สามกีบขอรับบริจาคอีกแล้ว! ใช้เงินประกันวันเดียวเกือบ 2 ล้าน! พบเปิดบัญชีชื่อ “นักวิชาการ” คนเสนอแก้มาตรา 1

2323

สามกีบขอรับบริจาคอีกแล้ว! ใช้เงินประกันวันเดียวเกือบ 2 ล้าน! พบเปิดบัญชีชื่อ “นักวิชาการ” คนเสนอแก้มาตรา 1

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (11 พฤษภาคม 2564) ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน และนายไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ หรือแอมมี่ เดอะบอตทอมบูลส์ ภายหลังการไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในคดีการชุมนุม 19-20 ก.ย.2563 ต่อมาทางเพจ กองทุนราษฎรประสงค์ ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีเงินประกันตัวแกนนำคณะราษฎรในวันที่ 11 พฤษภาคม โดยระบุข้อความว่า

รายงานเบื้องต้น รายการวางเงินประกันของวันนี้ยอดรวม 1,900,000 บาท อาจถึงเวลาที่ต้องระดมทุนเพิ่ม
ในวันนี้ (11 พฤษภาคม 2564) กองทุนราษฎรประสงค์ได้วางเงินประกันตัวหลายคดี รวมเป็นวงเงิน 1,900,000 บาท ตามรายละเอียดข้างล่างนี้ค่ะ โดยผู้ยื่นประกันจะมีทั้งนักวิชการและญาติของผู้ต้องหา (ส่วนใบเสร็จของแต่ละคดีกำลังอยู่ระหว่างรวบรวม และทางกองทุนฯ จะนำมารายงานในเพจนี้ให้เร็วที่สุด)
– ประกันตัว “ซี” คดีจากการชุมนุมของรีเด็ม 100,000 บาท
– ประกันตัว ไบร์ท ชินวัตร คดีละเมิดศาล 150,000 บาท
– ประกันตัว พิสิฏฐ์กุล และ เอฐ์เรียฐ์ รวม 300,000 บาท
– ประกันตัวแอมมี่ 250,000 บาท
– ประกันตัวเพนกวิน (3 คดี) 600,000 บาท (รวมการประกันตัวในชั้้นสอบสวนจากตำรวจที่นำหมายจะมาจับกุม)
– ประกันตัว เบญจา สมาร์ท และ ณัฐนนท์ รวม 500,000 บาท
ทำให้วันนี้ เงินกองมีเหลืออยู่เพียง 1,390.584.45 บาท (เช็คยอด ณ เวลา 20:13 น. ก่อนถอนเงินสด 2 แสนบาท มาประกันเพนกวินในชั้นสอบสวน) และตอนนี้คาดว่าในส่วนของคดีละเมิดอำนาจศาลน่าจะตามมาอีกหลายคน ซึ่งค่าประกันแพงมาก (คนละ 100,000-150,000 บาท) รวมทั้งตอนนี้มีคิวที่จะต้องยื่นประกันผู้ต้องหาคดี 112 ที่เหลือ และคดีที่เกี่ยวข้องอีกบางรายในช่วงสัปดาห์นี้ ทำให้เงินกองทุนอาจไม่พอ ตอนนี้อาจถึงเวลาแล้วที่ต้องประกาศระดมทุนกันอีกครั้ง (ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางกองทุนไม่อยากทำเลยเพราะ เกรงใจพี่น้องประชาชนอย่างมาก)
จากการตรวจสอบพบว่า ชื่อบัญชีที่ใช้ในการรับบริจาคนั้นคือชื่อ ชลิตา บัณฑุวงศ์ และน.ส.ไอดา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา โดยการเปิดรับบริจาคของคณะราษฎร กองทุนราษฎรประสงค์ได้ปิดบัญชีเดิมลงแล้วเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา (บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ ในชื่อชลิตา บัณฑุวงศ์ และ/หรือไอดา อรุณวงศ์)  ซึ่งเคยเปิดมาตั้งแต่ปี 2561 และเปิดบัญชีใหม่ขึ้นแทนในวันเดียวกัน ซึ่งบัญชีดังกล่าว มีไว้ใช้สำหรับการระดมทุนสาธารณะเพื่อการประกันตัวและเงินค่าปรับในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง
สำหรับชื่อบัญชีที่ปรากฎชื่อของ ชลิตา บัณฑุวงศ์ และน.ส.ไอดา อรุณวงศ์ ณ อยุธยานั้น สำหรับชลิตา เป็นรองหัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยแสดงความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเวทีสัญจรภาคใต้ ที่จังหวัดปัตตานีจนเกิดการการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางของ 7 พรรคฝ่ายค้าน เช่น นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์, นายวันมูหะมัดนอร์  มะทา และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ  ฯลฯ เมื่อวันที่ 28 ก.ย.2562
หากย้อนไปในอดีต ชลิตา เป็นหนึ่งในนักวิชาการเคลื่อนไหวคัดค้านรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ปี 2557 เคยเป็นหนึ่งในกลุ่มนักวิชาการ 60 คน ออกจดหมายเปิดผนึกเพื่อแสดงความไม่พอใจกับการที่ทหารและตำรวจบังคับให้นักวิชาการและนักศึกษายุติงานเสวนาวิชาการในหัวข้อ “ห้องเรียนประชาธิปไตย: บทที่ 2 การล่มสลายของเผด็จการในต่างประเทศ” ซึ่งจัดขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต พร้อมทั้งคุมตัวนักศึกษา และวิทยากรไปสถานีตำรวจเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ก.ย.2557

ชลิตา อยู่ในเครือข่ายต่อต้านรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่อง เช่นกรณีให้กำลังใจจ่านิว ให้กำลังใจนายโกวิท วงศ์สุรวัฒน์ พ่อของพิธีกรชื่อดัง จอห์น วิญญู  ที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมกับให้สัมภาษณ์ว่า ประชาชนต้องวิพากวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญได้ นอกจากนี้ยังพบว่า เคยเคลื่อนไหวร่วมกับแกนนำอยากเลือกตั้ง และพรรคอนาคตใหม่อีกด้วย นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้แก้มาตรา 1 เพราะเขาคิดว่า การแก้ปัญหาของประเทศไทยอาจไม่ต้องอยู่กันเป็นรัฐเดี่ยวหรือรวมศูนย์ก็ได้ การแก้รัฐธรรมนูญอาจแก้มาตรา 1 ด้วยก็ไม่เห็นจะแปลกอะไร ซึ่งการแก้ มาตรา 1 ก็เท่ากับ การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากราชอาณาจักร เป็น สหพันธรัฐ

สำหรับ น.ส.ไอดา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา บรรณาธิการสำนักพิมพ์อ่าน ซึ่งเป็นหนังสือในเครือฟ้าเดียวกัน ก็มีชื่อปรากฎอยู่ในบัญชีที่เปิดรับบริจาคด้วย เขาเคยพูดถึงความสัมพันธ์ของเสรีภาพการแสดงออกกับการทำงานศิลปะ รวมทั้งกล่าวถึงละครเจ้าสาวหมาป่าที่ผู้เกี่ยวข้องถูกดำเนินคดีในความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112 ว่า พื้นฐานของศิลปะก็คือการแสดงออก ดังนั้นโดยพื้นฐานสุดที่จะแสดงออกได้นั้นจะต้องมีเสรีภาพ  ทั้งนี้ไม่จำกัดเฉพาะศิลปะ แต่การแสดงออกอะไรก็ตามก็ต้องการเสรีภาพเช่นกัน แต่การทำงานศิลปะมันก็เรียกร้องไปอีกขั้นที่จะใช้ทักษะ ความคิด ที่จะถ่ายทอดออกมา และในกระบวนการนั้นยิ่งต้องอาศัยเสรีภาพในการที่จะสื่อสารเนื้อหาที่ไปได้ลึกขึ้น เทคนิควิธีและเนื้อหาที่อาจจะท้าทายมากขึ้น แต่โดยพื้นฐานแล้วแยกจากกันไม่ได้