อังกฤษชวนอาเซียนประชุม G7ครั้งแรก!?!ถกปัญหาสิทธิมนุษยชนฯ ขณะโควิดบุกกักตัวผู้แทนอินเดีย ตั้งเป้าถล่มจีน-รัสเซีย

1865

แผนการใหญ่รวมพันธมิตรเพื่อบรรลุยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของ สหรัฐและอังกฤษมีเป้าหมายเพื่อต่อต้านอิทธิพลจีนและรัสเซีย ซึ่งแผ่บารมีในโลกมากขี้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน  การประชุม G7 สอดคล้องกับสิ่งที่ปธน.โจ ไบเดนประกาศจะรวมตัวประเทศประชาธิปไตยโลกในตอนรับตำแหน่งใหม่ๆ แต่เกิดเหตุไม่คาดฝัน เมื่อหนึ่งในประเทศสมาชิกคืออินเดีย ได้เข้าประชุมพร้อมนำโควิด-19มาด้วย 

 

คณะผู้แทนของอินเดียในการประชุมจี7 ที่กรุงลอนดอน จึงต้องถูกกักตัวยกชุด หลังทีมงานอย่างน้อย 2 คนติดโควิด-19 ขณะที่สหราชอาณาจักรยืนยันเดินหน้าการประชุมตามกำหนดการ แต่ต้องเปลี่ยนรูปแบบเป็นการประชุมออนไลน์ ขณะอังกฤษปลื้มชูการประชุมจี 7 ครั้งนี้ เป็นการนำประเทศประชาธิปไตยมารวมกันโดยมีอังกฤษเป็นแกนนำ เรียกว่า “โกลบอลบริเทน”(Global Britain) เพื่อจัดการปัญหาของโลก จับตาตัวแทนอาเซียนที่อังกฤษจะเชิญมาร่วมในฐานะแขกรับเชิญเป็นครั้งแรกในการประชุมใหญ่เดือนมิ.ย.นี้

เมื่อวันที่ 5 พ.ค.2564 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร โดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวระดับสูงในรัฐบาลสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก 7 แห่ง หรือ จี 7 ซึ่งมีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ที่กรุงลอนดอน ในสัปดาห์นี้ ว่าคณะผู้แทนจากอินเดียต้องเข้าสู่มาตรการกักตัว และจะร่วมประชุมกับคู่เจรจาประเทศอื่นผ่านระบบออนไลน์แทน เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ของอินเดียอย่างน้อย 2 คน ติดโควิด-19

 

ขณะที่สื่อหลายแห่งทั้งของสหราชอาณาจักร และอินเดียยืนยันไปในทางเดียวกัน ว่าหนึ่งในบุคคลที่ติดเชื้อไม่ใช่นายสุพรหมณยัม ชัยศังกร รมว.การต่างประเทศของอินเดีย แต่ยังถือเป็นผู้เสี่ยงสูง เนื่องจากสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ และชัยศังกรเพิ่งหารือแบบพบหน้ากับนางปริติ พาเทล รมว.มหาดไทยของสหราชอาณาจักร เมื่อวันอังคารที่ 3 ที่ผ่านมา ด้านนายโดมินิก ราบ รมว.การต่างประเทศสหราชอาณาจักร ยังปฏิเสธให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ ส่วนรัฐบาลสหรัฐที่คณะผู้แทนนำโดยนายแอนโทนี บลิงเคน รมว.การต่างประเทศ ยืนยันเข้าร่วมการประชุมทุกรายการตามกำหนด และปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

บรรดารัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนาของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือ G7 เข้าร่วมการประชุมจี 7 ครั้งย่อย ที่กรุงลอนดอน ของอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 3-5 พ.ค.2564 โดยเป็นการประชุมแบบพบหน้ากันเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี ท่ามกลางมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเข้มงวด โดยมีวาระครอบคลุมตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมทางเพศ แนวทางยกระดับสุขภาพอนามัยทั่วโลก ไปจนถึงเสรีภาพสื่อ และการจัดการกับการบิดเบือนข้อมูล อังกฤษในฐานะประธานกลุ่มหวังว่าการประชุมจี 7 ครั้งย่อยนี้จะช่วยให้มีความคืบหน้าในเป้าหมายในการร่วมฟื้นฟูโลกหลังการระบาดของโควิด-19 ก่อนถึงการประชุมผู้นำจี 7 ที่คอร์นวอลล์ ของอังกฤษ ในเดือน มิ.ย.นี้

นายโดมินิค ราบ รมว.ต่างประเทศและการพัฒนาของอังกฤษ กล่าวว่าการประชุมครั้งนี้แสดงให้เห็น “โกลบอลบริเทน” ที่อังกฤษนำเอาบรรดาผู้นำโลกประชาธิปไตยมารวมตัวกันเพื่อหาแนวทางจัดการปัญหาต่างๆร่วมกัน พร้อมย้ำจะดำเนินการเพื่อให้เข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียม  เพิ่มการศึกษาของเด็กผู้หญิงทั่วโลก  หาข้อตกลงในการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและออกมาตรการเพื่อป้องกันปัญหาความอดอยาก” 

นอกจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ อย่าง แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และสหภาพยุโรป แล้ว ที่ประชุมยังเชิญออสเตรเลีย อินเดีย เกาหลีใต้ แอฟริกาใต้ เข้าร่วมประชุม พร้อมด้วยผู้แทนจากกลุ่มประเทศอาเซียนที่เข้าร่วมเป็นครั้งแรกในฐานะแขกรับเชิญ แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ที่อังกฤษมุ่งกระชับสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้น 

วันเดียวกัน นายแอนโทนี บลิงเคน รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงระหว่างการประชุมนอกกรอบ จี 7 ร่วมกับนายโทชิมิตสุ โมเตกิ รมว.ต่างประเทศญี่ปุ่น โดยเผยว่าหวังว่าเกาหลีเหนือจะใช้โอกาสร่วมมือทางการทูตเพื่อดูว่ามีหนทางปลดอาวุธนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลีหรือไม่ หลังไม่กี่วันก่อนหน้าที่เกาหลีเหนือประกาศว่า คำแถลงการณ์ใดๆ ของฝ่ายสหรัฐฯ ที่ผ่านมาเป็นนโยบายเชิงปรปักษ์ อย่างไรก็ตาม นายจาง จุน เอกอัครราชทูตถาวรของจีนประจำสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้แสดงความเห็นว่าสหรัฐฯ ควรเจรจามากกว่ากดดันเกาหลีเหนือ เพราะจากหลายปีที่ผ่านมา จีนเชื่อว่าความพยายามทางการทูตเป็นทิศทางที่ถูกต้อง และหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะอดทนต่อการยั่วยุ แล้วพยายามหันกลับมาสู่หนทางการเจรจา

ยุคปธน.โจ ไบเดนแห่งสหรัฐขณะนี้ กำลังต้องการเอาภาคีเครือข่ายกลุ่มประเทศนี้มาเป็นเครื่องมือในการต่อต้านรัสเซียและจีน จึงหาทางเข้าหาและโน้มน้าวกลุ่มประเทศเหล่านี้ตลอดเวลาสาระการประชุมครั้งนี้ประเด็นสำคัญๆ ก็คือ

1.รณรงค์ให้กลุ่มประเทศ G7 หันมาสนับสนุนนโยบายลดโลกร้อน ซึ่งเป็นประเด็นที่จอร์จ โซรอส เจ้าพ่อยิวรายใหญ่ ผลักดันอยู่เบื้องหลัง

2..ดึงให้กลุ่มประเทศ G7 ออกมามีบทบาทร่วมต่อต้านจีนและรัสเซียซึ่งกำลังเติบโตขึ้นมาแทนที่อเมริกาอยู่ขณะนี้ ทั้งหมดนี้เพื่อตอบสนองความทะยานอยากเป็นมหาอำนาจเดี่ยวฝ่ายเดียวของสหรัฐและพันธมิตร ไม่ใช่เพื่อประชาชาติของโลกนี้อย่างแท้จริง