เช็คด่วน-เปิดรายชื่อบริษัทประกันภัย!?!แจกฟรีประกันแพ้วัคซีนโควิด 11.5 ล้านสิทธิ์ เชียร์คนไทยฉีดวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันหมู่

1671

บริษัทประกันภัย 8 บริษัทแจกฟรีประกันภัย “แพ้วัคซีนโควิด-19” หนุนให้คนไทยออกมารับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ กันให้มากๆ โดยสมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้ประชุมหารือร่วมกับบริษัทสมาชิกจัดโครงการ “ฉีดช่วยชาติ หมอพร้อมฉีด ประกันวินาศภัยพร้อมดูแล” เพื่อมอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองการแพ้วัคซีนให้กับประชาชนทั่วไปฟรี จำนวน 11.5 ล้านสิทธิ์ ขณะทางรัฐบาลโดยสปสช. เยียวยาคนแพ้วัคซีนโควิดสูงสุด 4 แสนบาท-รักษาพยาบาลฟรี

วันที่ 20 พ.ค.2564 นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศที่ได้ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และหนทางหนึ่งที่จะช่วยกันหยุดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพคือการฉีดวัคซีนในหมู่ประชาชนให้ได้มากที่สุดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ในกลุ่มประชากร เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยหนักและการเสียชีวิตลง ซึ่งจะเป็นการบริหารและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ยั่งยืนในระยะยาว

สมาคมประกันวินาศภัยไทย ในฐานะตัวแทนของภาคธุรกิจประกันวินาศภัยไทย ส่งเสริมการนำระบบประกันภัยเข้ามาช่วยในการบริหารความเสี่ยงให้กับประชาชนและประเทศชาติ มีความห่วงใยต่อวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ประชุมหารือร่วมกับบริษัทสมาชิกจัดโครงการ “ฉีดช่วยชาติ หมอพร้อมฉีด ประกันวินาศภัยพร้อมดูแล” ขึ้น เพื่อมอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองการแพ้วัคซีนให้กับประชาชนทั่วไปฟรี จำนวน 11.5 ล้านสิทธิ์ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจและกระตุ้นให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 กันมากขึ้น

นายกสมาคมกล่าวว่า “สมาคมประกันวินาศภัยไทยมีความเชื่อมั่นว่า วัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทยล้วนเป็นวัคซีนที่ได้รับการทดสอบในวงกว้างแล้ว  ว่ามีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย และเพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดโครงการมอบกรมธรรม์ประกันภัยแพ้วัคซีนให้กับประชาชนฟรี ซึ่งถือเป็นความร่วมมือของบริษัทประกันวินาศภัยที่มีเจตนารมณ์ในการเข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยงและเสริมสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพื่อร่วมกันช่วยชาติให้ฝ่าวิกฤติ COVID-19 ในครั้งนี้ไปด้วยกัน”

สำหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยการมอบประกันภัยแพ้วัคซีนฟรีให้กับประชาชน รวมทั้งสิ้น 11.5 ล้านสิทธิ์ ได้แก่ 

  1. บมจ.กรุงเทพประกันภัย จำนวน 2,000,000 สิทธิ์ ลงทะเบียนได้ที่ https://www.bangkokinsurance.com
  2. บมจ.ทิพยประกันภัย จำนวน 2,000,000 สิทธิ์ ลงทะเบียนรับสิทธิได้ที่ https://register.tipinsure.com/RegisterCovid19/vaccine
  1. บมจ.เมืองไทยประกันภัย จำนวน 2,000,000 ลงทะเบียนได้ที่ https://www.muangthaiinsurance.com/th/home
  2. บมจ.วิริยะประกันภัย จำนวน 2,000,000 สิทธิ์ ลงทะเบียนได้ที่ https://www.viriyah.co.th/th/
  3. บมจ.สินทรัพย์ประกันภัย จำนวน 1,000,000 สิทธิ์ ลงทะเบียนได้ที่ https://www.asset.co.th
  4. บมจ.สินมั่นคงประกันภัย จำนวน 1,000,000 สิทธิ์ ลงทะเบียนรับสิทธิได้ที่ https://www.smk.co.th/covid19_vacine.aspx
  1. บมจ.อาคเนย์ประกันภัย จำนวน 1,000,000 สิทธิ์ ลงทะเบียน ได้ที่ https://www.seic.co.th
  2. บมจ.ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำนวน 500,000 สิทธิ์ ลงทะเบียนได้ที่ https://health.thaivivat.co.th

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเลือกลงทะเบียนรับสิทธิ์ฟรี ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยกำหนดการเริ่มลงทะเบียนรับสิทธิ์ รวมถึงระยะเวลาและเงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่แต่ละบริษัทกำหนด

ในส่วนของภาครัฐ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เปิดเผยว่ากรณีการเยียวยาประชาชนหากมีผลข้างเคียงหรืออาการแพ้วัคซีนป้องกันโควิด

ทั้งนี้ เงื่อนไขรับการเยียวยาหลัก ๆ ต้องเป็นผู้ได้รับผลข้างเคียง หรือเกิดความเสียหายจากการรับวัคซีนโควิด ตั้งแต่อาการบาดเจ็บ พิการ ไปจนถึงเสียชีวิต ล้วนเข้าข่ายโดยหากเป็นอาการบาดเจ็บต่อเนื่อง เช่น อาการชา จนต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เกิดความเสียหายต้องหยุดงาน หรือเสียเวลารักษาตัว ก็จะเข้าข่ายการได้รับเงินเยียวยา 

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดแขน ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังการฉีดวัคซีนที่พบได้ทั่ว ๆ ไป และไม่ได้เกิดความเสียหาย อาจไม่เข้าข่ายรับการเยียวยาทั้งหมด

สำหรับหลักเกณฑ์เยียวยาได้แก่ 1.อาการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง ไม่เกิน 100,000 บาท 2.สูญเสียอวัยวะ หรือพิการ ไม่เกิน 240,000 บาท 3.เสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 400,000 บาท