดียที่นับเป็นกัลยาณมิตร ทางธรรมที่แท้จริงในขณะนั้นจึงได้ฟื้นฟูสืบสานการจัดงาน มาฆบูชาอย่างต่อเนื่อง นับเนื่องจนถึงปัจจุบันครบ  12 ปี ใน2564 ซึ่งแม้ว่าจะเกิดไวรัสโควิด 19 แต่งานมาฆบูชา ก็ยังดำเนินไปอย่างปกติ ดังภาพที่ปรากฏท่ามกลางสายตาชาวฮินดูในท้องถิ่น ตำบลราชกีร์

การจัดงานมาฆบูชาที่ต่อเนื่องสู่การได้รับ official  permit จากหน่วยงานรัฐบาลอินเดีย ให้พระอาจารย์อารยวังโส สามารถนำพระสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษาได้ ในปี 2557 นับเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เป็นข่าวใหญ่ที่แพร่ไปทั่วในหมู่ชาวพุทธนานาชาติ ในพุทธคยาโดยเฉพาะข่าวการได้รับอนุญาตให้ พัฒนาพื้นที่ลานหญ้าพระโอวาทปาฏิโมกข์เป็นลานหินอ่อน มี มหาเจติยะพระโอวาทปาฏิโมกข์ ขึ้นตรงใจกลาง ที่เกิดจากการพัฒนาโดยพรอารยวังโส ที่สำฤทธิ์ผลด้วยปาฏิหารย์แห่งธรรมอย่างแท้จริง ดังบันทึกในหนังสือพระมหาเจติยโอวาทปาฏิโมกข์ ที่รวบรวมเรื่องราวพร้อมหลักฐานภาพ ต่างๆใว้ให้ศึกษา

โดยมีเหตุการณ์หนึ่งที่บันทึกไว้ในครั้งนั้นคือ การเสด็จไปถวายการสักการะพระอาจารย์อารยวังโส เพื่อขอรับพร รับธรรม ของพุทธกษัตริย์หนึ่งเดียวแห่งชมพูทวีป และพระราชินี จากราชอาณาจักรภูฏาน ที่ชาวไทยรู้จักในพระนาม กษัตริย์จิ๊กมี่ พระราชินีเปมา ในวันมหาปวารณาออกพรรษา  8 ตุลาคม 2557 ในปีนั้น ซึ่งนับเป็นข่าวใหญ่ที่แพร่ไปทั่วแม้ในประเทศไทย

จากปี2557 ถึง 2561 พระอาจารย์อารยวังโส ได้วางแผนการขออนุญาต ผ่านทางการทูตโดยประสานงานตรงกับ ท่านเอกอัคราชทูตอินเดีย ประจำไทย ในขณะนั้นเพื่อยกอุโบสถขึ้นตรงลานหินอ่อนพระโอวาทปาฏิโมกข์  ใจกลางเวฬุวันมหาวิหารดังกล่าวโดยได้รับการสนับสนุนตอบรับด้วยดี จึงนำไปสู่การสามารถ จัดงานสวดถอน ตัดลูกนิมิต สวดประกาศเขตสีมาของ  พระอุโบสถหลวงอันเป็นพระอุโบสถดั้งเดิมของพระพุทธองค์ได้ ทั้งนี้โดยการสนับสนุนอย่างเต็มกำลังของสองพระมหาเถระ คณะสงฆ์ไทยคือพระธรรมเมธาจารย์ วัดโสมนัสวรวิหาร พระธรรมปาโมกข์ วัดราชผาติการาม พร้อมคณะสงฆ์สายพระป่าธรรมยุตจากประเทศไทยมากกว่า 40 รูป

โดยการอำนวยการจัดงานโดยพระอาจารย์อารยวังโส ซึ่งเริ่มพิธีการตั้งแต่ 02.00 ของวันที่ 29 พ.ค.2564 จนถึงเช้า ของวันดังกล่าว ที่เข้าสู่วันวิสาขบูชาในปีนั้น โดยในเช้าของวันวิสาขบูชา เมื่อเสร็จสิ้นยกอุโบสถหลวงขึ้น ประดิษฐานบนแผ่นดินพุทธศาสนา แห่งเวฬุวันมหาวิหาร อีกครั้งได้มีการจัดบรรพชา อุปสมบท เป็นครั้งแรกเพื่อฉลองสมโภชน์ พระอุโบสถหลวงเเห่ง เวฬุวันมหาวิหาร ดังกล่าวโดยบวชเป็นพระภิกษุ 8 รูป สามเณร 3 รูปในครั้งนั้น!!!

บัดนี้วันยกพระอุโบสถหลวง แห่งเวฬุวันมหาวิหาร ได้เวียรมาบรรจบครบรอบอีกครั้งใน 2564 เป็นสัญญาณบ่งบอกครบ 4 ปี ของพระอุโบสถหลวงดังกล่าว ที่คณะสงฆ์ได้ไปใช้ในการประกอบสังฆกรรม ตามพระวินัยนิยมบรมพุทธานุญาต ในการให้ เป็นเขตสังฆกรรมกระทำการบรรพชา อุปสมบทได้ ดังหลักฐานเขตนิมิตผูกพัทธสีมาที่ยังยืนยงมั่นคงถึงวันนี้ แสดงความเป็นเขตพระอุโบสถหลวง ที่ชาวพุทธทั่วโลกภาคภูมิใจ ในการคืนกลับมาโดย ความใส่ใจของคณะสงฆ์ไทย และเป็นสถานที่เดียวที่รอดพ้นการพัฒนาเป็นสวนป่าเวฬุวันแห่งใหม่ ของรัฐบาลอินเดีย ที่เล็งเห็นประโยชน์จากการใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อการท่องเที่ยว  และสถานที่ออกกำลังกาย สวนสาธารณะ

โดยทราบว่าก่อนการเร่งแผนพัฒนาพื้นที่สวนป่าเวฬุวัน ดังกล่าวได้มีการประชุมหารือกันในเจ้าหน้าที่ระดับสูงจนในที่สุดสรุปข้อตกลงได้ว่า จะเว้นพื้นที่ พระอุโบสถเวฬุวันของพุทธศาสนา ไว้แห่งเดียว นอกนั้นได้ ปรับเปลี่ยนตามแผนพัฒนา สวนป่าฯ ทั้งหมด โดยเริ่มตั้งแต่ ปี 2561 หลังวันวิสาขบูชา

จึงได้เห็นภาพสุดท้ายกุฏิของพระอาจารย์อารยวังโส ที่เวฬุวันมหาวิหารในคืนที่มิได้หลับนอนตลอดคืนด้วยต้องเตรียมการ การประกอบพิธีสวดถอนประกาศเขตอุโบสถในวันวิสาขบูชา 29 พ.ค.2564 ที่เป็นประวัติศาสตร์ของการสืบอายุเวฬุวันมหาวิหารเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนาสืบไป

หมายเหตุ หากสนใจทราบรายละเอียดทั้งหมด สามารถเรียนถามได้ที่พระธรรมปาโมกข์ วัดราชผาติการาม กรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งหากไม่มีพระมหาเถระรูปนี้ ก็คงยากที่จะทำพิธี ยกอุโบสถหลวงขึ้นกลับมาอีกครั้ง ความดีความชอบทั้งหมด ที่มหาเถรสมาคมควรถวาย จึงควรแก่ ท่านเจ้าคุณพระธรรมปาโมกข์ โดยแท้จริง ดังที่พระอาจารย์อารยวังโส กล่าวไว้ในทุกสถานที่

Exit mobile version