Truthforyou

ชาวเน็ต สงสาร “Top News” รณรงค์ชวนฉีดวัคซีนสุดแรง! ต่างกับ “Thai PBS” รายงานข่าวผิดตลอด สปอนเซอร์ก็ไม่ต้องหา กินเงินหลวงยาวๆ?

ชาวเน็ต สงสาร “Top News” รณรงค์ชวนฉีดวัคซีนสุดแรง! ต่างกับ “Thai PBS” รายงานข่าวผิดตลอด สปอนเซอร์ก็ไม่ต้องหา กินเงินหลวงยาวๆ?

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒน่คณะนิเทศศาสตรฺและนวัตกรรมการจัดการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)NIDA ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีไทยพีบีเอสที่ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิดของแอสตราเซเนกา ว่ามีประสิทธิภาพป้องกันการป่วยหนักได้แค่ 10%

และบอกว่า เหนื่อยใจกับไทยพีบีเอสจริงๆครับ ผิดอีกแล้ว คราวที่แล้วเรื่องเช่าเครื่องบินจากอินเดียมาไทยแปลผิด คราวนี้ทั้งแปลผิดและเข้าใจข้อมูลผิด และผิดหลายจุดเลย ไทยพีบีเอส นำเสนอสกู๊ปว่าวัคซีนต่างๆมีประสิทธิภาพลดลงในการป้องกันโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ซึ่งอันนี้เป็นความจริง แต่ปัญหาอยู่ที่ สกู๊ปนี้ของไทยพีบีเอส รายงานตัวเลขที่ผิดพลาดหลายจุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเน้นว่า วัคซีนของแอสตราเซเนกา ที่ไทยจะใช้เป็นหลักนั้น สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 6% และป้องกันการป่วยหนักได้ 10% ซึ่งเห็นตัวเลขอย่างนี้แล้วน่าตกใจมาก โดยเฉพาะการป้องกันการป่วยหนัก

หลังจากที่โพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นจำนวนมาก และก็ได้มีชาวเน็ตคนหนึ่งได้ออกมาโพสต์ข้อความว่า

สงสารช่อง Top news ทำข่าวเชียร์วัคซีนฯสุดแรงใจ ช่วยรณรงค์ให้คนลงทะเบียนเพื่อฉีดวัคซีนอยู่ช่องเดียว สปอนเซอร์ก็ต้องหาเพื่อความอยู่รอด ผิดกับอีกช่อง รายงานข่าวผิดพลาดทำให้วัคซีนที่เรามีไม่น่าเชื่อถือ แต่สปอนเซอร์ไม่ต้องหา กินเงินหลวงชิลล์ ชิลล์

ต่อมาทางด้าน ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ก็ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีของไทยพีบีเอส โดยบทความนี้ถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2560 โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจว่า

ภาวะที่ไม่ต้องทำอะไรให้ดีเลยก็เลยทำให้ TPBS ถึงห่วยไม่มีคนดู ไม่มีโฆษณา จัด rating ได้บ๊วยหรือเกือบบ๊วยของตารางก็สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องคิดปรับปรุงอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะอ้วนพีและมีงบประมาณล้นเหลือเฟือฟายท่ามกลางกระแสดิจิทัลที่สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อวิทยุโทรทัศน์กำลังยากแค้นแสนสาหัส ในเรื่องนี้ TPBS ไม่ได้เดือดร้อนใดๆ เพราะถึงทำรายการได้ห่วยจนคนดูส่ายหน้าแค่ไหนก็ไม่จำเป็นต้องเดือดร้อน ใช้เงินภาษีประชาชนไปได้ตลอด เป็นเสือนอนกินภาษีของประชาชนโดยผลงานจะห่วยอย่างไรก็ได้ เราไม่มีความจำเป็นต้องเอาเงินภาษีนับพันล้านของประชาชนไปเลี้ยงเสืออ้วนที่ไม่ทำหน้าที่และไม่มีหน้าที่อีกแล้ว

TPBS มีการใช้เงินไม่ถูกต้อง เช่น เอาเงินไปซื้อหุ้นกู้ CPF โดยผิดระเบียบและกฎหมาย ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ จนผอ TPBS คนก่อนต้องลาออกไป ถือว่าใช้เงินอีลุ่ยฉุยแฉก ไร้ประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ ยุบทิ้งแล้วเอาเงินสองพันล้านไปให้โรงพยาบาลที่กำลังลำบากอย่างยิ่งน่าจะดีกว่า หรือถ้าเปรียบเทียบกับสื่ออื่นๆ เช่น ASTV News1 นี่ใช้เงินเดือนหนึ่งไม่เกิน 20 ล้านบาทแน่นอน ปีหนึ่ง ๆ เงินเท่านี้ทำสถานีโทรทัศน์ดี ๆ ที่มีคนดูมากกว่านี้ได้ 20-30 สถานีอย่างแน่นอน ไม่ใช่ช่องเดียว ว่าแต่ว่าช่องเยาวชนที่ กสทช. ขอให้ TPBS ทำทำไมจึงยังไม่เกิดจนป่านนี้ ทั้ง ๆ ที่มีเงินมากกว่าเพื่อน ช่องทีวีเยาวชนไม่มีกำไรมากนัก TPBS มีเงินถุงเงินถังน่าจะทำได้ก่อนใคร เพราะมีเงินใช้โดยไม่ต้องหา

การสรรหาผู้บริหาร เป็นในลักษณะพวกพ้อง นายเก่าอยู่ สสส. มีเรื่องอื้อฉาวผลประโยชน์ทับซ้อน เลยชิงลาออก หนีบเอาลูกน้องมาด้วย มา TPBS เป็น รอง ผอ. ในขณะที่สรรหาก็มี NGO ตระกูล ส เข้าไปนั่งเป็นกรรมการสรรหาอยู่มากมาย น้ำเน่ายิ่งกว่านักการเมือง สองคนผัวเมียคุม Sin tax ภาษีของประชาชนไปกว่า หกพันล้าน และเอาเงินเหล่านี้ไปให้ NGO ทำงานและมีฐานเสียงทางการเมืองตระกูล ส

ความจำเป็นของสื่อเสรีไม่มีอีกต่อไปแล้ว ทุกวันนี้ Social media ไม่ว่าจะเป็น Twitter, Line, Facebook หรือ Youtube เอง ประชาชนเป็นสื่อเสรีอยู่แล้ว โดยไม่ต้องเสียเงินให้แม้แต่บาทเดียว แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะต้องเอาเงินภาษีของประชาชนไปให้จ้าง NGO มาผลิตรายการให้ TPBS ที่ไม่มีคนดู ปีละ 2000 ล้านบาท ถ้าจะทำจริง ๆ จัดประกวดให้ประชาชนนำเสนอข่าวให้รางวัลประชาชนที่เป็นสื่อเสรีที่ทำสื่อและทำข่าวหรือสารคดีที่มีคุณภาพได้ จัดประกวดได้ผลงานดีกว่า TPBS ผลิตเองหรือจ้าง NGO ผลิตอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอนและใช้เงินรางวัลปีหนึ่งไม่ถึง 10 ล้านด้วยซ้ำไปและจะมีคนชมมากกว่าด้วย ให้ประชาชนประกวดแข่งกันทำรายการโทรทัศน์บน Youtube ก็ได้ เสียดายเงินที่ใช้ไม่คุ้มค่ากว่าปีละ 2000 ล้านแล้วเงินเหลือจนต้องไปลงทุนในหุ้นกู้ CPF ตั้งเกือบ 200 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ด้านนายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ประธานกรรมการบริหารสถานีโทรทัศน์ท็อปนิวส์ เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า ช่องท็อปนิวส์ ใช้เงินในการดำเนินการบริหารจัดการ ปีละประมาณ 300 ล้านบาท ขณะที่ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสใช้งบประมาณ ปีละ 2,500 ล้าน

Exit mobile version