แผ่นดินพม่ายังคุโชน!?!ประกาศกฎอัยการศึก กลุ่มหัวรุนแรงนับ 100 บุกเผาโรงพัก-ธนาคาร นักข่าวปลุกระดมเจอคุก 3 ปี ขณะทูตUNรอเก้ออยู่ฝั่งไทย

1353

ขณะที่สถานการณ์ในเมียนมากว่า 100 วันที่เกิดการประท้วง และวันนี้ ความรุนแรงได้ยกระดับในบางพื้นที่ มีกลุ่มติดอาวุธปฏิบัติการต่อสู้ด้วยอาวุธกลางเมืองกว่า 100 คนเข้าข่ายก่อการร้ายที่้เมืองมิ่นดะ จนต้องประกาศกฎอัยการศึก ขณะสื่อบริวารสหรัฐฯโหมโฆษณา ประชาชนเข้าป่าจับปืน มีพรีเซนเตอร์เป็นนักศึกษาและนางงามไฝ่ตะวันตก ด้านประเทศไทย นายกฯ หารือผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเรื่องเมียนมา แสดงจุดยืนมุ่งหวังให้เมียนมาเกิดสันติภาพและเสถียรภาพ โดยไทยพร้อมสนับสนุนตามฉันทามติ 5 ข้อ (Five-Point Consensus) ของอาเซียน และพร้อมดูแลด้านมนุษยธรรมไม่ทอดทิ้งเพื่อนบ้าน

เมื่อวานนี้วันที่ 14 พฤษภาคม 2564) ทำเนียบรัฐบาล นางคริสทีเนอ ชราเนอร์ บูร์เกเนอร์ (Mrs. Christine Schraner Burgener) ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเรื่องเมียนมา เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เนื่องในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย โดยภายหลังการหารือ นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้เปิดเผยสาระสำคัญ ดังนี้

สถานการณ์ในเมียนมาได้รับความสนใจจากอาเซียนและประชาคมโลก ซึ่งการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อเดือนเมษายน 2564 ประเทศไทยให้ความสำคัญกับแนวทาง D4D ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอต่อที่ประชุม และพร้อมสนับสนุนฉันทามติ 5 ข้อ (Five-Point Consensus) ของอาเซียน ทั้งนี้ ไทยได้ติดตามพัฒนาการของสถานการณ์ในเมียนมาอย่างใกล้ชิด มุ่งหวังให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในเมียนมา หวังว่าผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเรื่องเมียนมาจะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากการเยือนครั้งนี้ รัฐบาลพร้อมรับฟัง และแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์

ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเรื่องเมียนมารู้สึกยินดีที่ได้กลับมาเยือนไทยและหารือกับนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง พร้อมกล่าวว่า การมาเยือนไทยและภูมิภาคอาเซียนครั้งนี้ เพื่อหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถึงสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมา โดยจากการหารือกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมียนมาที่กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย จึงประสงค์ที่จะสานต่อกระบวนการเจรจาดังกล่าวต่อไป เพื่อนำความสงบสุขกับมาสู่เมียนมาอีกครั้ง หวังว่าไทยจะสนับสนุนกระบวนการดังกล่าว และแสวงหาความร่วมมือกับกองทัพเมียนมาในการหาทางออกอย่างสันติ

ทั้งสองฝ่ายยังหารือถึงการให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม โดยนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า ไทยดำเนินการทุกวิถีทางอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้สถานการณ์ในเมียนมาคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ตลอดจนให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งไทยมีประสบการณ์ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เพื่อนบ้านมายาวนาน มีการติดตามสถานการณ์ตามแนวชายแดนอย่างใกล้ชิด และเตรียมการวางแผนรับมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังยืนยันว่าจะไม่มีการส่งผู้หนีภัยกลับไปเมียนมาหากต้องเผชิญกับอันตราย โดยมีการตั้งศูนย์เพื่อรองรับผู้หนีภัยหลายแห่งตามแนวชายแดน รวมทั้งให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ที่บาดเจ็บ

ขณะที่สถานการณ์ในเมียนมายังคุกรุ่นต่อเนื่องทั้งชายแดนและกลางเมือง มีการประกาศกฎอัยการศึกเมืองมิ่นดะ หลังมีกลุ่มติดอาวุธโจมตีโรงพัก

สื่อทางการเมียนมารายงานว่า รัฐบาลเมียนมา ได้ประกาศกฎอัยการศึกในเมืองมิ่นดะ ซึ่งอยู่ในรัฐชิน หลังจากเมื่อวันที่ 12, 13 พ.ค.ที่ผ่านมา เกิดเหตุกลุ่มผู้ก่อการร้ายติดอาวุธประมาณ 100 คนเข้าโจมตีสถานีตำรวจแห่งหนึ่ง และอีก 50 คน มุ่งเป้าโจมตีธนาคารเมียนมา อิโคโนมิก

เอกสารประกาศใช้กฎอัยการศึกกับเมืองมินดะ ในรัฐชิน ที่มีพรมแดนติดกับอินเดีย ถูกโพสต์ลงในหนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมาร์ทั้งนี้ รอยเตอร์ไม่สามารถยืนยันรายงานของสื่อของรัฐเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมืองมินดะได้

แต่เอกสารที่โพสต์ลงบนสื่อสังคมออนไลน์โดยสื่อท้องถิ่นที่อ้างว่ามาจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่มีฐานอยู่ในเมืองมินดะ ให้ข้อมูลว่าการสู้รบที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากกองทัพไม่ทำตามสัญญาที่จะปล่อยพลเรือน 7 คน ที่ถูกควบคุมตัวระหว่างการชุมนุมประท้วง โฆษกของกองกำลังป้องกันแห่งชินแลนด์ ที่เป็นกลุ่มกองกำลังที่ตั้งขึ้นมาใหม่ระบุว่า พวกเขาอยู่เบื้องหลังการต่อสู้ครั้งล่าสุด

การจัดการกับสื่อโฆษณาของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและตะวันตกยังที่ปลุกระดมให้คนพม่าลงถนนต่อต้านรัฐบาลยังคงดำเนินต่อไป สถานีโทรทัศน์ทางการเมียนมารายงานประกาศของสภาบริหารแห่งรัฐของเมียนมาว่า นายคิตาซูมิ ยูกิ ผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่น ที่ถูกทางการเมียนมาจับกุมตัว เมื่อวันที่ 18 เม.ย.2564 จะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ ขณะที่มีการคาดการณ์ว่านายคิตาซูมิจะถูกส่งตัวกลับญี่ปุ่น วันที่ 14 พ.ค.2564​ เป็นอย่างเร็วสุด

ขณะที่ศาลตัดสินให้นักข่าวชาวเมียนมาจอมปลุกระดมวัย 51 ปีที่ทำงานให้กับสำนักข่าวออนไลน์เสียงประชาธิปไตยแห่งเมียนมา (ดีวีบี) โดนศาลทหารเมียนมาตัดสินจำคุก 3 ปีเมื่อวันพุธที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากโดนจับกุมขณะทำข่าวการประท้วงต่อต้านรัฐประหารเมื่อเดือนมี.ค.

สำนักข่าวเอพีกล่าวว่า มิน โญ นักข่าวของดีวีบี น่าจะเป็นนักข่าวคนแรกที่โดนตัดสินว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่เพิ่งแก้ไขเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าทำให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เป็นความผิดทางอาญา และกำหนดบทลงโทษสูงสุดจำคุก 3 ปี ฐานพยายามขัดขวาง, รบกวน, ทำลายแรงจูงใจ, วินัย, สุขภาพ และความประพฤติของทหารและข้าราชการพลเรือน และก่อให้เกิดความเกลียดชัง, ขัดคำสั่ง หรือไม่ซื่อสัตย์ต่อกองทัพและรัฐบาล

สำนักข่าวดีวีบีโดนเพิกถอนใบอนุญาตแพร่ภาพโทรทัศน์ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2564 และห้ามออกอากาศจากทุกแพลตฟอร์ม แต่ดีวีบีก็เหมือนกับสำนักข่าวแห่งอื่นๆ ที่ยังคงดำเนินการต่อ จนถึงขณะนี้มีนักข่าวถูกจับกุมแล้วประมาณ 80 คน ราวครึ่งหนึ่งยังคงถูกควบคุมตัว และเกือบทั้งหมดถูกตั้งข้อหาเดียวกับที่มิน โญ ถูกศาลทหารตัดสินเมื่อวันพุธ เช่นเดียวกับนักเคลื่อนไหวอีกหลายคนที่ต่อต้านรัฐบาล

ดีวีบีกล่าวในแถลงการณ์ว่า มิน โญ โดนจับขณะกำลังทำข่าวการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารที่เมืองแปร ซึ่งอยู่ห่างจากย่างกุ้งทางตะวันตกเฉียงเหนือ 260 กิโลเมตร นักข่าวอาวุโสรายนี้เคยติดคุก 7 ปีในสมัยรัฐบาลทหารชุดก่อน หลังจากโดนจับกุมเมื่อปี 2539 ข้อหามีความเกี่ยวพันกับกองกำลังต่อต้านของนักศึกษา