กลุ่มติดอาวุธยิงจรวดเกือบ10 ลูกถล่มซ้ำฐานทัพอิรักใน 24 ชม.!?!เจ้าหน้าที่สหรัฐบาดเจ็บ 1 นายสหรัฐโวยนักรบใฝ่อิหร่านทำ

1861

ตะวันออกกลางดินแดนที่สงครามไม่เคยสงบ ไม่ใช่เพราะคนในตะวันออกกลางเป็นหลัก แต่เป็นการแทรกแซงจากอำนาจภายนอกคือสหรัฐและพันธมิตรเพื่อแบ่งแยก แล้วปล้นชิงผลประโยชน์ทั้งเปิดเผยและซ่อนเร้น ด้วยสงครามพันทางทั้งใช้การโฆษณาชวนเชื่อ หลอกลวงสร้างความชอบธรรมในการรุกรานและใช้กำลังทหาร ในนามพันธมิตรบุกยึด ส่งผลให้ประเทศต่างๆที่เคยเจริญรุ่งเรือง กลายเป็นประเทศล้มเหลวแหลกราญ ประชาชนเผชิญความลำบากแสนสาหัสหลายสิบปี

นโยบายต่างประเทศของปธน.โจ ไบเดนยังคงคว่ำบาตรอิหร่านเหมือนที่ทรัมป์ทำ โลกได้คำตอบชัดแล้วว่ารัฐบาลไบเดนที่มาจากพรรคเดโมแครต ไม่ได้ต่างอะไรจากทรัมป์ที่มาจากพรรครีพับลิกัน เพิ่มเติมคือผลักจีนและรัสเซียเป็นศัตรูอย่างโจ่งแจ้ง ทำให้เงื่อนไขแห่งสงครามใหญ่ที่โลกถูกแบ่งเป็นสองฝ่ายชัดเจนมากขึ้น

ปีนี้การถล่มฐานทัพอิรักที่เป็นแหล่งทำงานของสหรัฐฯ เป็นไปอย่างถี่ขึ้นในยุคของไบเดน บางครั้งมีการอ้างกลุ่มปฏิบัติการ บางครั้งไม่มี แต่สหรัฐฯจะออกมาฟันธงว่าคือกองกำลังติดอาวุธที่อิหร่านสนับสนุน บางกรณีอิหร่านรับแต่บางกรณีปฏิเสธ

เมื่อ 4 พ.ค. สำนักข่าวต่างประเทศ (เอพี,อัลจาซีรา)รายงานว่า กองทัพอิรักเปิดปฏิบัติการทางทหารไล่ล่ากลุ่มติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายก่อเหตุยิงจรวด 6 ลูก ถล่มฐานทัพอากาศบาลัด ทางภาคเหนือของประเทศ โดยภายในฐานทัพดังกล่าวมีหน่วยประสานงานของกองทัพสหรัฐอเมริกาอยู่ประจำการ และกลุ่มผู้ดูแลยุทโธปกรณ์ของสหรัฐที่ติดตั้งประจำกองทัพอิรัก

ในตอนแรกจรวด 3 ลูกตกลงในพื้นที่ที่ บริษัท Sallyport ของสหรัฐฯซึ่งเป็นผู้รับเหมาที่ดูแลรักษาเครื่องบิน F-16 ที่อิรักซื้อจากสหรัฐฯตั้งอยู่ เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของอิรักแจงโดยขอไม่เปิดเผยตัว

เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของ Sallyport ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยตามรายงานของเจ้าหน้าที่ ประมาณ 15 นาทีต่อมาจรวดอีก 3 ลูกถูกยิงและตกลงมาใกล้ฐานโดยไม่ส่งผลกระทบกับอาคาร

ผู้บัญชาการเจสสิก้า แม็คแนลตี้ (McNulty)โฆษกเพนตากอนกล่าวว่า ไม่มีกองกำลังสหรัฐฯหรือพันธมิตรที่ บาลัด(Balad) แต่มีผู้รับเหมาชาวอเมริกันทำงานที่นั่นดูแลอาวุธยุทโธปกรณ์สหรัฐฯ จากรายงานเบื้องต้น  กล่าวว่าไม่มีผู้เสียชีวิตหรือความเสียหายในอาคารของสหรัฐฯแต่อย่างใด นับเป็นการโจมตีครั้งที่สองที่มุ่งเป้าไปที่ผลประโยชน์ของสหรัฐฯในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ก่อนหน้านี้ วันอาทิตย์ที่ 2 เม.ย.2564 กลุ่มติดอาวุธได้ยิงจรวด 2 ลูกพุ่งเป้าไปที่ฐานทัพอากาศที่สนามบินแบกแดดซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของกองกำลังพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯ การโจมตีในวันอาทิตย์ไม่ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิต

เมื่อวันจันทร์ที่ 3 เม.ย.2564 จอห์น เคอร์บี รัฐมนตรีกระทรวงการแถลงข่าวเพนตากอนของสหรัฐฯกล่าวว่า การโจมตีด้วยจรวดครั้งล่าสุดในอิรักแสดงให้เห็นว่าภารกิจของสหรัฐฯยังคงอยู่ในภาวะอันตราย

เขากล่าวกับผู้สื่อข่าวโดยอ้างถึงกลุ่มติดอาวุธว่า “เราอยู่ที่นั่นเพื่อช่วยเหลือกองกำลังความมั่นคงอิรักในขณะที่พวกเขาดำเนินคดีกับกลุ่มไอซิส (ISIS) ด้วย” “ ดังนั้นการโจมตีอย่างรุนแรงต่อพวกเขาหรือเราจึงเป็นเรื่องน่ากังวลและแสดงให้เห็นว่ามันยังคงเป็นภารกิจที่อันตราย นอกจากนี้เราจะทำทุกอย่างที่ต้องทำเพื่อให้แน่ใจว่าเราปกป้องกองกำลังของเราในภาคพื้นดิน และผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของชาติสหรัฐฯในอิรักอย่างเพียงพอ”

การโจมตีด้วยจรวดหรือระเบิดอย่างน้อย 30 ครั้งได้พุ่งเป้าไปที่ผลประโยชน์ของสหรัฐในอิรักรวมถึงกองทหาร, สถานทูตหรือขบวนขนส่งสเบียงของอิรักไปยังกองกำลังต่างชาติ นับตั้งแต่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐฯเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคม 2564 ผลกระทบของการโจมตีทำให้ผู้รับเหมาต่างชาติ 2 ราย ผู้รับเหมาชาวอิรัก 1 รายและพลเรือนอิรัก 8 รายเสียชีวิต วอชิงตันกล่าวโทษกลุ่มอิรักที่เชื่อมโยงกับอิหร่านเป็นประจำสำหรับทุกการโจมตีกองทหารและนักการทูต

ต้นเดือนเมษายน เกิดเหตุยิงจรวด 2 ลูกพุ่งเข้าใกล้ฐานทัพบาลัด โดยไม่ทำให้มีผู้เสียชีวิตหรือทรัพย์สินเสียหาย มีการใช้โดรนบรรจุวัตถุระเบิดครั้งแรก พุ่งเข้าชนสนามบินเออร์บิลของอิรัก ซึ่งเป็นสถานที่ที่กองกำลังพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯในประเทศใช้งานอยู่

การโจมตีครั้งล่าสุดนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่อ่อนไหว เนื่องจากเตหะรานกำลังเจรจากับประเทศมหาอำนาจของโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อนำสหรัฐฯกลับเข้าสู่ข้อตกลงควบคุมโครงการนิวเคลียร์อิหร่านปี 2015 ที่เรียกว่าข้อตกลง JCPOA ซึ่งสหรัฐฯโดยอดีตปธน.ทรัมป์ได้ถอนตัวออกไปในปี 2018  ข้อตกลงฉบับนี้ประกอบด้วยฝ่ายสหภาพยุโรป 3 ประเทศ อันได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนี กับสหรัฐ รัสเซียและจีน กับอีกฝ่ายคืออิหร่าน ซึ่งตั้งเป้าหมายการเจรจาเพื่อแลกกับการยุติคว่ำบาตรแต่สหรัฐฯยังคงยืนยันคว่ำบาตรฝ่ายเดียวต่ออิหร่าน แม้ไบเด็นแบะท่าว่าอาจกลับเข้าสู่ข้อตกลง

ด้านอิรักซึ่งใกล้ชิดกับสหรัฐมาโดยตลอด เกิดเสียงเรียกร้องจากฝ่ายนิติบัญญัติให้สหรัฐฯถอนทหารในทันที หลังจากสหรัฐฯใช้โดรนสังหารนายพลคัสเซ็ม โซไลมานี (Qassem Soleimani) ของอิหร่านและผู้นำกองกำลังทหารอิรักในแบกแดดในเดือนมกราคม 2020 มติดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาเรียกร้องให้รัฐบาลขับไล่ต่างชาติทั้งหมด แต่สหรัฐยืนยันจะไม่ถอนกำลังออกแม้จะลดลงเหลือ 2,500 นายตามคำสั่งของอดีตปธน.ทรัมป์ก็ตาม