ชัดเจนตรงประเด็น!? ดร.อานนท์ ลั่น อย่าตำหนิศาลฯ การตัดสิน “คดีธรรมนัส” ถูกต้อง เทียบชัดครั้งอดีต เคยมีมาแล้ว!?
สืบเนื่องจากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยแล้วว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่มีลักษณะต้องห้าม ม.98 (10) ทำให้สมาชิภาพ ส.ส.ไม่สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งความเป็นรัฐมนตรีก็ไม่ได้สิ้นสุดลงด้วยเพราะไม่มีเหตุ โดยการทำกระทำความผิด และคำพิพากษาที่ออกมานั้น เกิดขึ้นที่ต่างประเทศ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญจะต้องทำความผิดในประเทศนั้น ๆ
โดยความผิดและโทษก็ต่างกัน การกระทำความผิดในประเทศหนึ่ง อาจไม่ใช่ความผิดในอีกประเทศหนึ่ง อีกทั้งฐานความผิด ข้อห้าม ต่างๆก็อาจต่างกันด้วย
ทำให้คุณสมบัติเป็น ส.ส. และรัฐมนตรีตามเดิม เนื่องจากกฎหมายออสเตรเลีย ไม่ครอบคลุมรัฐธรรมนูญของแผ่นดินไทย
ล่าสุดทางด้านของ ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้โพสต์ข้อความถึงประเด็นดังกล่าวโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ประเด็นศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ธรรมนัส พรหมเผ่าไม่พ้นจากตำแหน่ง โดยอธิบายว่าหลักกฎหมาย ผลการตัดสินของศาลออสเตรเลีย ไม่ผูกพันกับศาลไทย เพราะเป็นเรื่องอำนาจอธิปไตย ผมเข้าใจและเห็นด้วยกับศาลรัฐธรรมนูญ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
กรณีที่ใกล้เคียงคือศาลไทยสั่งปิดกั้น Facebook ไม่ได้ เพราะ Facebook ไม่มีนิติบุคคลในประเทศไทย แต่อยู่ในประเทศที่เป็น tax heaven สำหรับ e-commerce เลยไม่ต้องเสียภาษีไทย และไม่ต้องทำตามกฎหมายไทย
ย้อนกลับไปกรณีที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา เคยออกมาแถลงให้ สส ในภาคเหนือคนหนึ่งที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ไม่สามารถขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยได้ โดยอ้างว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดในสหรัฐอเมริกา
พันเอกพิเศษ ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และจบปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยปารีส ก็ออกมาแถลงโต้ทางการสหรัฐอเมริกาว่านี่เป็นเรื่องอธิปไตยของไทยเช่นกัน สหรัฐจะมามีอำนาจเหนือไทย เหนืออธิปไตยของไทยไม่ได้
เรื่องภายในก็เป็นเรื่องภายในประเทศ แยกขาดกันแบบนี้
ส่วนความเหมาะสมในเชิงจริยธรรม หรือ เรื่องอื่นๆ เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ แต่ผมมีความเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินไปตามหลักอำนาจอธิปไตยและหลักบูรณภาพแห่งดินแดน อันเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศนั้นก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว
ไม่เช่นนั้น ศาลตัดสินในประเทศหนึ่ง จะมีผลผูกพันเหนือศาลอีกประเทศหนึ่ง ก็คงจะเป็นเรื่องที่ทำให้วุ่นวายไม่ใช่น้อย เพราะแต่ละประเทศมีวัฒนธรรมและมีกฎหมายแตกต่างกันไป ผลผูกพันข้ามชาติข้ามแดนจึงไม่สมควรมีในทางกฎหมาย
อย่าลากศาลรัฐธรรมนูญไปตำหนิท่านเลยครับ ท่านทำหน้าที่อย่างถูกต้องตามหลักกฎหมายแล้ว อย่าไปดิสเครดิตท่านเลยครับ
พูดง่ายๆ คือขอบเขตอำนาจศาลของศาลต่างประเทศ ย่อมไม่ครอบคลุมขอบเขตอำนาจศาลของศาลไทย ผลการตัดสินคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศ จึงไม่ส่งผลผูกพันต่อคำพิพากษาของศาลไทยเช่นกัน ไม่เช่นนั้น ประเทศไทยเราก็จะสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตไป
เรื่องนี้โยงกับปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเสียด้วยซ้ำในสายตาผม หากเราไปยอมรับผลคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ มาผูกพันศาลรัฐธรรมนูญไทย
ส่วนคนที่มีหน้าที่ตรวจสอบ จะไปร้องจริยธรรม จะไปร้องเรื่องอื่นๆ ต่อ ก็คงทำได้ครับ