เปิดประวัติ “สุพิศาล” อดีตผู้การกองปราบฯ สมัยยิ่งลักษณ์ รองหน.พรรคก้าวไกล ผู้จับกุม “อากง” คดีม.112

9323

เปิดประวัติ “สุพิศาล” อดีตผู้การกองปราบฯ สมัยยิ่งลักษณ์ รองหน.พรรคก้าวไกล ผู้จับกุม “อากง” คดีม.112

จากกรณีที่โลกโซเชียลได้นำเสนอคดีของอากง เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบ 9 ปี อากงเสียชีวิต โดมีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งทวีตข้อความว่า วันนี้มานั่งค้นข้อมูลเรื่องคดี “อากง” แล้วพบว่า ทีมจับกุมอากงในวันนั้นมี พล.ต.ต สุพิศาล อยู่ในทีมจับกุมด้วย ซึ่งปัจจุบัน พล.ต.ต.สุพิศาล เป็น ส.ส.อยู่ในพรรคก้าวไกล อยากได้คำตอบจากพรรคก้าวไกลว่าในกรณีนี้ทางพรรคมีกระบวนการที่จะตั้งคำถามถึงเขา และให้คำตอบกับสังคมได้ไหม?

โดยทาง เพจคณะก้าวหน้า ได้ยกเรื่องอากง คือ แพะ และต้องถูก เชือดด้วยคดีความผิด มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยยังได้พยายามชี้เป้าไปที่ มาตรา 112 คือกฎหมายที่ “ฆ่าอากง” และปลุกปั่นให้ กลุ่มคนที่ไม่เคยศึกษาความจริงทั้ง 2 ด้าน เกิดการคล้อยตาม และไม่พอใจกฎหมาย มาตรา 112

ย้อนไปเมื่อ ปี 2553 นายอำพล ตั้งนพกุล หรือมักเรียกกันว่า อากง เป็นชายไทยซึ่งเป็นที่รู้จักเนื่องจากถูกฟ้องว่า ในกลางปี 2553 ได้ส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่สี่ข้อความไปหาสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยมีเนื้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์และพระราชินี อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คณะพนักงานสอบสวนสืบทราบว่า เลขหมายโทรศัพท์ที่ส่งข้อความนั้นเป็นของอำพล จึงขอหมายจับจากศาลอาญา คณะเจ้าพนักงานตำรวจ ประกอบด้วย พลตำรวจโท ไถง ปราศจากศัตรู กับพวก ติดตามไปจับอำพลได้ที่ห้องเช่าในวันที่ 3 สิงหาคม 2553 พร้อมยึดทรัพย์สินของอำพล ประกอบด้วย โทรศัพท์เคลื่อนที่สามเครื่อง พร้อมซิมการ์ด และระบบอุปกรณ์สายเสียง เป็นของกลางศาลอาญาสั่งขังอำพลไว้ที่เรือนจำกลางคลองเปรม ญาติอำพลขอให้ปล่อยชั่วคราว ศาลอาญาไม่อนุญาต ญาติอุทธรณ์เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2553 ศาลอุทธรณ์อนุญาต อำพลถูกขังไว้เป็นเวลาหกสิบสามวันจึงได้รับการปล่อยชั่วคราวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2553

พลตำรวจโท ไถง แถลงข่าวว่า ในชั้นสอบสวน อำพลปฏิเสธข้อหา แต่รับว่า เป็นเจ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง ทว่า เลิกใช้นานแล้ว กับทั้งอ้างว่า ส่งข้อความทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เป็น และไม่ทราบเลขหมายโทรศัพท์ของบุคคลสำคัญ พลตำรวจโท ไถง ยังว่า เขาเชื่อว่าอำพลเป็นสมาชิกแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (“นปช.”) และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรได้ขึ้นอำพลไว้ในบัญชีดำ ต่อมา พนักงานอัยการขอให้ศาลลงโทษอำพลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2) และ (3) (นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมหรือเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ประชาชน หรือความมั่นคงของประเทศ)

ต่อมาศาลพิพากษาว่า อำพลมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กับทั้งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2) และ (3) การส่งข้อความสี่ฉบับไปในวันเวลาต่างกันเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายสี่กรรม ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อันเป็นบทหนักที่สุดเพียงบทเดียว เรียงกระทงไปทุกกรรม โดยลงโทษจำคุกกระทงละ 5 ปี รวมเป็นจำคุกทั้งสิ้น 20 ปี เช้าวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 อำพลถึงแก่ความตายในเรือนจำกลางคลองเปรมระหว่างต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาศาลอาญาข้างต้น ต่อมาวันที่ 9 พฤษภาคม 2555 สถาบันนิติวิทยาศาสตร์แถลงว่า อำพลถึงแก่ความตายเพราะโรคมะเร็ง

ซึ่ง พลตำรวจตรี สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองปราบปรามในสมัยยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปี 2554 ซึ่งคดีนี้อยู่ในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนมาถึงรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยทางพลตำรวจตรี สุพิศาล ได้มีส่วนร่วมในการจับกุมอากง หรือคุณอำพล ตั้งนพกุล เมื่อปี 2553 ในข้อหาเกี่ยวกับมาตรา 112 ซึ่งเจ้าตัวได้ออกมายอมรับว่า มีส่วนร่วมในการจับกุมอากงจริง พร้อมกับขออภัยต่อดวงวิญญาณอากง และครอบครัว รวมถึงขอโทษผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 ทุกคนที่อาจจะเกิดจากการทำงานในหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายที่ผ่านมาแล้วด้วย

พร้อมกับกล่าวว่า ภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งใน ส.ส. และเป็นอดีตผู้บังคับการกองปราบปราม ที่ร่วมลงชื่อแก้ไขปรับปรุงชุดกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน รวมถึงมาตรา 112 ด้วยและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) แม้สิ่งที่ทำจะไม่สามารถทดแทนความผิดพลาดได้ และคงไม่ทำให้ครอบครัวอากงให้อภัย แต่ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ดังนั้น หลังจากนี้จะขอใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อทำงานแก้ไขความผิดพลาดดังกล่าวในอดีตเดิมที่อยู่ในวังวนของการครอบงำ ในอาณัติการที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งภายใต้รัฐราชการ อันเป็นการจำกัดสิทธิพลเมืองบางอย่างออกไปด้วยตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เราทุกคนควรจะมีสิทธิอันพึงมีที่เท่ากัน

สำหรับ พลตำรวจตรี สุพิศาล ภักดีนฤนาถ เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2497 สำเร็จการศึกษา รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมวิทยาประยุกต์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการ) มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เป็นนรต.31 ร่วมรุ่นกับพล...พงศพัศ พงษ์เจริญ และพล...สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รับราชการครั้งแรกเป็น รองสวส.สนสำราญราษฎร์ ปี 2521

พลตำรวจตรี สุพิศาล ผ่านตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งเช่น  ผกก.สน.ปทุมวันผกก.สน.ลุมพินีรอง ผบก..6, รอง ผบก.., รรท.ผบก.. เป็นผบก.และเป็นนายตำรวจราชสำนักเวร ตัดสินใจลาออกจากราชการ ก่อนเกษียณอายุ 30 ..2557 เข้าสู่สนามเลือกตั้งส.เมื่อมี.. 2557 ตัดสินใจร่วมงานกับพรรคอนาคตใหม่ เพราะชื่นชอบในตัว ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค มั่นใจจะร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประเทศได้ ตำแหน่งปัจจุบัน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ด้านการเมืองและกิจการพิเศษ