Truthforyou

เปิดบันทึกเบื้องหลัง พระอารยวังโส ธรรมะในแดน”สวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย” 70ปีสัมพันธ์ไทย-ปากีฯ

จากที่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา นายมูหมัดลูตฟี อุเซ็ง อุปทูตรักษาการ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด เข้าร่วมการประชุมทวิภาคีระหว่าง นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และนาย Shafqat Mahmood รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมปากีสถาน ในโอกาสการครบรอบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-ปากีสถาน

ในปีนี้ ผ่านทางระบบ VDO Conference ในการประชุมดังกล่าว ฝ่ายไทยและฝ่ายปากีสถานได้หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการยกระดับความสัมพันธ์ในมิติด้านวัฒนธรรมและระหว่างประชาชนของสองประเทศ รวมถึงการจัดกิจกรรมด้านวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งในไทยและในปากีสถาน โดยกิจกรรมที่สำคัญเกี่ยวข้องกับอารยธรรมคันธาระซึ่งเป็นสิ่งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของประชาชนทั้งสองประเทศตั้งแต่ในอดีต

นอกจากนี้ในความสัมพันธ์ที่มีมายาวนานนั้นยังมีเหตุการณ์อื่นๆที่น่าสนใจ โดยในวันนี้ 9 พฤษภาคม 2564 ได้มีการเปิดเผยเรื่องราวดังกล่าวเนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปีนี้โดยคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้นำเบื้องหลังการถ่ายบันทึกภาพ และเสียง เมื่อวันที่ 9 การกล่าวโดย หลวงพ่อพระอาจารย์อารยวังโส  หรือ  MV.Arayawangso เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย

ทั้งนี้ตามคำเชิญ/นิมนต์ของ สถานทูตปากีสถานประจำประเทศไทยเนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย- ปากีสถาน โดยหลวงพ่อพระอาจารย์อารยวังโส เป็นหนึ่งในเก้าบุคคล ที่ได้รับการเชิญให้เป็นผู้แสดงความรู้สึกเนื่องในโอกาสนี้

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้เนื่องใน กิจกรรม “วันชาติไทย 5 ธันวามหาราช” ในวันที่ 5 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา สถานทูตไทยในปากีสถาน โอกาสนี้ได้มีการเผยแพร่พระเกียรติ ในหลวง รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย – ปากีสถาน จนถึงในสมัยรัชกาลปัจจุบัน

ซึ่งหนึ่งในความสัมพันธ์อันดีอีกครั้งสำคัญ ระหว่างไทย-ปากีสถาน นั่นคือการที่ทางสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ได้นิมนต์พระอาจารย์อารยวังโส เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย โดยประธานาธิบดีสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ได้เปิดทำเนียบถวายการต้อนรับในพิธีทางการทูตอย่างเป็นทางการ จึงถือว่าพิธีที่จัดขึ้นในครั้งนี้ นับเป็นวาระโอกาสที่สำคัญยิ่ง ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ

นอกจากนั้นพระอาจารจาย์ อารยวังโส ได้รับนิมนต์เพื่อร่วมประชุมปรึกษาหารือกับ รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึง การรับเชิญไปกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ที่ธนาคารโลกในปากีสถาน เรื่อง “การพัฒนามรดกทางพระพุทธศาสนา” แคว้นคันธาระ ในปากีสถาน ร่วมกับรัฐมนตรีรัฐบาลท้องถิ่นใน ไคเปอร์ ปักตุนกวา จนนำไปสู่การอนุมัติงบพัฒนา พื้นที่มรดกโลกทางพุทธศาสนา

โดยมีการจัดลำดับความสำคัญของภารกิจการเยือนปากีสถานของ พระอาจารย์อารยวังโส ในครั้งนั้น เทียบเท่ากับ บุคคลสำคัญจากอังกฤษด้วยทำให้ ชาวพุทธทั่วโลกและชาวโลก ให้ความสนใจพร้อมเดินทางไปเยือนปากีสถานกันมากขึ้น ดังที่มีการเผยแพร่ข่าวที่ผ่านมา

นอกจากนี้ พระอาจารย์ ยังทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาของพระอาจารย์ โดยเริ่มจากการแนะนำและให้คำปรึกษาในการจัดตั้งองค์กรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป Buddhist United Dhamma Organization in Jambu D’vipa (BUDOJ) บริหารโดยชาวพุทธอินเดีย ซึ่งบัดนี้ได้ดำเนินการจัดตั้งขึ้นในเมืองต่างๆ เสร็จเรียบร้อย ทั้งนี้พระอาจารย์มีเจตนาจะให้ BUDOJ นี้ เป็นตัวประสาน และดำเนินการในการทำงานเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนากับองค์กรพุทธศาสนาต่างๆ ทั่วโลก

อีกทั้งที่ผ่านมา ท่านเคยได้รับนิมนต์จาก “องค์กรพุทธศาสนา นานาชาติ” เพื่อร่วมประชุมด้านพระวินัย ที่นครเดลี ประเทศอินเดีย โดยมี พระสังฆราช องค์ดาไลลามะ และ ผู้นำศาสนา ผู้นำจิตวิญญาณทางศาสนาจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุม โดยพระอาจารย์อารยวังโส ได้รับนิมนต์เข้าร่วมประชุมในฐานะ “ผู้นำจิตวิญญาณทางพุทธศาสนา” ที่เป็นที่ยอมรับในฐานะ กูรูจี ของชาวอินเดีย ว่า “เป็นผู้เคร่งครัดในพระวินัยอย่างยิ่งเพื่อการถวายบูชาพระพุทธองค์”

Exit mobile version